ช่องคลอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช่องคลอด
แผนภาพช่องสืบพันธุ์และรังไข่ของมนุษย์เพศหญิง
รายละเอียด
คัพภกรรมurogenital sinus และ paramesonephric ducts
หลอดเลือดแดงsuperior part to uterine artery, middle and inferior parts to vaginal artery
หลอดเลือดดำuterovaginal venous plexus, vaginal vein
ประสาทSympathetic: lumbar splanchnic plexus
Parasympathetic: pelvic splanchnic plexus
น้ำเหลืองupper part to internal iliac lymph nodes, lower part to superficial inguinal lymph nodes
ตัวระบุ
ภาษาละตินVagina
MeSHD014621
TA98A09.1.04.001
TA23523
FMA19949
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ช่องคลอด (อังกฤษ: Vagina) รากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง สิ่งหุ้ม หรือ ฝัก

โดยทั่วไปในภาษาปาก คำว่า "ช่องคลอด" มักใช้เรียกแทน "ช่องสังวาส" หรือ "อวัยวะเพศหญิง" หรือ "แคม" ในภาษาทางการ "ช่องคลอด" หมายถึง โครงสร้างภายใน ส่วน "ช่องสังวาส" และคำอื่น ๆ หมายถึง "อวัยวะเพศหญิงภายนอก" เท่านั้น ในภาษาสแลง มีคำหยาบและคำต้องห้ามหลายคำใช้เรียกแทน ช่องคลอด หรือ ช่องสังวาส ในภาษาไทย เช่น หี, หอย ฯลฯ หรือในภาษาอังกฤษ เช่น cunt, pussy ฯลฯ

กายวิภาคและสรีระ[แก้]

ช่องคลอด เป็นช่องกลวง ต่อจาก ปากมดลูก (ซึ่งเป็นอวัยวะในอุ้งเชิงกราน) เปิดออกสู่ภายนอก ที่ปากเปิดช่องคลอด ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศเมีย

มีหน้าที่เป็น ช่องทางที่ใช้ร่วมเพศ และเป็น ช่องทางคลอดทารก และระบายรก

เปรียบได้กับ ช่องวางไข่ (en:cloaca) ใน นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วางไข่ (en:monotreme) ในแมลง และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ก็มีช่องคลอดเช่นกัน โดยเป็นส่วนปลายจาก ท่อนำไข่ (oviduct)

ช่องคลอดของมนุษย์ มีความยาว ความกว้าง และรูปร่าง ที่หลากหลาย ถ้ายืนตรง จะดิ่งเอียงขึ้นด้านหลัง ทำมุม 45 องศา ในชาวตะวันตก มีความยาวและขนาดปกติเฉลี่ยสั้นหรือยาวกว่าค่าเฉลี่ยขององคชาติเล็กน้อย คือ ยาวประมาณ 4 นิ้ว หรือ 100 มม. และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว (25 มม.) ซึ่งแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน แต่ละเชื้อชาติ (ค่าเฉลี่ยของผู้หญิงไทยน้อยกว่าเล็กน้อย) กระนั้นก็สามารถยืดหยุ่นเพื่อรองรับขนาดขององคชาติที่ใหญ่กว่าได้ ขณะที่ผู้หญิงให้กำเนิดบุตรหรือมีเพศสัมพันธ์ สามารถขยายได้ถึง 2-3 เท่า

ปากช่องคลอด อยู่ที่ส่วนท้าย (ส่วนล่าง) ของ ช่องสังวาส คือถัดลงไปจาก ปากท่อปัสสาวะ ผนังด้านในของช่องคลอด มักเป็นสีชมพู (เช่นเดียวกับเยื่อกล้ามเนื้อภายในอื่นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) มีลักษณะเป็นลอนคล้ายลูกคลื่น ยืดหยุ่นได้

ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin's glands) 1 คู่ ที่อยู่ใกล้คอของช่องคลอด ขับน้ำเมือกออกมาหล่อลื่นซึมไปทั่วทั้ง ผนังช่องคลอด (ซึ่งไม่มีต่อมใดอยู่) เพื่อหล่อลื่นให้ชุ่มชื่น และฆ่าเชื้อ

เยื่อพรหมจรรย์ (hymen)

