ตำบลเกาะพยาม

พิกัด: 9°44′37.2″N 98°25′16.7″E / 9.743667°N 98.421306°E / 9.743667; 98.421306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเกาะพยาม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ko Phayam
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
ประเทศไทย
จังหวัดระนอง
อำเภอเมืองระนอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด42.21 ตร.กม. (16.30 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เดือนมีนาคม 2567)
 • ทั้งหมด1,297 คน
 • ความหนาแน่น30.72 คน/ตร.กม. (79.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 85000
รหัสภูมิศาสตร์850109
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
อบต.เกาะพยามตั้งอยู่ในจังหวัดระนอง
อบต.เกาะพยาม
อบต.เกาะพยาม
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
พิกัด: 9°44′37.2″N 98°25′16.7″E / 9.743667°N 98.421306°E / 9.743667; 98.421306
ประเทศ ไทย
จังหวัดระนอง
อำเภอเมืองระนอง
จัดตั้ง • 26 กันยายน 2529 (สภาตำบลเกาะพยาม)888
 • 19 ธันวาคม 2546 (อบต.เกาะพยาม)
พื้นที่
 • ทั้งหมด42.21 ตร.กม. (16.30 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เดือนมีนาคม 2567)[1]
 • ทั้งหมด1,297 คน
 • ความหนาแน่น30.72 คน/ตร.กม. (79.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06850112
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 4 หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000
เว็บไซต์kohphayam.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เกาะพยาม เป็นตำบลในอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดระนอง มีพื้นที่ใน 1 อุทยานแห่งชาติ 1 เขตสงวนชีวมณฑลโลก ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง (เดิมชื่ออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม)[2] และพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง

เกาะพยาม

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลเกาะพยามมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้

เกาะพยาม

ประวัติ[แก้]

เกาะพยามเดิมเรียกว่า "เกาะพิยาม" ซึ่งมาจากคำว่า พอยาม หมายถึง การเดินทางไป เกาะพยามพอยามจึงจะถึงเกาะ (ประมาณ 4 ชั่วโมง) และเรียกกันต่อมาว่า "เกาะพยาม" และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านบนเกาะพยาม มาจากคำว่า พยายาม เพราะในสมัยก่อนการเดินทางมาเกาะพยามเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องอาศัยโดยสารมากับเรือประมงของชาวบ้าน ซึ่งคาดไม่ได้ว่าจะไปจะมาเมื่อใด การเดินทางยากลำบากสมกับชื่อว่า "เกาะพยาม" เดิมประชากรที่อาศัยอยู่บนเกาะส่วนใหญ่เป็นไทยมุสลิม ใน พ.ศ. 2500 สำเภา ศิริสัมพันธ์ ได้รับสัมปทานการเลี้ยงหอยมุกจากรัฐบาล ได้ใช้พื้นที่เกาะพยามเพาะเลี้ยงหอยมุก (ฟาร์มมุก) และอพยพคนอาศัยอยู่เดิมไปอยู่ที่บ้านช้างแหก หมู่ที่ 8 ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จึงเป็นสาเหตุที่เกาะพยามไม่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่เลย ต่อมาสัมปทานหอยมุกเลิกกิจการ เริ่มมีผู้คนอพยพเข้ามาจากเกาะสมุยและเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2529 ได้มีการแยกหมู่บ้าน 2 หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งอยู่ท่ามกลางทะเลอันดามันของตำบลปากน้ำ ได้แก่ ท้องที่หมู่ 5 บ้านเกาะพยาม และท้องที่หมู่ 7 บ้านเกาะช้าง (ในขณะนั้น) มาตั้งขึ้นเป็นตำบล และตั้งชื่อตามหมู่เกาะว่า "ตำบลเกาะพยาม"[3] ท้องที่ตำบลเกาะพยามจึงมีฐานะเป็นตำบลลำดับที่ 9 ของอำเภอเมืองระนองจนถึงปัจจุบัน เกาะพยามมีความหลากหลายทางระบบนิเวศ มีสัตว์ต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น นกเงือก นกอินทรี ลิง หมูป่า อีกทั้งมีหาดทรายสีขาวและน้ำทะเลสวยใส เหมือนกับเกาะสมุยเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน บนเกาะพยามมีสถานีอนามัย โรงเรียน และวัดซึ่งมีอุโบสถตั้งอยู่ในทะเลอยู่บริเวณท่าเรือของเกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ห่างจากปากน้ำระนองประมาณ 33 กิโลเมตร

