ดัชชีนอร์ม็องดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดัชชีนอร์ม็องดี

Duché de Normandie
Ducatus Normanniae
ค.ศ. 911–1259/1469
ธงชาตินอร์ม็องดี
บน: ธง"พระสันตะปาปานอร์มัน" ("papal banner") ในพรมผนังบาเยอ
ล่าง: ธงประจําดัชชีนอร์ม็องดี
ตราแผ่นดินของนอร์ม็องดี
ตราแผ่นดิน
อาณาเขตของดัชชีนอร์ม็องดี
อาณาเขตของดัชชีนอร์ม็องดี
สถานะเมืองขึ้นของราชอาณาจักรฝรั่งเศส
เมืองหลวงรูอ็อง
ภาษาทั่วไปละติน
นอร์มันเก่า
ศาสนา
ศาสนานอร์ส
โรมันคาทอลิก
การปกครองราชาธิปไตย
ดยุกแห่งนอร์ม็องดี 
• ค.ศ.911 – ค.ศ. 927
รอลโล (องค์แรก)
• ค.ศ. 1035 – ค.ศ. 1087
วิลเลียมผู้พิชิต
• ค.ศ. 1144 – ค.ศ. 1150
เจฟฟรีย์ แพลนแทเจเนต
• ค.ศ. 1199– ค.ศ. 1216 (ค.ศ. 1204)
พระเจ้าจอห์น (องค์สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง
ค.ศ. 911
ค.ศ. 1066
• นอร์ม็องดีถูกยึดครองโดยอ็องฌู
ค.ศ. 1144
• นอร์ม็องดีถูกยึดครองโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส
ค.ศ. 1204
ค.ศ. 1259
• แหวนประจําตําแหน่งดยุกถูกทําลาย
ค.ศ. 1469
• บรรดาศักดิ์ดยุกถูกยกเลิก
ค.ศ. 1790
สกุลเงินดีนาร์ (รูอ็องเพ็นนี)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
 เกิร์นซีย์
 เจอร์ซีย์

ดัชชีนอร์ม็องดี (อังกฤษ: Duchy of Normandy) มีที่มามาจากการรุกรานของชนหลายชาติที่รวมทั้งชนเดนส์, ไฮเบอร์โน-นอร์ส, ไวกิงจากออร์กนีย์ และแองโกล-เดนส์ (จากบริเวณเดนลอว์) ในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ประมุขที่อาจจะเป็นอาณาจักรเคานต์ก่อตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาแซ็ง-แกลร์-ซูว์แร็ปต์ ในปี ค.ศ. 911 เมื่อพระเจ้าชาร์ลผู้เรียบง่าย ทรงยอมพระราชทานตำแหน่งให้แก่รอลโลผู้นำของไวกิงที่รู้จักกันในชื่อว่า “นอร์สเม็น” (Northmen) (หรือในภาษาละตินว่า “Normanni”)

เดิมดัชชีนอร์ม็องดีครอบคลุมบริเวณนอยส์เตรีย (Neustria) และบางส่วนของดินแดนเบรอตาญทางฝั่งทะเลทางตอนเหนือ และส่วนในของฝรั่งเศส ที่ในปัจจุบันแบ่งเป็นแผ่นดินฝรั่งเศสและหมู่เกาะแชนเนลที่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงเป็นดยุคแห่งนอร์ม็องดีองค์ปัจจุบัน[1][2]

เมื่อชนนอร์สมาตั้งถิ่นฐานในนอร์ม็องดี ก็ยอมรับภาษาแกลโล-โรมานซ์ของผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิม — เช่นเดียวกับการที่ผู้ปกครองนอร์มันในอังกฤษมายอมรับภาษาของผู้ที่ถูกปกครอง ในนอร์ม็องดีภาษาวิวัฒนาการมาเป็นภาษานอร์มัน ในอังกฤษวิวัฒนาการเป็นภาษาแองโกล-นอร์มัน และวรรณกรรมของดัชชีนอร์ม็องดีและอังกฤษในอาณาบริเวณการปกครองของนอร์มันเรียกกันว่าวรรณกรรมแองโกล-นอร์มัน.

อ้างอิง[แก้]

  1. "Royal Insight October 2003". The official website of the British Monarchy. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23.
  2. "Royal Insight January 2007". The official website of the British Monarchy. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23.

ดูเพิ่ม[แก้]