ตำบลน้ำเกลี้ยง

พิกัด: 14°54′47.7″N 104°32′53.8″E / 14.913250°N 104.548278°E / 14.913250; 104.548278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลน้ำเกลี้ยง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Nam Kliang
ศูนย์ราชการและศูนย์กลางการค้าของอำเภอน้ำเกลี้ยง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านวารีรัตน์ ตำบลน้ำเกลี้ยง
ศูนย์ราชการและศูนย์กลางการค้าของอำเภอน้ำเกลี้ยง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านวารีรัตน์ ตำบลน้ำเกลี้ยง
ประเทศไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอน้ำเกลี้ยง
พื้นที่
 • ทั้งหมด51.99 ตร.กม. (20.07 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด6,255 คน
 • ความหนาแน่น120.31 คน/ตร.กม. (311.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33130
รหัสภูมิศาสตร์331501
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกลี้ยง
อบต.น้ำเกลี้ยงตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ
อบต.น้ำเกลี้ยง
อบต.น้ำเกลี้ยง
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกลี้ยง
พิกัด: 14°54′47.7″N 104°32′53.8″E / 14.913250°N 104.548278°E / 14.913250; 104.548278
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอน้ำเกลี้ยง
พื้นที่
 • ทั้งหมด51.99 ตร.กม. (20.07 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด6,255 คน
 • ความหนาแน่น120.31 คน/ตร.กม. (311.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06331505
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 80 หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ 33130
เว็บไซต์www.namkliang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
บริเวณแยกน้ำเกลี้ยง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2125 บ้านไฮ–กันทรารมย์ ตำบลน้ำเกลี้ยง ซึ่งเป็นทางแยกไปศูนย์ราชการอำเภอน้ำเกลี้ยง รวมถึงอำเภอกันทรารมย์ อำเภอศรีรัตนะ

น้ำเกลี้ยง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอน้ำเกลี้ยงไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5.6 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 40 กิโลเมตร และยังเป็นที่ตั้งสถานที่ราชการคือ ที่ว่าการอำเภอน้ำเกลี้ยง โรงพยาบาลน้ำเกลี้ยง สถานีตำรวจภูธรน้ำเกลี้ยง ฯลฯ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของทุกตำบลในอำเภอน้ำเกลี้ยง

ประวัติ[แก้]

เดิมพื้นที่ "ตำบลน้ำเกลี้ยง" เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกันทรารมย์ ต่อมาทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2529 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ปีเดียวกัน ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2528 ได้แยกพื้นที่การปกครองหมู่ที่ 4,14,17 (บ้านเขิน) หมู่ที่ 2,12 (บ้านสบาย) หมู่ที่ 6 (บ้านโนนหนองสิม) หมู่ที่ 15 (บ้านโนนสว่าง) และหมู่ที่ 8 (บ้านหนองระไง) ตำบลน้ำเกลี้ยง ตั้งเป็นตำบลเขิน[3] และมีผลในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ในปี พ.ศ. 2533 ได้ตั้งตำบลรุ่งระวี แยกออกจากตำบลละเอาะ และตำบลเขิน[4] ซึ่งเป็นหมู่บ้านในตำบลน้ำเกลี้ยงเดิม

ตำบลน้ำเกลี้ยง ได้มีการจัดตั้งองค์กรในรูปแบบสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติที่ 326 ให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่หลักในด้านการพัฒนาตำบลตอบสนองต่อนโยบายการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2516[5] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอน้ำเกลี้ยง[6] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ทำให้เขตสภาตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ โอนเข้ามาอยู่ในเขตของอำเภอน้ำเกลี้ยง จากนั้นสภาตำบลจึงได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกลี้ยง[7] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 และมีผลในวันที่ 30 มกราคม ปีเดียวกัน เป็นต้นมา

ต่อมาทางราชการได้แยกพื้นที่การปกครองของตำบลน้ำเกลี้ยงเพื่อจัดตั้งตำบลใหม่อีกครั้ง โดยได้แยกพื้นที่การปกครองหมู่ที่ 3,4 (บ้านคูบ) หมู่ที่ 5 (บ้านหนองแวง) หมู่ที่ 6 (บ้านสะพุง) หมู่ที่ 9 (บ้านสะเต็ง) หมู่ที่ 10 (บ้านโนนเชียงสี) หมู่ที่ 13 (บ้านสร้างแก้ว) และหมู่ที่ 15 (บ้านโนนยาง) ตำบลน้ำเกลี้ยง ตั้งเป็นตำบลคูบ[8] ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2538 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลน้ำเกลี้ยง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลคูบ อำเภอน้ำเกลี้ยง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลโพธิ์ และตำบลเหล่ากวาง อำเภอโนนคูณ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเขิน และตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลรุ่งระวี ตำบลละเอาะ ตำบลตองปิด อำเภอน้ำเกลี้ยง และตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์

การปกครอง[แก้]

พื้นที่ตำบลน้ำเกลี้ยงประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 10 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,244 คน แบ่งเป็นชาย 3,221 คน หญิง 3,023 คน (เดือนสิงหาคม 2564) เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอำเภอน้ำเกลี้ยง

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2563 [9] พ.ศ. 2562[10] พ.ศ. 2561[11] พ.ศ. 2560[12] พ.ศ. 2559[13] พ.ศ. 2558[14] พ.ศ. 2557[15] พ.ศ. 2556[16] พ.ศ. 2555[17]
น้ำเกลี้ยง (หมู่ 1) 1,372 1,361 1,341 1,326 1,322 1,297 1,276 1,276 1,277
ลุมภู 1,116 1,118 1,102 1,084 1,071 1,062 1,053 1,037 1,028
น้ำเกลี้ยง (หมู่ 6) 789 788 786 785 776 780 761 764 755
หนองบาง 725 734 740 735 716 721 710 700 701
ชมพูทอง 513 507 507 514 503 497 491 490 482
ทุ่งศรีอุดม 456 453 454 456 454 443 445 433 440
วารีรัตน์ 404 404 414 421 431 423 426 420 414
นาเจริญ 368 370 371 358 357 368 369 363 363
หนองนาเวียง 275 276 280 281 283 274 269 276 276
ภูคำ 180 181 180 178 173 173 175 173 170
*ทะเบียนบ้านกลาง 21 183 183 183 183 185 184 186 187
รวม 6,219 6,375 6,358 6,321 6,269 6,223 6,159 6,118 6,093

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตตำบลน้ำเกลี้ยง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 157. January 21, 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 56-81. October 10, 1986.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอยางชุมน้อย กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-83. August 17, 1990.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. August 24, 1973.
  6. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. June 3, 1994. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (จำนวน ๒๑๔๓ แห่ง)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 164–165. January 30, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (2 ง): 9–20. January 4, 1996.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.