ป่าบนเกาะพยาม
หมู่เกาะพยาม

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลเกาะพยามแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านเกาะพยาม (Ban Ko Phayam)
หมู่ที่ 2 บ้านเกาะช้าง (Ban Ko Chang)
 
หมู่เกาะพยามกระจายอยู่ในทะเลอันดามัน ฝั่งตะวันตกของอำเภอเมืองระนอง

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลเกาะพยามเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเกาะพยามหลังจากแยกตัวออกจากตำบลปากน้ำ ในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลปี พ.ศ. 2538–2542 ทางกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาให้ตำบลเกาะพยามมีฐานะเป็นสภาตำบลเกาะพยามดังเดิม เนื่องจากขณะนั้นมีประชากรเพียง 503 คน และ 214 ครัวเรือน[4] จึงไม่ผ่านเงื่อนไขในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลที่ต้องมีจำนวนประชากรสองพันคนขึ้นไป

ในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาว่าสภาตำบลเกาะพยามมีประชากรจำนวน 688 คน และ 242 ครัวเรือน[5] ซึ่งไม่ผ่านเงื่อนไขในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล แต่ขณะนั้นสภาตำบลเกาะพยามมีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลเกาะพยามอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้[6] จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยามในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2546

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลเกาะพยามประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 2 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 1,286 คน แบ่งเป็นชาย 625 คน หญิง 630 คน (เดือนธันวาคม 2566)[7] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในอำเภอเมืองระนอง

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[8] พ.ศ. 2565 [9] พ.ศ. 2564[10] พ.ศ. 2563[11] พ.ศ. 2562[12] พ.ศ. 2561[13] พ.ศ. 2560[14]
เกาะพยาม 919 887 866 855 850 848 825
เกาะช้าง 367 368 357 350 348 342 304
รวม 1,286 1,255 1,223 1,205 1,198 1,190 1,129

รายชื่อเกาะในเขตตำบล[แก้]

ตำบลเกาะพยามมีเกาะหลักคือ เกาะช้าง (พื้นที่ 20.217 ตารางกิโลเมตร) และเกาะพยาม (พื้นที่ 16.868 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับ 2 และ 3 ในจังหวัดระนอง รองจากเกาะทรายดำ ของตำบลหงาว และเกาะเล็ก ๆ อีก 20 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง ทุกเกาะมีพื้นที่รวม 42.221 ตารางกิโลเมตร[15]

ที่ ชื่อเกาะ ตำบล พื้นที่

(ตร.กม.)[16]

หน่วยงานรับผิดชอบ[16]
1 นุ้ย เกาะพยาม 0.002 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
2 ขี้นก เกาะพยาม 0.004 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
3 ต้นไม้ เกาะพยาม 0.005 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
4 ลูกปลาย เกาะพยาม 0.005 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
5 ลูกสินไห เกาะพยาม 0.006 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
6 โพธิ์น้อย เกาะพยาม 0.008 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
7 ปริง เกาะพยาม 0.045 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
8 คัน เกาะพยาม 0.050 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
9 โคม เกาะพยาม 0.051 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
10 ไฟไหม้ เกาะพยาม 0.058 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
11 หม้อ เกาะพยาม 0.122 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
12 ขาม เกาะพยาม 0.182 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
13 ทะลุ เกาะพยาม 0.237 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
14 ตาวัวดำ เกาะพยาม 0.266 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
15 โพธิ์ เกาะพยาม 0.282 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
16 ลมราบ เกาะพยาม 0.321 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
17 ไร่ เกาะพยาม 0.408 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
18 หลาม เกาะพยาม 0.416 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม
19 ตาครุฑ เกาะพยาม 1.109 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
20 สน เกาะพยาม 1.559 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
21 พยาม เกาะพยาม 16.868 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง
22 ช้าง เกาะพยาม 20.217 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองหัวเขียว และป่าคลองเกาะสุย ป่าเกาะช้าง ป่าคลองหินกอง และป่าคลองม่วงกลวง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลปากน้ำ ตำบลหงาว ตำบลเกาะพยาม และตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (96 ก): 20–22. วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (166 ง): (ฉบับพิเศษ) 108-109. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2529
  4. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2539 (เขตตำบลเกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  5. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (ตอนพิเศษ 146 ง): 20. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  15. "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดระนอง". สืบค้นเมื่อ March 18, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. 16.0 16.1 "เกาะในประเทศไทย - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)