ฉบับร่าง:ตำบลเกาะใหญ่

พิกัด: 7°34′45.4″N 100°17′04.7″E / 7.579278°N 100.284639°E / 7.579278; 100.284639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตำบลเกาะใหญ่)
ตำบลเกาะใหญ่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ko Yai
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ท้องที่ตำบลเกาะใหญ่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ท้องที่ตำบลเกาะใหญ่
ประเทศไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด17.05 ตร.กม. (6.58 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด6,572 คน
 • ความหนาแน่น385.45 คน/ตร.กม. (998.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90270
รหัสภูมิศาสตร์900801
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะใหญ่
อบต.เกาะใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
อบต.เกาะใหญ่
อบต.เกาะใหญ่
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะใหญ่
พิกัด: 7°34′45.4″N 100°17′04.7″E / 7.579278°N 100.284639°E / 7.579278; 100.284639
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด17.05 ตร.กม. (6.58 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด6,572 คน
 • ความหนาแน่น385.45 คน/ตร.กม. (998.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06900803
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 9 ถนนเกาะใหญ่-ระโนด ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 90270
เว็บไซต์www.kohyai.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เกาะใหญ่ เป็นตำบลในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลาตอนเหนือ และอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลเกาะใหญ่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้[2]

ประวัติ[แก้]

เกาะใหญ่ เป็นชื่อหมู่บ้านหมู่ที่ 7 ของตำบลเกาะใหญ่ อำเภอปละท่า จังหวัดสงขลา สาเหตุที่เรียกชื่อบ้านว่า "เกาะใหญ่" เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นแหลมที่มีภูเขายื่นติดต่อกับทะเลสาบสงขลา ลักษณะเหมือนเกาะขนาดใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียก "เกาะใหญ่" จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า คนกลุ่มแรกที่เป็นผู้เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเกาะใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ ซึ่งอพยพหนีภัยโจรสลัดมลายูมาจากจังหวัดนราธิวาส

ปี พ.ศ. 2460 ได้มีผู้ลอบวางเพลิงที่ว่าการอำเภอปละท่า จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอปละท่าเสียเป็น "อำเภอจะทิ้งพระ"[3] พร้อมกับยุบเมืองระโนด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอระโนด และให้ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ และปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยโอนตำบลเชิงแส ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลบ่อตรุ และตำบลวัดสน ของอำเภอจะทิ้งพระ (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกิ่งอำเภอระโนด[4] ก่อนที่ปี พ.ศ. 2466 กรมหลวงลพบุรีราเมศร อุปราชปักษ์ใต้เห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก จึงยุบอำเภอจะทิ้งพระ เป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเมืองสงขลา ส่วนกิ่งอำเภอระโนดเดิมที่ขึ้นอำเภอจะทิ้งพระ ให้ยกฐานะเป็น อำเภอระโนด[5] ตำบลเกาะใหญ่จึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอระโนดแทนอำเภอจะทิ้งพระ

ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2521 ทางตำบลเกาะใหญ่ได้ขอแยกการปกครองออกจากอำเภอระโนดเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง โดยมีการรวมพื้นที่ตำบลข้างเคียงอีก 2 ตำบล คือ ตำบลเชิงแสและตำบลโรง เนื่องจากการติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอใหม่มีระยะทางเพียง 1.9 กิโลเมตร ซึ่งอำเภอสังกัดเดิมต้องใช้ระยะทาง 18 กิโลเมตร จึงรวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอกระแสสินธุ์[6] และยกฐานะเป็น อำเภอกระแสสินธุ์ ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537[7] ตำบลเกาะใหญ่จึงย้ายมาขึ้นกับทางอำเภอ และเป็นตำบลลำดับที่ 1 ของทางอำเภอกระแสสินธุ์

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ทางกระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่ด้านทิศเหนือของตำบลเกาะใหญ่ ได้แก่ หมู่ 8 บ้านโตนดด้วน, หมู่ 9 บ้านคลองโหน, หมู่ 10 บ้านทุ่งเมรุ และหมู่ 11 บ้านม่วงงาม รวม 4 หมู่บ้าน ตั้งขึ้นเป็นตำบล โดยใช้ชื่อว่า "กระแสสินธุ์"[8] ตามที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงของท้องที่

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลเกาะใหญ่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านทุ่งบัว (Ban Thung Bua)
หมู่ 2 บ้านแหลมยาง (Ban Laem Yang)
หมู่ 3 บ้านไร่ (Ban Rai)
หมู่ 4 บ้านแหลมบ่อท่อ (Ban Laem Bo Tho)
หมู่ 5 บ้านยางทอง (Ban Yang Thong)
หมู่ 6 บ้านแหลมหาด (Ban Laem Hat)
หมู่ 7 บ้านเกาะใหญ่ (Ban Ko Yai)
หมู่ 8 บ้านแหลมคูลา (Ban Laem Khula)
หมู่ 9 บ้านแหลมชัน (Ban Laem Chan)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลเกาะใหญ่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลเกาะใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[9] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะใหญ่ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[10] จนถึงปัจจุบัน

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 9 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,572 คน แบ่งเป็นชาย 3,243 คน หญิง 3,329 คน (เดือนธันวาคม 2566)[11] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในอำเภอกระแสสินธุ์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[11] พ.ศ. 2565 [12] พ.ศ. 2564[13] พ.ศ. 2563[14] พ.ศ. 2562[15] พ.ศ. 2561[16] พ.ศ. 2560[17]
แหลมบ่อท่อ 1,169 1,164 1,170 1,166 1,159 1,152 1,165
ไร่ 1,033 1,054 1,056 1,046 1,044 1,059 1,060
แหลมหาด 943 943 935 953 947 952 969
ทุ่งบัว 916 911 911 912 917 920 923
แหลมยาง 655 665 665 666 664 665 663
เกาะใหญ่ 541 536 560 553 548 545 549
แหลมชัน 478 477 489 489 488 491 499
แหลมคูลา 444 442 453 462 451 452 442
ยางทอง 393 397 406 409 414 422 423
รวม 6,572 6,589 6,645 6,656 6,632 6,658 6,693

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 30 ง): 186–201. วันที่ 292 เมษายน พ.ศ. 2541
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  4. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 464–480. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
  5. "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกระแสสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (21 ง): 519. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521
  7. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 18–23. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  11. 11.0 11.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.