ข้ามไปเนื้อหา

ตั๊กแตนตำข้าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตั๊กแตนตำข้าว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 145–0Ma ยุคครีเทเชียสตอนต้น–ปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
Arthropoda
ชั้น: แมลง
Insecta
อันดับใหญ่: Dictyoptera
Dictyoptera
อันดับ: Mantodea
ตั๊กแตนตำข้าว
Burmeister, 1838
วงศ์

ดูข้อความ

ชื่อพ้อง
  • Manteodea Burmeister, 1829
  • Mantearia
  • Mantoptera

ตั๊กแตนตำข้าว หรือ ตั๊กแตนต่อยมวย[1] (อังกฤษ: Mantis; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงม้า; ภาษาอีสาน: แมงพงม้า) เป็นอันดับของแมลงที่ประกอบไปด้วยแมลงมากกว่า 2,400 ชนิด 460 สกุล ใน 33 วงศ์ พบทั่วไปในภูมิอากาศเขตอบอุ่นและเขตร้อน ส่วนมากอยู่ในวงศ์ Mantidae

อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการ

[แก้]
ตั๊กแตนตำข้าวเขียวในสวนหลังบ้านที่ซิดนีย์ ค.ศ. 2020

มีตั๊กแตนตำข้าวมากกว่า 2,400 ชนิด ในประมาณ 430 สกุลเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับ[2] ส่วนใหญ่พบในแถบเขตร้อน แต่บางส่วนอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่น[3][4] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ของตั๊กแตนตำข้าวยังคงเป็นที่พิพาท โดยตั๊กแตนตำข้าวกับตั๊กแตนกิ่งไม้ (Phasmatodea) เคยอยู่ในอันดับ Orthoptera ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกันกับแมลงสาบ (ปัจจุบันอยู่ใน Blattodea) และจิ้งหรีดหิมะ (ice crawlers; ปัจจุบันอยู่ใน Grylloblattodea) Kristensen (1991) รวม Mantodea ในแมลงสาบและปลวกเข้ากับอันดับ Dictyoptera อันดับย่อย Mantodea[5][6] ชื่อ mantodea มาจากศัพท์ภาษากรีกโบราณว่า μάντις (mantis) หมายถึง "ผู้เผยพระวจนะ" กับ εἶδος (eidos) หมายถึง "รูปร่าง" หรือ "ประเภท" ชื่อถูกตั้งโดยนักกีฏวิทยาชาวเยอรมัน เฮอร์มันน์ บูร์ไมซเทอร์ ในปี ค.ศ. 1838[7][8]

หนึ่งในการจัดหมวดหมู่แบบแรกสุดที่จัดตั๊กแตนตำข้าวไปอยู่ในวงศ์ต่าง ๆ ได้รับการเสนอโดย Beier ใน ค.ศ. 1968 ซึ่งแบ่งเป็นแปดวงศ์[9] ภายหลังจัดหมวดหมู่ใหม่เป็น 15 วงศ์ตามแบบเสนอของ Ehrmann ใน ค.ศ. 2002[10] ใน ค.ศ. 1997 Klass ได้ศึกษาอวัยวะเพศผู้ส่วนนอกและตั้งสมมติฐานว่าวงศ์ Chaeteessidae กับ Metallyticidae มีความแตกต่างจากวงศ์อื่น ๆ ในยุคแรก[11] อย่างไรก็ตาม ตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ Mantidae กับ Thespidae ถือเป็นpolyphyletic (จากหลายสายพันธุ์)[12] ดังนั้น วงศ์ของตั๊กแตนตำข้าวที่ปรับปรุงล่าสุดใน ค.ศ. 2019 มี 29 วงศ์[13]

แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของวงศ์ตั๊กแตนตำข้าวแบบขยาย[14][13]
Mantodea

† สกุลที่สูญพันธุ์

Eumantodea
Chaeteessoidea

Chaeteessidae

Spinomantodea
Mantoidoidea

Mantoididae

Schizomantodea
Metallyticoidea

Metallyticidae

Artimantodea
Amerimantodea
Cernomantodea
Nanomantodea
Metamantodea
Gonypetoidea

Gonypetidae

Lobipedia
Epaphroditoidea
Mantimorpha
Haanioidea

Haaniidae

Heteromantodea
Eremiaphiloidea
Pareumantodea
Hoplocoryphoidea

Hoplocoryphidae

Calomantodea
Miomantoidea

Miomantidae

Promantidea
Galinthiadoidea

Galinthiadidae

Mantidea

ลักษณะ

[แก้]

ตั๊กแตนตำข้าว มีอกปล้องแรกยาว มีลักษณะท่าทีชอบยืนขยับตัวขึ้นลง ๆ คล้ายอาการยงโย้ยงหยก จึงได้รับชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า "ตั๊กแตนโยงโย่" หรือ "ตั๊กแตนยงโย้" เนื่องจากมีขาคู่หน้าที่พัฒนาให้กลายเป็นขาหนีบใช้สำหรับจับเหยื่อ เวลาเมื่อไม่ได้ใช้งาน มักจะยกขึ้นประกบกันอยู่ที่ด้านหน้าคล้ายท่ายกมือไหว้หรือการจรดมวย อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนหัวของตั๊กแตนตำข้าว สามารถหมุนคอได้เกือบรอบ 360 องศา จัดเป็นแมลงที่สามารถมองผ่านไหล่ของตัวเองไปด้านหลังได้ นอกจากนี้แล้วยังมีตาเดี่ยวอีกสามดวงตาอยู่ตรงกลางหน้าผากระหว่างตารวมทั้งสองข้าง ตาเดี่ยวทำหน้าที่รับแสงมากกว่ารับภาพเหมือนตารวม[15]

