ตำบลบางเล่า
ตำบลบางเล่า | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Bang Lao |
แม่น้ำบางปะกง บริเวณบ้านบางเล่า-บ้านสามร่ม | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ฉะเชิงเทรา |
อำเภอ | คลองเขื่อน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 19.49 ตร.กม. (7.53 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 1,787 คน |
• ความหนาแน่น | 91.69 คน/ตร.กม. (237.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 24000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 241103 |
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเล่า | |
---|---|
พิกัด: 13°43′08.1″N 101°08′38.8″E / 13.718917°N 101.144111°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ฉะเชิงเทรา |
อำเภอ | คลองเขื่อน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 19.49 ตร.กม. (7.53 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 1,787 คน |
• ความหนาแน่น | 91.69 คน/ตร.กม. (237.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06241102 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 1/3 หมู่ที่ 6 ตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 |
โทรศัพท์ | 0 3850 2006 |
เว็บไซต์ | banglaow |
บางเล่า เป็นตำบลในอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันมีเขตการปกครอง 6 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 19.49 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมด 1,787 คน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลบางเล่ามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลก้อนแก้ว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับะตำบลบางตลาด
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางสวน และตำบลสาวชะโงก (อำเภอบางคล้า)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางแก้ว (อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา)
ประวัติ
[แก้]พื้นที่ตำบลบางเล่าเดิมเป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลบางตลาด อำเภอบางคล้า เป็นที่ราบลุ่มทิศตะวันออกติดกับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ มีลําคลองสายหลักทั้งหมด 9 สาย ได้แก่ คลองสามร่ม คลองบางเล่า คลองบางกระเสน คลองขุดใหม่ คลองพ่อจอม คลองนายสี คลองป้าฉลวย คลองผู้ใหญ่วัน และคลองวัดส้มจีน[1]
เมื่อกระทรวงพิจารณาว่าพื้นที่มีความกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่ 5 บ้านโหงหวด, หมู่ 7 บ้านสามร่ม และหมู่ 9 บ้านบางกระเสน รวม 3 หมู่บ้านของตำบลบางตลาด มาตั้งเป็น ตำบลบางเล่า[2]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]พื้นที่ตำบลบางเล่าประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 1,787 คน แบ่งเป็นชาย 889 คน หญิง 898 คน (เดือนธันวาคม 2566)[3] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอำเภอคลองเขื่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[4] | พ.ศ. 2565[5] | พ.ศ. 2564[6] | พ.ศ. 2563[7] | พ.ศ. 2562[8] | พ.ศ. 2561[9] | พ.ศ. 2560[10] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ดอน | 432 | 447 | 453 | 456 | 456 | 468 | 464 |
สามร่ม | 383 | 396 | 392 | 402 | 403 | 414 | 423 |
หนองสามขา | 321 | 315 | 317 | 315 | 314 | 319 | 325 |
บางกระเสน | 316 | 317 | 324 | 326 | 325 | 347 | 353 |
โหงหวด | 254 | 254 | 269 | 274 | 277 | 281 | 290 |
บางเล่า | 81 | 82 | 79 | 84 | 86 | 80 | 88 |
รวม | 1,787 | 1,811 | 1,834 | 1,857 | 1,861 | 1,909 | 1,943 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ปัจจุบันตำบลบางเล่าทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเล่า ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลบางเล่า ในปี พ.ศ. 2517[11] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลบางเล่ามี 6 หมู่บ้าน พื้นที่ 19.49 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1,935 คน และ 466 ครัวเรือน[12] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลบางเล่าอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางเล่า[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (31 ง): 1930–1974. วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลก้อนแก้ว กิ่งอำเภอคลองเขื่อน อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539