เยื่อพรหมจรรย์ (hymen) เป็นเยื่อบาง ๆ หลังปากท่อปัสสาวะ ที่ลงมาปิดช่องคลอดบางส่วน พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด รวมถึงมนุษย์เพศหญิง ซึ่งมีมาแต่กำเนิด จนกว่าจะฉีกขาด โดยการมีเพศสัมพันธ์ หรือล่วงล้ำโดยวัตถุแปลกปลอม หรือกิจกรรมที่ได้รับการกระทบกระเทือน เช่น การขี่ม้า ขี่จักรยาน เล่นยิมนาสติก ฯลฯ หรือการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม สังเกตว่าการมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่สาเหตุของการฉีกขาดเสมอไป กล่าวคือ ไม่จริงที่ว่า ผู้หญิงต้องมีเยื่อพรหมจรรย์บริบูรณ์ จึงต้องถือว่าเป็นพรหมจรรย์

ที่ปากช่องคลอดมี ปุ่มกระสัน คือติ่งเนื้อขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว อยู่เหนือแคมเล็ก โดยมี กลีบปิดปุ่มกระสัน ที่อยู่บนแคมใหญ่ปิดอยู่อีกชั้นหนึ่ง ปุ่มกระสัน เปรียบได้กับ องคชาต ของเพศชาย กล่าวคือเป็นจุดที่ไวต่อการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

การทำงาน[แก้]

ในมุมมองทางชีววิทยา ช่องคลอดมีบทบาทที่เกี่ยวข้องดังนี้:

  • การมีประจำเดือน
  • กิจกรรมทางเพศ
  • การให้กำเนิด

ประจำเดือน[แก้]

ช่องคลอดเป็นทางผ่านให้ เลือดประจำเดือน ไหลออกจากร่างกาย ในสังคมสมัยใหม่มี ผ้าอนามัยชนิดสอด, ถ้วยประจำเดือน และผ้าอนามัย ใช้สำหรับซับหรือเก็บ

กิจกรรมทางเพศ[แก้]

จุดร่วมของปลายประสาท วางตัวใกล้ปากของช่องคลอด เป็นจุดสัมผัสที่สร้างความรู้สึกพอใจระหว่างกิจกรรมทางเพศ เมื่อถูกกระตุ้นในวิธีที่ถูก มีโอกาสถึงจุดสุดยอดในการสำเร็จความใคร่ รวมถึงการสอดใส่ขององคชาติอย่างนุ่มนวลถูกวิธี ระหว่างการร่วมเพศ แรงกด, ความอบอุ่นและการเสียดสีจากช่องคลอดบนองคชาติทำให้ตื่นเต้น เป็นผลให้สำเร็จความใคร่ และเกิดการหลั่ง ซึ่งนำไปสู่ การปฏิสนธิ และตั้งครรภ์

อีกบริเวณที่ไวต่อสัมผัสทางเพศ เรียกว่า "จี-สปอต" อยู่ภายในช่องคลอด บริเวณตอนบน ลึกเข้าไปประมาณ 5 ซม. ผู้หญิงส่วนรายที่สามารถสำเร็จความใคร่ได้ หากกระตุ้นเฉพาะ จี-สปอต

การให้กำเนิด[แก้]

ระหว่างให้กำเนิดบุตร ช่องคลอดเป็นเส้นทางคลอดทารกจากในมดลูกสู่ชีวิตเสรีภาพภายนอกร่างกายมารดา ระหว่างนั้น ช่องคลอดมักถูกเรียกว่า ช่องกำเนิด (birth canal)

สุขภาพ[แก้]

ช่องคลอดเป็นอวัยวะที่สามารถทำความสะอาดตัวเอง ไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาอย่างพิถีพิถันเจาะจง เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในบ่อยเกินไป อาจเป็นการฆ่าเชื้อขั้นพื้นฐานโดยธรรมชาติ แพทย์ห้ามฉีดน้ำเข้าไป เพราะทำให้สมดุลภายในช่องคลอดเสียไป และอาจเร่งให้เกิดติดเชื้ออักเสบในอุ้งเชิงกราน ถ้ามีความผิดปกติ ควรพบสูตินรีแพทย์ กรณีหากจำเป็นต้องตรวจภายใน แพทย์มักใช้เครื่องมือที่เรียกว่า สเปกคูลัม (speculum) เปิดสำรวจภายใน และเก็บตัวอย่างสะเก็ดผิวไปตรวจ

มีโรคที่เกี่ยวกับช่องคลอดมากมาย รวมถึง มะเร็งในช่องคลอด และการติดเชื้อยีสต์

อ้างอิง[แก้]

บทความที่เกี่ยวข้อง[แก้]

กายวิภาคศาสตร์