ตำบลระหาน

พิกัด: 16°09′11.7″N 99°56′16.4″E / 16.153250°N 99.937889°E / 16.153250; 99.937889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลระหาน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Rahan
ประเทศไทย
จังหวัดกำแพงเพชร
อำเภอบึงสามัคคี
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด50.32 ตร.กม. (19.43 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[2]
 • ทั้งหมด7,228 คน
 • ความหนาแน่น143.64 คน/ตร.กม. (372.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 62210
รหัสภูมิศาสตร์621003
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลระหาน
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลระหาน
ตรา
ทต.ระหานตั้งอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร
ทต.ระหาน
ทต.ระหาน
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลระหาน
พิกัด: 16°09′11.7″N 99°56′16.4″E / 16.153250°N 99.937889°E / 16.153250; 99.937889
ประเทศ ไทย
จังหวัดกำแพงเพชร
อำเภอบึงสามัคคี
จัดตั้ง • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลระหาน)
 • 30 มกราคม 2539 (อบต.ระหาน)
 • 15 กรกฎาคม 2551 (ทต.ระหาน)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีชาญ หน่อสุริวงค์
พื้นที่
 • ทั้งหมด50.32 ตร.กม. (19.43 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[2]
 • ทั้งหมด7,228 คน
 • ความหนาแน่น143.64 คน/ตร.กม. (372.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05621001
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนสลกบาตร–หนองหัวปลวก ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 62210
โทรศัพท์055-871-589
โทรสาร055-871-567
เว็บไซต์www.rahan.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ระหาน เป็นหนึ่งในจำนวน 4 ตำบลของอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด 7,228 คน พื้นที่ตำบลอยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบลระหาน

ประวัติ[แก้]

ตำบลระหานเดิมอยู่ในเขตของการปกครองของอำเภอขาณุ (อำเภอคลองขลุงในปัจจุบัน) จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในปี พ.ศ. 2460 ตำบลระหานมีหมู่บ้านจำนวน 5 หมู่บ้าน คือ บ้านโพธิ์เอน บ้านระหาน บ้านหนองบัว บ้านคอปล้อง และบ้านสามขา ราษฎรประกอบอาชีพทำนาและหาของป่าเป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีราษฎรจากอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ได้อพยพมาอาศัยอยู่ประมาณ 30 ครอบครัว ในปี พ.ศ. 2470 จากนั้นในปี พ.ศ. 2475 มีราษฎรจากจังหวัดนครปฐม อพยพมาอยู่ที่บ้านทุ่งสนุ่น และในปี พ.ศ. 2485 มีราษฎรจากอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่อีกกลุ่มหนึ่ง ราษฎรเหล่านี้ได้เข้าจับจองที่ดินประกอบอาชีพทำนาทำไร่ และเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บ สัตว์ดุร้าย และกลุ่มโจรด้วยความยากลำบาก แม้จะต้องประสบกับภยันตรายต่าง ๆ แต่ราษฎรดังกล่าวต่างก็ร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุที่พื้นที่มีบริเวณกว้างขวาง การบุกเบิกถางป่าเพื่อจับจองที่ดินทำกิน ทำให้ราษฎรจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดขอนแก่น กับภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครปฐม และจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดพิจิตร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี เข้ามาจับจองที่ดินและจัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน ทำให้ตำบลระหานมีหมู่บ้านถึง 21 หมู่บ้าน[3]

ในปี พ.ศ. 2517 จัดตั้งสภาตำบลระหานในท้องที่ตำบลระหาน อำเภอขาณุวรลักษบุรี[4] ต่อมาได้มีการจัดตั้งตำบลวังชะโอน โดยแยกออกจากตำบลระหานในปี พ.ศ. 2515 จากนั้นในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการจัดตั้งตำบลเทพนิมิต โดยแยกออกจาหมู่ที่ 6–11, 14 และ 17 ของตำบลระหาน[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้ยกฐานะสภาตำบลระหานเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลระหาน[6] และได้ยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลระหานเป็นเทศบาลตำบลระหาน ในปี พ.ศ. 2551[1]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลระหานมีที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรประมาณ 80 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 307 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 50.32 ตารางกิโลเมตร หรือ 31,450 ไร่ ตำบลระหานมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้[1]

สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ[แก้]

พื้นที่ตำบลระหานเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองหลายสาย ทำให้คุณภาพดินส่วนใหญ่ของที่นี่เป็นดินร่วน และบางส่วนจะมีดินปนทรายอยู่บ้าง ตำบลระหานมีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส โดยสภาพอากาศจะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้ [7]

  • ฤดูร้อน เริ่มในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม มีสภาพอากาศที่ร้อนจัดและอบอ้าว
  • ฤดูฝน เริ่มในช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุก
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมกราคม มีสภาพอากาศที่หนาวเย็น

หมู่บ้านและประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลระหานมีประชากรทั้งหมด 7,228 คน โดยแบ่งเป็นประชากรชายทั้งหมด 3,549 คน และประชากรหญิงทั้งหมด 3,679 คน (เดือนธันวาคม 2564) แบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ดังนี้[1]

ประชากรในเทศบาลตำบลระหานจำแนกตามหมู่บ้าน[2]
ชื่อหมู่บ้าน ประชากรชาย ประชากรหญิง รวม
บ้านทุ่งสนุ่น 573 613 1,186
บ้านพงษ์ทองคำ 545 621 1,166
บ้านทุ่งสนุ่นใต้ 511 511 1,022
บ้านดงเย็น 370 393 763
บ้านหนองจิก 317 288 605
บ้านใหม่คลองม่วง 290 313 603
บ้านคลองเจริญสุขพัฒนา 275 313 588
บ้านกระบวยทองใต้ 247 233 480
บ้านทุ่งสนุ่นเหนือ 215 219 434
บ้านคอปล้อง 204 169 373
ทะเบียนบ้านกลาง 2 6 8
รวม 3,549 3,679 7,228

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การคมนาคม[แก้]

  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1074 ถนนสายสลกบาตร-หนองหัวปลวก
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1280 ถนนสายมหาชัย-ทุ่งสนุ่น
  • ถนนที่อยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบลระหานทั้งหมด 29 สาย

การศึกษา[แก้]

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลระหานมีสถานการศึกษาหลากหลายแห่ง ดังนี้[7]

  • โรงเรียนระหานวิทยา โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาแห่งเดียวในตำบลระหาน
  • โรงเรียนอนุบาลบึงสามัคคี
  • โรงเรียนบ้านดงเย็น
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพงษ์ทองคำ
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงเย็น
  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 1 แห่ง

ศาสนสถาน[แก้]

วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลระหานมีศาสนสถานที่สำคัญ ดังนี้[7]

สาธารณสุข[แก้]

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลระหานมีบริการสาธารณสุข ดังนี้[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประวัติความเป็นมา : เทศบาลตำบลระหาน". เทศบาลตำบลระหาน. จังหวัดกำแพงเพชร.
  2. 2.0 2.1 2.2 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2565.
  3. "ฐานข้อมูลท้องถิ่นกำแพงเพชร-ตาก : ประวัติอำเภอบึงสามัคคี". สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. 22 พฤษภาคม 2517.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตในท้องที่กิ่งอำเภอบึงสามัคคี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 73 ง): 2–7. 12 กันยายน 2538.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 9 ง): 5–219. 30 มกราคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "สภาพทั่วไป : เทศบาลตำบลระหาน". เทศบาลตำบลระหาน. จังหวัดกำแพงเพชร.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]