ตำบลมหาวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลมหาวัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Maha Wan
ประเทศไทย
จังหวัดตาก
อำเภอแม่สอด
พื้นที่
 • ทั้งหมด159.03 ตร.กม. (61.40 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2552)
 • ทั้งหมด14,364 คน
 • ความหนาแน่น90.33 คน/ตร.กม. (234.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 63110
รหัสภูมิศาสตร์630608
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

มหาวัน เดิมเป็นหมู่บ้านหมู่หนึ่งของ ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด มีผู้มาอยู่คนแรก ชื่อ นายมหาวัน ไม่ปรากฏนามสกุล ประมาณ พ.ศ. 2522 แยกตำบลจากแม่กุเป็นมหาวัน มีกำนันคนแรกชื่อนายแรด ก้อนจะรา ถัดมานายณรงค์ ห้วยผัด เป็นกำนันคนที่ 2 และกำนันคนปัจจุบัน คือ นายจำเนตร อุดทา ต่อมาได้ยกฐานะจากสภาตำบลมหาวันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2540 มีหมู่บ้านในปัจจุบันทั้งหมด 12 หมู่บ้าน

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จำนวนพื้นที่ทั้งหมด 99,394 ไร่ มีพื้นที่ราบ 34,787 ไร่ หรือร้อยละ 35 และเป็นภูเขา 64,606 ไร่ หรือร้อยละ 65 มีพื้นที่ติดต่อชายแดนกับประเทศประเทศพม่า ระยะทาง 7 กิโลเมตร

ชื่อตำบล[แก้]

ชื่อ "มหาวัน" นั้น มาจากชื่อของผู้มาอยู่คนแรก ชื่อ นายมหาวัน ไม่ปรากฏนามสกุล

จากชื่อ "มหาวัน" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

มหา 1 (ว.) ใหญ่, ยิ่งใหญ่, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส บางทีก็ลดรูปเป็น มห เช่น มหรรณพ มหัทธนะ มหัศจรรย์.

มหา 2 (น.) สมณศักดิ์ที่ใช้นำหน้าชื่อภิกษุผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม 3 ประโยคขึ้นไป.

วัน 1 (น.) ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ 1 วัน, ระยะเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา 2 วัน 1 คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม).

วัน 2 (น.) แมลงวัน. (ดู แมลงวัน ที่ แมลง).

วัน 3 (น.) ป่าไม้, ดง, เช่น อัมพวัน คือ ป่ามะม่วง. (ป. วน).

ประวัติศาสตร์และพัฒนาการ[แก้]

ตำบลมหาวันเดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งอยู่ในตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด โดยมีผู้มาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยคนแรก ชื่อ นายมหาวัน ไม่ปรากฏนามสกุล

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2422 ชาวบ้านได้อาศัยอยู่บริเวณลำห้วยแม่โกนเกน แรกเริ่มมีประชากรทั้งสิ้น 15 ครอบครัว และเมื่อปี พ.ศ. 2524 มีการแยกจากตำบลแม่กุออกเป็นตำบลมหาวัน และมีกำนันคนแรกชื่อ นายแรด ก้อนจะรา คนที่สองชื่อ นายณรงค์ ห้วยผัด กำนันคนปัจจุบัน คือ นายจำเนตร อุดทา และได้ยกฐานะจากสภาตำบลมหาวันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2540 โดยนายณรงค์ ห้วยผัด เป็นประธานกรรมการบริหารส่วนตำบลมหาวันคนแรก และเปลี่ยนเป็นตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ปัจจุบันนายสุรพล โปทาคำ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลมหาวัน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอแม่สอด ศูนย์กลางตำบล คือ หมู่ที่ 5 บ้านห้วยไม้แป้น ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยแยกขวาจากถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1090) กิโลเมตรที่ 17 ตำบลมหาวันห่างจากตัวอำเภอแม่สอด 20 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดตากประมาณ 101 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

โดยมีแนวเขตระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า จากลำห้วยแม่กุหลวง แม่น้ำเมย บริเวณพิกัด เอ็มยู 553356 ไปทางทิศตะวันออก ไปตามลำห้วยผักแล้งผ่านทุ่งนา ถึงจุดตัดถนนสายเอเชียแม่สอด-อุ้มผาง บริเวณพิกัด เอ็มยู 599346 ไปทางทิศตะวันออกผ่านดอยม่อนหินเหล็กไฟ พิกัดเอ็มยู 650341 ไปทางทิศตะวันออกผ่านพิกัดเอ็มยู 690341, 700337 และ710337 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวสันปันน้ำโกซ่อง สิ้นสุดที่ลำห้วยผัดกูด บริเวณพิกัด เอ็มยู 7453369 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวลำห้วยผัดกูดและลำห้วยซุกกะรีสิ้นสุดที่ลำห้วยซุกกะรี ที่จุดพิกัด 766362 ระยะทางทิศเหนือประมาณ 24 กิโลเมตร

โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากขุนห้วยซุกกะรีบริเวณพิกัด เอ็มยู 766362ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวสันเขาปันน้ำ สิ้นสุดที่ขุนห้วยแม่โกนเกนบริเวณพิกัด เอ็มยู 726310 รวม ระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 7 กิโลเมตร

โดยมีเขตเริ่มจากขุนห้วยแม่โกนเกน บริเวณพิกัดเอ็มยู 726310 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวกึ่งกลางห้วยแม่โกนเกน ถึงที่จุดพิกัด เอ็มยู 696298 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวลำห้วยแม่โกนเกน ผ่านจุดตัดถนนสายเอเชียแม่สอด-อุ้มผาง ที่จุดพิกัด เอ็มยู 619280 ไปตามลำห้วยแม่โกนเกน ผ่านดอยปางโจ๊ก สิ้นสุดที่แนวแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าพิกัด เอ็มยู 574285 ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร

โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นกั้นพรมแดน ระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร

มีระยะทางห่างจากตัวเมืองสำคัญ ๆ ดังนี้

ลักษณะทางภูมิศาสตร์และลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่สูงลาดชันจากทิศตะวันออกลงมาทิศตะวันตกและ มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำเมย และประเทศประเทศพม่า มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ 2 ลักษณะ คือ

  • ลักษณะที่ 1 เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารเป็นหมู่บ้านของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และเผ่ากะเหรี่ยง
  • ลักษณะที่ 2 เป็นพื้นที่ราบ ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวไทยพื้นราบ สภาพเศรษฐกิจทางด้านสังคมจึงแตกต่างกัน

เนื้อที่[แก้]

ตำบลมหาวันมีเนื้อที่ประมาณ 159.03 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 99,394 ไร่

เขตการปกครอง[แก้]

ตำบลมหาวันมีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน คือ

  1. หมู่ที่ 1 บ้านมหาวัน
  2. หมู่ที่ 2 บ้านใหม่แม่โกนเกน
  3. หมู่ที่ 3 บ้านม่อนหินเหล็กไฟ
  4. หมู่ที่ 4 บ้านแม่โกนเกน
  5. หมู่ที่ 5 บ้านห้วยไม้แป้น
  6. หมู่ที่ 6 บ้านเจดีย์โคะ
  7. หมู่ที่ 7 บ้านเจดีย์โคะใหม่
  8. หมู่ที่ 8 บ้านห้วยน้ำขุ่น
  9. หมู่ที่ 9 บ้านห้วยมหาวงศ์
  10. หมู่ที่ 10 บ้านเจดีย์โคะเหนือ
  11. หมู่ที่ 11 บ้านพบพระน้อย
  12. หมู่ที่ 12 บ้านปางวัว

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ตำบลมหาวันมีหมู่บ้านอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวันเต็มทั้งหมู่บ้าน มีจำนวน 12 หมู่บ้าน

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

การปกครองในตำบลมหาวัน มีฐานะเริ่มแรกเป็นสภาตำบลมหาวัน ต่อมาได้ยกฐานะจากสภาตำบลมหาวันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2540

จำนวนประชากร[แก้]

จำนวนประชากรในเขตตำบลมหาวัน หรืออบต.มหาวันมีจำนวน 14,364 คน (พ.ศ. 2552) เฉลี่ยความหนาแน่นของประชากร ประมาณ 90.33 คน/ ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนหลังคาเรือน 3,346 หลังคาเรือน

จำนวนประชากรทั้งสิ้น 14,364 คน

  • เป็นชาย 7,293 คน
  • เป็นหญิง 7,071 คน
  • ความหนาแน่นเฉลี่ย 90.33 คน/ ตารางกิโลเมตร

สภาพทางเศรษฐกิจ[แก้]

  • อาชีพ
  1. เกษตรกร 97 %
  2. ค้าขาย 2 %
  3. ประกอบอาชีพอื่น 1 %
    • อาชีพหลัก ทำนา, ทำไร่, ทำสวน และค้าขายไม้สัก
    • อาชีพเสริม ร่วมกันผลิตแชมพู และสานเข่งไม้ไผ่
  • หน่วยธุรกิจในเขตตำบลมหาวัน หรืออบต.มหาวัน
  1. ธนาคาร - แห่ง
  2. โรงแรม - แห่ง
  3. ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 1 แห่ง
  4. โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
  5. โรงสี 5 แห่ง

สภาพทางสังคม[แก้]

  • สถานศึกษา
  1. โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง
  2. โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง
  3. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) 1 แห่ง
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง
  5. โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
  6. โรงเรียน/ สถาบันชั้นสูง - แห่ง
    • ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 12 แห่ง
  • สถาบันและองค์กรทางศาสนา
  1. วัด/ สำนักสงฆ์ 9 แห่ง
  2. มัสยิด - แห่ง
  3. ศาลเจ้า - แห่ง
  4. โบสถ์ 4 แห่ง
  • สาธารณสุข
  1. โรงพยาบาลของรัฐ - แห่ง
  2. สถานีอนามัยประจำตำบล/ หมู่บ้าน 3 แห่ง
  3. สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง
  4. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 3 แห่ง
  5. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 99
  • ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  1. สถานีตำรวจ - แห่ง
  2. สถานีดับเพลิง - แห่ง

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

  • การคมนาคม

ถนนสายสำคัญ ๆ เป็นถนนลาดยาง จำนวน 5 สาย ได้แก่

  1. สายห้วยไม้แป้น-แม่โกนเกน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  2. สายแม่กุหลวง-ผารู ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  3. สายแม่สอด-อุ้มผาง แนวใหม่ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  4. สายแม่สอด-อุ้มผาง กิโลเมตรที่ 14-28 ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  5. สายห้วยไม้แป้น-ช่องแคบ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  • การโทรคมนาคม
  1. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
  2. สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ - แห่ง
  • การไฟฟ้า
  1. จำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 12 หมู่บ้าน
  2. จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 3,346 ครอบครัว
  • โทรศัพท์
  1. จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ จำนวน 1,500 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 45.00 ของจำนวนหลังคาเรือน
  2. จำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน - หมายเลข
  • แหล่งน้ำธรรมชาติ
  1. ลำน้ำ, ลำห้วย 4 สาย
  2. บึง, หนอง และอื่น ๆ - แห่ง
  • แหล่งน้ำสร้างขึ้น
  1. ฝาย 5 แห่ง
  2. บ่อน้ำตื้น 16 แห่ง
  3. บ่อโยก 9 แห่ง
  4. อื่น ๆ (ระบุ) - แห่ง

ข้อมูลอื่น ๆ[แก้]

  • ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
  1. น้ำตกธารารักษ์ หรือน้ำตกเจดีย์โคะ หรือน้ำตกผาชัน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านเจดีย์โคะ บริเวณกิโลเมตรที่ 24 สายแม่สอด-อุ้มผาง ห่างจากอำเภอแม่สอด ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนที่สวยงามแห่งหนึ่งของตำบลมหาวัน
  2. สวนป่าไม้แม่โกนเกน-พบพระ ตั้งอยู่ระหว่างหมู่ที่ 1, 8 และหมู่ที่ 11
  3. แม่น้ำเมย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2, 4 และหมู่ที่ 9 ตำบลมหาวัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน มีหาดทรายที่กว้างและขาวสะอาด
  • มวลชนจัดตั้ง
  1. ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น 326 คน
  2. ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 165 คน
  3. กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 1 รุ่น 192 คน
  4. ชุดรักษาความปลอดภัย 1 รุ่น 213 คน
  5. อื่น ๆ - รุ่น - คน

การคมนาคม[แก้]

เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบลมหาวันจากตัวจังหวัดตากใช้เส้นทางสายตาก-แม่สอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12) ถึงวงเวียนกลางเมืองแม่สอด (วงเวียนใหญ่, แยกอุ้มผาง) ระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตร เล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนแม่สอด-อุ้มผาง ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยไม้ หมู่ที่ 5 แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ตำบลมหาวัน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวจังหวัดตาก ประมาณ 108 กิโลเมตร

ทางบก[แก้]

ถนนสายสำคัญ ๆ เป็นถนนลาดยาง จำนวน 5 สาย ได้แก่

  1. ถนนสายห้วยไม้แป้น-แม่โกนเกน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  2. ถนนสายแม่กุหลวง-ผารู ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  3. ถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง แนวใหม่ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  4. ถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง หรือทางหลวงแผ่นดินหมาลเลข 1090 กิโลเมตรที่ 14-28 ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  5. ถนนสายห้วยไม้แป้น-ช่องแคบ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้การได้ดี

สถานที่สำคัญของตำบล[แก้]

  1. น้ำตกธารารักษ์ เป็นน้ำตกที่สูงชันมีความสวยงามตามธรรมชาติ แต่ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร การเดินทางใช้ถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง เลี้ยวซ้ายบริเวณหมู่ 6 บ้านเจดีย์โคะ ประมาณ 0.5 กิโลเมตร
  2. ถ้ำสีฟ้า
  3. ตลาดสดผักผลไม้ จากไร่เกษตรกร เป็นศูนย์สินค้าชุมชนด้านผักสด ผลไม้สด และเป็นสถานที่เกษตรกรนำพืชผักผลไม้จากไร่มาจำหน่ายบริเวณสองข้างทาง สินค้าที่ขาย เช่น กะหล่ำปลี, พริก, มะเขือเทศ ฯลฯ
  4. วัดสุวรรณบรรพต, ห้วยไม้แป้น และวัดมหาวงศ์
  5. องค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน
  6. สถานีอนามัยแม่โกนแกน, ห้วยไม้แป้น และเจดีย์โค๊ะ
  7. ป่าไม้

อ้างอิง[แก้]

  • รายงานประจำปีตำบลมหาวัน พ.ศ. 2552

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]