ตำบลปากทรง

พิกัด: 9°46′27.1″N 98°41′36.5″E / 9.774194°N 98.693472°E / 9.774194; 98.693472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลปากทรง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Pak Song
น้ำตกเหวโหลม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน จากหน่วยพิทักษ์เหวโหลม
น้ำตกเหวโหลม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน จากหน่วยพิทักษ์เหวโหลม
ประเทศไทย
จังหวัดชุมพร
อำเภอพะโต๊ะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด269.99 ตร.กม. (104.24 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด5,370 คน
 • ความหนาแน่น19.88 คน/ตร.กม. (51.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 86180
รหัสภูมิศาสตร์860602
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง
อบต.ปากทรงตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร
อบต.ปากทรง
อบต.ปากทรง
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง
พิกัด: 9°46′27.1″N 98°41′36.5″E / 9.774194°N 98.693472°E / 9.774194; 98.693472
ประเทศ ไทย
จังหวัดชุมพร
อำเภอพะโต๊ะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด269.99 ตร.กม. (104.24 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด5,370 คน
 • ความหนาแน่น19.88 คน/ตร.กม. (51.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06860604
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 74 หมู่ที่ 5 ถนนสายราชกรูด–วังตะกอ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 86180
เว็บไซต์www.paksong.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปากทรง เป็น 1 ใน 4 ตำบลของอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เป็นที่ตั้งของน้ำตกเหวโหลม เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหล จากหน้าผาสูง 80 เมตร ด้วยสภาพที่เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดงดิบชื้น จึงทำให้มีต้นไม้ใหญ่แปลกตาหลายชนิด จึงเหมาะแก่การเดินศึกษาธรรมชาติและดูนกนานาชนิด ท่องเที่ยวตลอดทั้งปี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลปากทรง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

"ปากทรง" เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ สันนิษฐานว่าเจ้าเมืองระนองและเจ้าเมืองหลังสวนเป็นญาติกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยียนกันในสมัยก่อนนั้น ไม่มีถนนจึงต้องทรงช้างไปเมืองหลังสวน เมื่อมาถึงปากแม่น้ำก็ต้องลงเรือต่อไปอีก ชาวบ้านเห็นเจ้าเมืองทรงช้างมาลงเรือที่ปากแม่น้ำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "ปากทรง" และได้ยกเป็นตำบลมาจนถึงทุกวันนี้[1]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลปากทรงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านต่อตั้ง (Ban To Tang)
หมู่ 2 บ้านห้างแก (Ban Hang Kae)
หมู่ 3 บ้านบกไฟ (Ban Bok Fai)
หมู่ 4 บ้านปากทรง (Ban Pak Song)
หมู่ 5 บ้านทับขอน (Ban Thap Khon)
หมู่ 6 บ้านสะพานสอง (Ban Saphan Song)
หมู่ 7 บ้านตะแบกงาม (Ban Tabaek Ngam)
หมู่ 8 บ้านในแจะ (Ban Nai Chae)
หมู่ 9 บ้านคลองเรือ (Ban Khlong Ruea)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลปากทรง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากทรงทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลปากทรงที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[2] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปากทรงในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[3] จนถึงปัจจุบัน

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลปากทรงประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 9 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 5,370 คน แบ่งเป็นชาย 2,733 คน หญิง 2,637 คน (เดือนธันวาคม 2565)[4] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรเป็นลำดับ 3 ในอำเภอพะโต๊ะ

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2564[4] พ.ศ. 2563 [5] พ.ศ. 2562[6] พ.ศ. 2561[7] พ.ศ. 2560[8] พ.ศ. 2559[9]
ปากทรง 886 877 874 867 857 854 849
ทับขอน 781 787 780 788 791 785 787
สะพานสอง 779 778 775 770 778 769 786
ห้างแก 667 652 648 635 633 637 620
ตะแบกงาม 656 646 642 627 611 597 588
บกไฟ 492 498 514 519 523 524 521
ต่อตั้ง 488 481 482 475 482 473 472
ในแจะ 338 331 332 330 328 322 320
คลองเรือ 283 274 279 273 269 264 257
รวม 5,370 5,324 5,326 5,284 5,272 5,225 5,200

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อมูล ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร". ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบน จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  4. 4.0 4.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.