ชินวรณ์ บุณยเกียรติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
ชินวรณ์ ใน พ.ศ. 2554
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ถัดไปวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 ธันวาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
(2525–ปัจจุบัน)
คู่สมรสจิรารัตน์ บุญยเกียรติ
ลายมือชื่อ

ชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[1] อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 9 สมัย มีผลงานทั้งด้านการเมือง และนิติบัญญัติมากมาย

ประวัติ[แก้]

นายชินวรณ์ เกิดวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2499 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์การปกครอง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี พ.ศ. 2525 และระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยทักษิณ

การทำงาน[แก้]

นายชินวรณ์ เข้าสู่การเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 9 สมัย (พ.ศ. 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554 และ 2562) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำหน่งสำคัญในการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ เลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการเยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2538, 2546 และ 2547 รองประธานคณะกรรมาธิการการติดตามการบริหารงบประมาณปี พ.ศ. 2539, 2544-2547

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเหรัญญิกพรรค[2][3]

ผลงานทางด้านการเมือง[แก้]

ในการทำงานด้านการเมือง นายชินวรณ์ ได้ทำหน้าที่ต่างๆ เช่น

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557[แก้]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายชินวรณ์ได้เข้าร่วมกับการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ถือเป็นแนวร่วมคนสำคัญคนหนึ่ง โดยเป็นผู้รับผิดชอบเวทีชุมนุมที่สวนลุมพินี และแยกศาลาแดง ร่วมกับนายวิทยา แก้วภราดัย แกนนำกปปส.ด้วย[4]

และหลังเหตุการณ์นี้ นายชินวรณ์ก็ได้เข้าอุปสมบทที่วัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เหมือนกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่น ๆ[5]

เกียรติประวัติ[แก้]

นายชินวรณ์ บุยเกียรติ เคยได้รับรางวัล และมีผลงานดีเด่นในด้านต่างๆ เช่น

  • นักเรียนดีเด่น พ.ศ. 2515 สอบได้ที่ 1 ได้รับเกียรติบัตรสภานักเรียน
  • นักศึกษาดีเด่น พ.ศ. 2517 ได้รับเกียรติบัตรนักศึกษากิจกรรมดีเด่น
  • ครูผู้สอนดีเด่น พ.ศ. 2521 (ครูหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2521)
  • ผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น พ.ศ. 2523 ของ สปช.
  • เหรียญทองสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2531
  • เครื่องหมาย "รักษาดินแดนยิ่งชีพ" กระทรวงมหาดไทย 2540
  • รับพระราชทานเหรียญทองคำผู้สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2540
  • เครื่องหมาย "เกษตราธิปัตย์" กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2543
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยทักษิณ ปี 2546 จาก ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ
  • รางวัลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นปี 2546,2547 จาก นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  2. "ชินวรณ์"นั่งเหรัญญิก ปชป. -"ชวนนท์"เกือบวืดตำแหน่งโฆษกพรรค[ลิงก์เสีย]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  4. "'ชินวรณ์' ลั่น ปักหลักชัตดาวน์ จนกว่าจะชนะ". ไทยรัฐออนไลน์. 13 Jan 2015. สืบค้นเมื่อ 19 Apr 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "วรงค์,ชินวรณ์,เชน 3 ปชป. บวชวัดสวนโมกข์สุราษฎร์". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. 31 Jan 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 Apr 2015.
  6. ราชกิขจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ถัดไป
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(15 มกราคม พ.ศ. 2553 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล