ตำบลสำนักบก

พิกัด: 13°22′39.6″N 101°03′14.7″E / 13.377667°N 101.054083°E / 13.377667; 101.054083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลสำนักบก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Samnak Bok
ประเทศไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด6.5 ตร.กม. (2.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด6,170 คน
รหัสไปรษณีย์ 200118
รหัสภูมิศาสตร์20000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก
อบต.สำนักบกตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
อบต.สำนักบก
อบต.สำนักบก
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก
พิกัด: 13°22′39.6″N 101°03′14.7″E / 13.377667°N 101.054083°E / 13.377667; 101.054083
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี
ตำบลสำนักบก
การปกครอง
 • นายกนายสมยศ พรมภักษร
พื้นที่
 • ทั้งหมด6.5 ตร.กม. (2.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด6,170 คน
 • ความหนาแน่น950 คน/ตร.กม. (2,500 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06200115
ที่อยู่ที่ทำการ41/6 หมู่ที่ 4 ตำบลสำนักบก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
โทรศัพท์0-3805-5438
โทรสาร0-3805-5439
เว็บไซต์www.samnakbok.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สำนักบก เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอำเภอเมืองชลบุรี ระยะทางห่างจากตัวอำเภอประมาณ 14 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร (4,062.5 ไร่)[1] สภาพสังคมมีโรงเรียนทั้งหมดหนึ่งแห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดสำนักบก[2] ด้านสาธารณสุขนั้นมีโรงพยาบาลชลบุรีตั้งอยู่ห่างจากพื้นที่ตำบลไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักบก[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลสำนักบกมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้[1]

ประวัติ[แก้]

ตำบลสำนักบกเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นตำบลเก่าแก่ในจังหวัดชลบุรี และปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการให้ใช้ชื่อ "ตำบลสำนักกระบก" ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2447[4] เป็นรายชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองชลบุรี

เดิมตำบลนี้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกว่า "ต้นกระบก" มีกิ่งก้านสาขาใหญ่โตมาก ตั้งอยู่กลางตำบลและอยู่ใกล้ทางเกวียน (ข้างวัดหนองศรีสงวน) พวกบรรดาเวียนไปมาโดยมาหยุดพักอาศัยกันตลอดฤดูฝนและพักร้อนใต้ต้นกระบกนี้ ซึ่งมีน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงได้ชื่อว่า "ตำบลสำนักกระบก" ต่อมาชื่อเพี้ยนจากสำนักกระบก มาเป็น "สำนักบก" ชื่อนี้จึงเป็นชื่อของตำบลสำนักบกนับตั้งแต่นั้นมา[5]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลกุฎโง้งแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านห้วย
  • หมู่ที่ 2 บ้านบน
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองน้ำร้อน
  • หมู่ที่ 4 บ้านห้วยตะคุก
  • หมู่ที่ 5 บ้านไร่
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองกระต่าย

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลสำนักบก มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำนักบกทั้งหมด ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลสำนักบก แล้วจึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบกใน พ.ศ. 2539[6]

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลสำนักบกประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 7 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,170 คน แบ่งเป็นชาย 3,111 คน หญิง 3,059 คน (เดือนธันวาคม 2564)

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2564[7] พ.ศ. 2563[8] พ.ศ. 2562[9] พ.ศ. 2561[10] พ.ศ. 2560[11] พ.ศ. 2559[12] พ.ศ. 2558[13]
ห้วย 331 334 334 319 318 326 334
บน 570 568 569 552 544 531 511
หนองน้ำร้อน 1,200 1,063 971 870 773 728 653
ห้วยตะคุก 1,098 1,078 1,072 1,068 1,054 1,008 959
ไร่ 1,717 1,682 1,625 1,574 1,488 1,408 1,266
หนองกระต่าย 1,254 1,197 1,134 1,004 913 861 773
รวม 6,170 5,922 5,705 5,387 5,090 4,862 4,496

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี". สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1". สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "สภาพสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี". สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ประกาศข้าหลวงเกษตร ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกตราจองชั่วคราวสำหรับที่ดิน ตำบลบ้านสำนักกระบก แขวงเมืองชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (45): 817. วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447
  5. "ประวัติความเป็นมา". สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (จำนวน ๒๑๔๓ แห่ง)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. January 30, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2023-01-07.
  7. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ปี 2564". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.
  8. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ปี 2563". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.
  9. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ปี 2562". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.
  10. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ปี 2561". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.
  11. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ปี 2560". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.
  12. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ปี 2559". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.
  13. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ปี 2558". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]