ตำบลด่านแม่แฉลบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลด่านแม่แฉลบ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Dan Mae Chalaep
อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์
ประเทศไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอศรีสวัสดิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด745.90 ตร.กม. (287.99 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด4,801 คน
 • ความหนาแน่น6.43 คน/ตร.กม. (16.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71250
รหัสภูมิศาสตร์710402
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่แฉลบ
อบต.ด่านแม่แฉลบตั้งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี
อบต.ด่านแม่แฉลบ
อบต.ด่านแม่แฉลบ
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่แฉลบ
พิกัด: 14°35′56.7″N 99°06′56.0″E / 14.599083°N 99.115556°E / 14.599083; 99.115556พิกัดภูมิศาสตร์: 14°35′56.7″N 99°06′56.0″E / 14.599083°N 99.115556°E / 14.599083; 99.115556
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอศรีสวัสดิ์
จัดตั้ง • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลด่านแม่แฉลบ)
 • 30 มกราคม 2539 (อบต.ด่านแม่แฉลบ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด745.90 ตร.กม. (287.99 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด4,801 คน
 • ความหนาแน่น6.43 คน/ตร.กม. (16.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06710403
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 1/2 หมู่ที่ 3 ถนนลาดหญ้า–ศรีสวัสดิ์ ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 71250
เว็บไซต์danmaechalap.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ด่านแม่แฉลบ เป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอศรีสวัสดิ์ สถานีตำรวจภูธรด่านแม่แฉลบ และโรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์

อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์มีพื้นที่ 419 ตารางกิโลเมตร มีความจุมากถึง 17,145 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับเก็บน้ำสูง 180 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลด่านแม่แฉลบมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลนาสวน และตำบลเขาโจด
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองเป็ด และตำบลท่ากระดาน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองรี (อำเภอบ่อพลอย)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลแม่กระบุง และตำบลลิ่นถิ่น ตำบลหินดาด ตำบลชะแล (อำเภอทองผาภูมิ)
เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ขนาดใหญ่แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง สร้างขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์ด้านต่างๆ ส่งเสริมระบบชลประทาน โครงการแม่กลองใหญ่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ประวัติ[แก้]

ด่านแม่แฉลบเป็นตำบลเก่าแก่ เดิมทีเดียวชาวบ้านได้ย้ายมาตั้งบ้านเรือน เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่องด่านระหว่างภูเขาและลำห้วย ทำเลดี เมื่อสมัยที่ทำสงครามกับพม่า พม่าได้เดินทัพมาตีแถบชายแดนของประเทศไทย จึงได้ตั้งเป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่า เมืองศรีสวัสดิ์ ขึ้นตรงกับเจ้าเมืองกาญจนบุรี ในสมัย ร.1 ตำบลด่านแม่แฉลบเดิมชื่อ ห้วยแม่แฉลบ สภาพพื้นที่เดิมอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาปี พ.ศ. 2519 พื้นที่ตำบลนี้น้ำท่วมเมื่อมีการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ จึงต้องอพยพชาวบ้านมาอยู่บนที่ราบสูงภูเขา โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเขื่อนศรีนครินทร์ได้จัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎรเป็นที่อยู่อาศัยและทำกิน

ด่านแม่แฉลบเดิมเป็นที่ตั้งของสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์[2] ที่จัดตั้งบริเวณที่ว่าการกิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2499 ซึ่งที่ว่าการกิ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียนด่านแม่แฉลบ และแม่น้ำแควใหญ่ เมื่อมีการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ทำให้เป็นพื้นที่น้ำท่วม ประชาชนย้ายออกและไม่มีประชาชนอยู่ในเขตสุขาภิบาลเลย จึงยุบสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์ลงในปี พ.ศ. 2522[3] พร้อมกับจัดตั้งสุขาภิบาลเอราวัณขึ้นแทน[4] ในท้องที่บ้านแก่งแคบ ของตำบลท่ากระดาน ที่มีประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์บางส่วนได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐาน

เขื่อนศรีนครินทร์ช่วยบรรเทาอุทกภัย สามารถกักเก็บน้ำที่หลากมาในช่วงฤดูฝนไว้ในอ่างเก็บน้ำได้เป็นจำนวนมาก ช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำแม่กลองให้ลดน้อยลง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลด่านแม่แฉลบแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านท่าสนุ่น (Ban Tha Sanun)
หมู่ที่ 2 บ้านพุน้ำเปรี้ยว (Ban Phu Nam Priao)
หมู่ที่ 3 บ้านด่านแม่แฉลบ (Ban Dan Mae Chalaep)
หมู่ที่ 4 บ้านท่าสนุ่น (Ban Tha Sanun)
หมู่ที่ 5 บ้านโป่งหวาย (Ban Pong Wai)
หมู่ที่ 6 บ้านดงเสลา (Ban Dong Salao)
หมู่ที่ 7 บ้านปากเหมือง (Ban Pak Mueang)
หมู่ที่ 8 บ้านหาดแตง (Ban Hat Taeng)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลด่านแม่แฉลบมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่แฉลบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านแม่แฉลบทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลด่านแม่แฉลบที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[5] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่แฉลบในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[6]

