ตำบลเขาพัง

พิกัด: 8°58′02.9″N 98°50′16.2″E / 8.967472°N 98.837833°E / 8.967472; 98.837833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเขาพัง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Khao Phang
เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน)
เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน)
ประเทศไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอบ้านตาขุน
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,203.85 ตร.กม. (464.81 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด4,545 คน
 • ความหนาแน่น3.77 คน/ตร.กม. (9.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84230
รหัสภูมิศาสตร์840904
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน
ทต.บ้านเชี่ยวหลานตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทต.บ้านเชี่ยวหลาน
ทต.บ้านเชี่ยวหลาน
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน
พิกัด: 8°58′02.9″N 98°50′16.2″E / 8.967472°N 98.837833°E / 8.967472; 98.837833
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอบ้านตาขุน
จัดตั้ง • 7 ตุลาคม 2534 (สุขาภิบาลเขาพัง)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.เขาพัง)
 • 17 ธันวาคม 2547 (เปลี่ยนชื่อเป็นทต.บ้านเชี่ยวหลาน)
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,203.85 ตร.กม. (464.81 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด4,545 คน
 • ความหนาแน่น3.77 คน/ตร.กม. (9.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05840901
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 444 ถนนเขื่อนรัชชประภา หมู่ 5 ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84230
เว็บไซต์chiewlarn.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขาพัง เป็นตำบลในอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของเขื่อนรัชชประภา เขตพื้นที่ทั้งหมดเป็นพื้นที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำและภูเขาเป็นส่วนมาก จึงมีพื้นที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา[2] เขตรักษาสัตว์ป่าคลองแสง[3][4]และอุทยานแห่งชาติเขาสก[5]

เขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน)

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลเขาพัง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[6]

อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา

ประวัติ[แก้]

เขาพัง เดิมเป็นตำบลของอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2516 มีการแยกกิ่งอำเภอบ้านตาขุน ออกจากการปกครองของอำเภอคีรีรัฐนิคม มี 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาวง ตำบลไกรสร ตำบลเขาพัง ตำบลพะแสง และตำบลพรุไทย[7] และตั้งเป็นอำเภอบ้านตาขุนในปี พ.ศ. 2519[8] ตำบลเขาพังจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอบ้านตาขุน

ต่อมาเขื่อนรัชชประภา เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525[9] มีการเพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงที่อยู่ในพื้นที่ตำบลไกรสร และตำบลเขาพัง 3 ครั้งเนื่องจากเป็นพื้นที่น้ำท่วมตามโครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน ในปี พ.ศ. 2526[10] พ.ศ. 2528[11] พ.ศ. 2529[12] ทำให้พื้นที่ตำบลไกรสรสิ้นสภาพความเป็นตำบล ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2529 จึงดำเนินการยุบตำบลไกรสร และโอนพื้นที่หมู่บ้านให้ตำบลเขาพัง ดังนี้[13]

  • หมู่ที่ 1 บ้านบางแก้ว ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง
  • หมู่ที่ 2 บ้านปากแปะ ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง
  • หมู่ที่ 3 บ้านไกรสร ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง
  • หมู่ที่ 4 บ้านเชี่ยวกอ ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง
  • หมู่ที่ 5 บ้านวังขอน ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง

เขื่อนรัชชประภาแล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2530 หลังจากนั้นได้อพยพประชาชนจากแนวสร้างเขื่อนให้มีที่อยู่ที่ทำกิน บริเวณใกล้เขื่อนฯ บางส่วน

ปี พ.ศ. 2534 ชุมชนจัดสรรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ประชาชนอพยพจากแนวสร้างเขื่อน ได้แยกพื้นที่บางส่วนของหมู่ 3 บ้านหน้าฮะ, หมู่ 4 บ้านไกรสร และหมู่ 5 บ้านเชี่ยวหลาน ที่มีชุมชนหนาแน่น เป็นที่ตั้งของโรงเรียน สถานีตำรวจภูธร ของเขตสภาตำบลเขาพัง มาตั้งเป็น สุขาภิบาลเขาพัง[14]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลเขาพังแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านเขาเทพพิทักษ์ (Ban Khao Thep Phithak)
หมู่ 2 บ้านหน้าเขา (Ban Na Khao)
หมู่ 3 บ้านหน้าฮะ (Ban Na Ha)
หมู่ 4 บ้านไกรสร (Ban Kraison)
หมู่ 5 บ้านเชี่ยวหลาน (Ban Chiao Lan)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ตำบลเขาพังเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเขาพัง ในปี พ.ศ. 2517[15] ก่อนที่บางส่วนของสภาตำบลเขาพังจะแยกไปตั้งเป็นสุขาภิบาลเขาพัง ในปี พ.ศ. 2534[14] ส่วนเขตสภาตำบลเขาพัง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเขาพัง) ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังใน พ.ศ. 2539[16]

สุขาภิบาลเขาพังจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเขาพังใน พ.ศ. 2542[17] ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาให้องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังที่มีประชากรเพียง 1,253 คน และ 411 ครัวเรือน[18] ต้องควบรวมพื้นที่เข้ากับเทศบาลตำบลเขาพังในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547[19] เนื่องจากมีประชากรและรายได้ไม่เพียงพอต่อการเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยการควบรวมนี้ทำให้เทศบาลตำบลเขาพัง มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลเขาพังทั้งหมด

ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เทศบาลตำบลเขาพังมีประสงค์ที่จะขอเปลี่ยนชื่อเพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล โดยเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลเป็น "เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน"[20]

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลเขาพังประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 5 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,545 คน แบ่งเป็นชาย 2,270 คน หญิง 2,275 คน (เดือนธันวาคม 2566)[21] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในอำเภอบ้านตาขุน

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[22] พ.ศ. 2565[23] พ.ศ. 2564[24] พ.ศ. 2563[25] พ.ศ. 2562[26] พ.ศ. 2561[27] พ.ศ. 2560[28]
ไกรสร 2,178 2,173 2,167 2,156 2,156 2,167 2,160
เชี่ยวหลาน 1,131 1,131 1,153 1,154 1,170 1,170 1,171
เขาเทพพิทักษ์ 564 559 539 535 529 529 526
หน้าฮะ 453 459 462 481 475 481 494
หน้าเขา 219 218 214 221 232 237 229
รวม 4,545 4,540 4,535 4,547 4,562 4,584 4,580

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "พระราชกฤษฎีกาขยายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าคลองนาคา ในท้องที่ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (162 ก): (ฉบับพิเศษ) 5-7. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2534
  3. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองแสง ในท้องที่ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอคีรีรัฐนิคม และตำบลเขาพัง ตำบลไกรสร กิ่งอำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๑๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (216 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2517
  4. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองยัน ในท้องที่ตำบลปากฉลุย อำเภอท่าฉาง ตำบลตะกุกเหนือ ตำบลตะกุกใต้ ตำบลน้ำหัก ตำบลท่าขนอน ตำบลกะเปา อำเภอคีรีรัฐนิคม และตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (126 ก): 3–4. วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535
  5. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองหยีและคลองพะแสง ในท้องที่ตำบลไกรสร ตำบลเขาพัง ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน และตำบลคลองสก ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (197): (ฉบับพิเศษ) 6-7. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2523
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 133 ง): 110–118. วันที่ 292 เมษายน พ.ศ. 2541
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านตาขุน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (86 ง): 2153. วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
  8. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (109 ก): (ฉบับพิเศษ) 31-34. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2519
  9. "ประกาศการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้า ขนาด ๑๑๕ กิโลโวลท์ จากโครงการก่อสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยพังงา ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (187 ง): 3940–3941. วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524
  10. "พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าคลองแสง บางส่วนในท้องที่ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอคีรีรัฐนิคม และตำบลเขาพัง ตำบลไกรสร อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (67 ก): (ฉบับพิเศษ) 21-22. วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2526
  11. "พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าคลองแสง บางส่วน ในท้องที่ตำบลไกรสร อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (154 ก): (ฉบับพิเศษ) 46-47. วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2528
  12. "พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าคลองแสง บางส่วน ในท้องที่ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอคีรีรัฐนิคม และตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (77 ก): (ฉบับพิเศษ) 5-6. วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (219 ง): (ฉบับพิเศษ) 117-119. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2529
  14. 14.0 14.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (177 ง): (ฉบับพิเศษ) 28-30. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2534
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538
  17. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  18. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 10–11. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121: 1. วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2547
  21. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  22. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  23. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  24. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  25. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  26. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  27. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  28. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]