ชุมชนบ้านตลาดคลองปาง

พิกัด: 8°00′14″N 99°38′31″E / 8.004°N 99.642°E / 8.004; 99.642
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่เดินดินชุมชนตลาดคลองปาง

ชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านตลาดคลองปาง ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดตรังไปทางทิศเหนือประมาณ 60 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2.78 ตารางกิโลเมตร ตามประวัติหมู่บ้านคลองปางเดิมมีชื่อเรียกว่า "กะปาง" ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ 2 ตำบล คือ ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ต่อมามีการสร้างสถานีรถไฟกะปางขึ้น ชาวบ้านเริ่มสับสนในการเรียกชื่อบ้าน และเห็นว่าบริเวณนั้นมีลำคลองที่ไหลมาจาก เทือกเขาบรรทัด และใช้เป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดตรัง กับ จังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวบ้านจึงคิดตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า "คลองปาง" ขณะนั้นนายเฉลิม ตักศิริกุล ดำรงตำแหน่งกำนัน (กำนันคนแรกของตำบลคลองปางคือ นายคล้าย พลสิน) โดย คำว่า “ปาง” มาจาก “กะปาง” ซึ่งเป็นชื่อเก่าของหมู่บ้าน ส่วน “คลอง” มาจากคลองเขตแดนของของสองจังหวัดเพื่อที่จะได้ชื่อคล้าย ๆ กับชื่อเก่าของหมู่บ้าน หลังจากนั้นได้มีการยกฐานะ ชุมชนคลองปาง ขึ้นเป็น สุขาภิบาลในปี พ.ศ. 2525 (ขณะ นายคล่อง เทพส่ง ดำรงตำแหน่งกำนัน) หลังจากนั้นอีก 11 ปี 6 เดือน (ปี พ.ศ. 2542) ได้มีการยกฐานะเป็นเทศบาล โดยมีนายกเทศมนตรีคนแรก คือ นายวันชัย ประเสริฐศิลป์

อาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลาดเทไปทางทิศตะวันตก มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือ คลองห้วยเนียง และคลองปาง ทั้งสองสายเป็นแหล่งน้ำสำคัญในการรองรับน้ำระบายไหลลงสู่แม่น้ำตรัง นอกจากนี้ยังมีสายห้วยเล็ก ๆ อีกจำนวน 3 สาย คือ ห้วยคลองโกง ห้วยเนียง ห้วยกะปาง

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

มี 2 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน ประมาณ กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม
  • ฤดูฝน ประมาณ มิถุนายน – มกราคม

การคมนาคม[แก้]

  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ถนนเพชรเกษมเกษมเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างอำเภอทุ่งสง อำเภอรัษฏา อำเภอห้วยยอด และอำเภอเมือง จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่
  2. ถนนเทศบาลรัษฏา เป็นถนนสายรองแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างอำเภอรัษฏา กับอำเภอห้วยยอด
  3. ถนนภายในหมู่บ้าน 21 สาย สำหรับการคมนาคมระหว่างเทศบาลตำบลคลองปางกับตำบลใกล้เคียง
  4. การคมนาคมทางรถไฟโดยมีสถานีหยุดรถเยื้องกับเทศบาล

อ้างอิง[แก้]

  • ค่ำคูณ พิมพลีชัย และคณะ การพัฒนาสาธารณสุขแบบมีส่วนร่วม บ้านตลาดคลองปาง เอกสารเชิงวิชาการประกอบการศึกษาการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามร่วม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง 2549

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

8°00′14″N 99°38′31″E / 8.004°N 99.642°E / 8.004; 99.642