ตำบลยุหว่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุหว่า
ประเทศไทย
จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอสันป่าตอง
ประชากร
 (2548)
 • ทั้งหมด13,175 คน
เขตเวลาUTC+7 (เวลาในประเทศไทย)

ตำบลยุหว่า เป็นตำบลที่มีพื้นที่ในอาณาเขตอยู่ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็นตำบลเมื่อ พ.ศ. 2482 โดยชื่อตำบลยุหว่านั้นมาจากชื่อของกำนันคนแรกในเขตการปกครองตอนนั้น คือ "พ่อขุนยุหว่า[1]" ตำบลยุหว่าเป็นตำบลที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอสันป่าตอง ประกอบไปด้วยหมู่บ้าน 15 หมู่บ้าน มีการปกครองอยู่ 2 เขตการปกครองคือ เทศบาลตำบลสันป่าตอง และเทศบาลตำบลยุหว่า เป็นตำบลที่มีศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ ความเจริญและศูนย์ราชการของอำเภอสันป่าตอง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลยุหว่าตั้งอยู่ตอนเหนือของอำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลน้ำบ่อหลวงและตำบลสันกลาง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านกลาง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลทุ่งต้อมและตำบลมะขามหลวง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบ้านแม

การปกครองในท้องถิ่น[แก้]

ตำบลยุหว่าแบ่งการปกครองเป็น 15 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านสันป่าตอง หมู่ 9 บ้านต้นผึ้ง
หมู่ 2 บ้านกลาง หมู่ 10 บ้านสันป่าตองใต้
หมู่ 3 บ้านหนองหวาย หมู่ 11 บ้านศาลา
หมู่ 4 บ้านกิ่วแลหลวง หมู่ 12 บ้านดอนตัน
หมู่ 5 บ้านอุเม็ง หมู่ 13 บ้านหนองพันเงิน
หมู่ 6 บ้านหนองปึ๋ง หมู่ 14 บ้านมะจำโรง
หมู่ 7 บ้านใหม่ม่วงก๋อน หมู่ 15 บ้านหนองสะเรียม
หมู่ 8 บ้านร้อง

ประวัติตำบลยุหว่า[2][แก้]

ตำบลยุหว่าก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2482 โดยใช้ชื่อของเขตปกครอง ตามชื่อผู้เป็นกำนันคนแรก คือ "พ่อขุนยุหว่า" สภาตำบลยุหว่า(ชื่อขณะนั้น) เดิมตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านใหม่ม่วงก๋อน ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง] จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 งานและคับแคบต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 คณะกรรมการสภาตำบล ได้เล็งเห็นความเจริญก้าวหน้าของตำบล ได้ประชุมและจัดทำโครงการของบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์เพื่อใช้เป็นสำนักงานของสภาตำบล ซึ่งตั้งอยู่ หมู่ที่ 9 บ้านต้นผึ้ง ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในบริเวณหนองสะเรียม มีเนื้อที่รวม 182 ไร่ ซึ่งเป็นที่สาธารณะของตำบล แต่เดิมหนองสะเรียมเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ตามตำนานที่เล่าสืบต่อๆ กันมา ราษฏรภายในหมู่บ้านมีอาชีพรับจ้างได้ไปรับจ้างขุดดิน ที่บ้านรองขุด ตำบลแม่ก๊า ในขณะที่ขุดดินอยู่นั้น พวกเขาได้ปลาไหลเผือก 1 ตัว มีขนาดใหญ่มาก (ขนาดยักษ์) และทำอาหารแบ่งกันกินทั่วทั้งหมู่บ้าน แต่มีหญิงหม้ายคนหนึ่งซึ่งชาวบ้านไม่ชอบและไม่ยอมแบ่งเนื้อปลาไหลให้ เมื่อทำอาหารจากปลาไหลยักษ์แล้ว แบ่งให้แต่น้ำแกง หญิงหม้ายโกรธมากไม่ยอมกินเทน้ำแกงทิ้ง ต่อมาในเวลากลางคืน ชาวบ้านที่กินปลาไหลเผือกยักษ์ ต้องมีอันเป็นไปโดยที่แผ่นดินแยกทรุดตัวลงทั้งบ้านทั้งคนหายจมไปหมด เหลือแต่บ้านของหญิงหม้ายเพียงหลังเดียว คือบริเวณที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลยุหว่า ปัจจุบันนี้ คงเหลือที่ดินเป็นเกาะเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ และหนองน้ำจำนวน 172 ไร่ รวมเนื้อที่หนองสะเรียมทั้งสิ้น 182 ไร่

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • อ่างเก็บน้ำหนองสะเรียม[3]
  • วัดป่าเจริญธรรม (วัดพระนอนใหญ่)

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

  • ตลาดนัดทุ่งฟ้าบดหรือกาดงัว
  • ศูนย์หัตถกรรมไม้แกะสลักตำบลยุหว่า
  • วัดหนองพันเงิน หลวงพ่อเพชร
  • กาดสล่าแม่ครูคำ
  • ศูนย์หัตถกรรมไม้แกะสลัก กาดร้อยสล่า
  • กาดสลีบัวตอง

หน่วยงานในตำบลยุหว่า[แก้]

  • ที่ว่าการอำเภอสันป่าตอง
  • โรงพยาบาลสันป่าตอง โรงพยาบาลขนาดใหญ่
  • สถานีตำรวจภูธรสันป่าตอง
  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสันป่าตอง
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเชียงใหม่ (สันป่าตอง)
  • สำนักงานเทศบาลตำบลสันป่าตอง
  • สถานีดับเพลิงเทศบาลตำบลสันป่าตอง
  • สภาวัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง
  • ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยุหว่า
  • ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่[4]
  • ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดเชียงใหม่
  • สมาคมฌาปนกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เชียงใหม่(สายใต้)

โรงเรียน[แก้]

  • โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม โรงเรียนมัธยมศึกษา
  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสันป่าตอง
  • โรงเรียนวัดกู่คำ (เมธาวิสัยคณาทร) โรงเรียนประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น
  • โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) โรงเรียนประถมศึกษา
  • โรงเรียนสันป่าตอง โรงเรียนประถมศึกษา
  • โรงเรียนวัดอุเม็ง โรงเรียนประถมศึกษา
  • โรงเรียนชุมชนกิ่วแลหลวง โรงเรียนประถมศึกษา
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลยุหว่า

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.yuwa.go.th/knowsDetail.php?id=L7&imW=&imH=[ลิงก์เสีย]
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-18. สืบค้นเมื่อ 2010-10-08.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-10-08.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-08. สืบค้นเมื่อ 2010-10-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]