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลด่านแม่แฉลบประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,801 คน แบ่งเป็นชาย 2,440 คน หญิง 2,361 คน (เดือนธันวาคม 2565)[7] เป็นตำบลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในอำเภอศรีสวัสดิ์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[8] พ.ศ. 2564[9] พ.ศ. 2563[10] พ.ศ. 2562[11] พ.ศ. 2561[12] พ.ศ. 2560[13] พ.ศ. 2559[14]
ดงเสลา 1,053 1,060 1,053 1,050 1,047 1,043 1,046
ท่าสนุ่น (หมู่ 4) 769 767 772 764 753 758 759
โป่งหวาย 705 708 686 681 674 668 675
พุน้ำเปรี้ยว 674 675 683 683 696 681 693
ด่านแม่แฉลบ 619 615 623 628 639 649 644
ปากเหมือง 497 502 493 508 503 497 488
ท่าสนุ่น (หมู่ 1) 243 246 250 253 255 255 258
หาดแตง 221 219 226 221 224 222 223
**ทะเบียนกลาง 20 24 19 232 232 230 234
รวม 4,801 4,816 4,805 5,020 5,023 5,003 5,020

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • สถานีตำรวจภูธรด่านแม่แฉลบ จัดตั้งขึ้นครั้งแรก คือ สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ ต่อมาสถานีตำรวจภูธรศรีสวัสดิ์ได้ย้ายไปที่แทนที่สถานีตำรวจภูธรท่ากระดาน ที่ตำบลท่ากระดาน เนื่องจากมีวัตถุประสงค์การสร้างเพื่อแทนสถานีตำรวจภูธรเดิม ทางราชการเห็นว่าพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ฝั่งตะวันออกมีลักษณะถูกตัดขาดจากสถานีตำรวจภูธรที่ได้ย้ายไป จึงตั้งสถานีตำรวจภูธรศรีสวัสดิ์ (เดิม) ขึ้นเป็นสถานีตำรวจภูธรด่านแม่แฉลบในปี พ.ศ. 2530[15] ไว้เป็นสถานีตำรวจภูธรตามเดิมด้วยเกรงว่าเหตุการณ์โจรผู้ร้ายจะกำเริบขึ้น โดยมีเขตอำนาจความรับผิดชอบใน 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลเขาโจดทั้งตำบล ตำบลนาสวน (เฉพาะพื้นที่หมู่ 1–2, 4–5) และตำบลด่านแม่แฉลบ (เฉพาะพื้นที่หมู่ 1–6, 8)
  • โรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ เป็นโรงพยาบาล 1 ใน 2 แห่งของอำเภอศรีสวัสดิ์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 80 หมู่ที่ 3 บ้านด่านแม่แฉลบ ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก (F3) จำนวนเตียงจริง 10 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข[16] เดิมทีเดียวอำเภอศรีสวัสดิ์ไม่มีโรงพยาบาลประจำอำเภอด้วยความที่มีความทุรกันดารการคมนาคมไม่สะดวก ฉลอง-อาภา เคียงศิริ มีความประสงค์จึงได้ปรึกษาหารือกับรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (น.พ.บรรลุ ศรีพาณิช/ว่ามีความประสงค์จะจัดสร้างโรงพยาบาลในถิ่นทุรกันดารโดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ เมื่อท่านรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบในหลักการให้จัดสร้างโรงพยาบาลได้ในปี พ.ศ. 2528 ฉลอง-อาภา เคียงศิริ จึงได้ศึกษาด้านภูมิประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนที่เหมาะสมที่จะจัดสร้างโรงพยาบาล และในที่สุดทั้งสองท่านได้ตัดสินใจเลือกอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นสถานที่จัดสร้าง โดยมอบงบประมาณส่วนตัวเป็นเงิน 4,995,000 บาท ซึ่งมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด คือ นายแพทย์พยงค์ เสสนุตร และนายอำเภอศรีสวัสดิ์ คือ นายอำเภอประหยัด เสสบุตร ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จนกระทั่งแล้วเสร็จพร้อมที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ เป็นพื้นที่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวกต้องข้ามแพขนานยนต์การจัดสร้างโรงพยาบาลในบริเวณนี้ จึงนับว่าเหมาะสมมากเพื่อให้การบริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนผู้ยากไร้ตราบเท่าทุกวันนี้ ฉลองและคอาภา เคียงศิริ ก็มิได้ทอดทิ้งโรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ดังเห็นได้จากเมื่อปี พ.ศ. 2537 น.พ. จุลทล ทรัพย์มูล ซึ่งในขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวนการโรงพยาบาลศุกร์ศิริอยู่ได้มีความคิดที่จะจัดสร้างอาคารผู้ป่วยพิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการแก่ผู้ป่วยมากขึ้น เมื่อแจ้งความประสงค์ไปยังคุณฉลอง เคียงศิริท่านก็ได้มอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท จนกระทั่งทุกวันนี้ความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นทำให้โรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์เป็นสถานบริการที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ในขอบเขตของโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ที่มาของชื่อ "ศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์" คำว่า "ศุกร์" ย่อมาจากนามสกุลคุณอาภา ศรีศุกร์ คำว่า "ศิริ"ย่อมาจากนามสกุลคุณฉลอง เคียงศิริ คำว่า "ศรีสวัสดิ์" มาจากอำเภอศรีสวัสดิ์เมื่อรวมกันแล้ว จึงเป็น "ศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์" ชื่อที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกมงคล

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์ กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 3-4. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (145 ง): 2928. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเอราวัณ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (145 ง): 2926–2927. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลในกองบังคับการตำรวจภูธร ๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (198 ง): 288–291. วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530
  16. "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 ณ มิถุนายน 2563". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.