พฤติกรรม

[แก้]

ตั๊กแตนตำข้าวเป็นสัตว์ล่าเหยื่อเท่านั้น ดังนั้นมันจึงมักไม่กินเนื้อที่ไม่ได้ล่ามาด้วยตนเอง แต่ก็มีผู้เลี้ยงตั๊กแตนตำข้าวสามารถป้อนอาหารให้มันได้เป็นสัตว์เลี้ยง แมลงเป็นอาหารหลักของตั๊กแตนตำข้าว แต่ตั๊กแตนตำข้าวที่มีขนาดใหญ่สามารถกินสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็กกว่าได้ เช่น แมงป่อง, สัตว์เลื้อยคลาน, กบ, นก, งูขนาดเล็ก, ปลา แม้กระทั่งแมลงสาบ

ตั๊กแตนตำข้าวสามารถอำพรางตนให้เหมือนกับสิ่งแวดล้อมได้ โดยปกติแล้ว ตั๊กแตนตำข้าวตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก และเมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้ว ตั๊กแตนตำข้าวเป็นแมลงที่มีพฤติกรรมดุร้าย ก้าวร้าว ตัวเมียจะจับตัวผู้กินเป็นอาหารตามสัญชาตญาณ

ตั๊กแตนตำข้าวเป็นแมลงที่มีขั้นตอนการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือไม่มีระยะดักแด้ ตั๊กแตนตำข้าวเมื่อฟักออกจากไข่มีขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายมด แต่ละครั้งที่มีการลอกคราบขนาดและรูปร่างก็จะเปลี่ยนแปลงไปโดยปีกจะยาวขึ้น หลังการลอกคราบครั้งสุดท้าย 2-3 สัปดาห์ ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิด การผสมพันธุ์อาจใช้เวลานานเป็นวัน หรือแล้วแต่ความพอใจของตั๊กแตนตำข้าว หลังจากการผสมพันธุ์ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ตัวเมียจะเริ่มวางไข่เป็นกลุ่มอัดเรียงกันแน่นเป็นฝักซึ่งจะวางได้ติดต่อกันไปได้ 3-6 ฝัก ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 5-6 สัปดาห์ [15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ตั๊กแตนตำข้าว , ตั๊กแตนต่อยมวย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.
  2. Otte, Daniel; Spearman, Lauren. "Mantodea Species File Online". สืบค้นเมื่อ 17 July 2012.
  3. Hurd, I. E. (1999). "Ecology of Praying Mantids". ใน Prete, Fredrick R.; Wells, Harrington; Wells, Patrick H.; Hurd, Lawrence E. (บ.ก.). The Praying Mantids. Johns Hopkins University Press. pp. 43–49. ISBN 978-0-8018-6174-1.
  4. Hurd, I. E. (1999). "Mantid in Ecological Research". ใน Prete, Fredrick R.; Wells, Harrington; Wells, Patrick H.; Hurd, Lawrence E. (บ.ก.). The Praying Mantids. Johns Hopkins University Press. p. 231. ISBN 978-0-8018-6174-1.
  5. Costa, James (2006). The Other Insect Societies. Harvard University Press. pp. 135–136. ISBN 978-0-674-02163-1.
  6. Capinera, John L. (2008). Encyclopedia of Entomology. Vol. 4. Springer. pp. 3033–3037. ISBN 978-1-4020-6242-1.
  7. Essig, Edward Oliver (1947). College entomology. Macmillan Company. pp. 124, 900. OCLC 809878.
  8. Harper, Douglas. "mantis". Online Etymology Dictionary.
  9. Beier, M. (1968). "Ordnung Mantodea (Fangheuschrecken)". Handbuch der Zoologie. 4 (2): 3–12.
  10. Ehrmann, R. 2002. Mantodea: Gottesanbeterinnen der Welt. Natur und Tier, Münster.
  11. Klass, Klaus-Dieter (1997). The external male genitalia and phylogeny of Blattaria and Mantodea. Zoologisches Forschungsinstitut. ISBN 978-3-925382-45-1.
  12. Martill, David M.; Bechly, Günter; Loveridge, Robert F. (2007). The Crato Fossil Beds of Brazil: Window into an Ancient World. Cambridge University Press. pp. 236–238. ISBN 978-1-139-46776-6.
  13. 13.0 13.1 Schwarz CJ, Roy R (2019) The systematics of Mantodea revisited: an updated classification incorporating multiple data sources (Insecta: Dictyoptera) Annales de la Société entomologique de France (N.S.) International Journal of Entomology 55 [2]: 101–196.
  14. Grimaldi, David (28 July 2003). "A Revision of Cretaceous Mantises and Their Relationships, Including New Taxa (Insecta: Dictyoptera: Mantodea)". American Museum Novitates (3412): 1–47. doi:10.1206/0003-0082(2003)412<0001:AROCMA>2.0.CO;2. hdl:2246/2838.
  15. 15.0 15.1 พิสุทธิ์ เอกอำนวย, คู่มือคนรักแมลง 2 การเลี้ยงด้วง (มีนาคม พ.ศ. 2552) หน้า 250. 255 หน้า ISBN 978-974-660-832-9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mantodea ที่วิกิสปีชีส์
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Mantodea