ชะเอมไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชะเอมไทย
ต้นชะเอมไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Albizia
สปีชีส์: A.  myriophylla
ชื่อทวินาม
Albizia myriophylla, Benth
ใบชะเอมไทย

ชะเอมไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla Benth อยู่ในวงศ์ Mimosoideae เป็นไม้ยืนต้นมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร มีชื่อเรียกทั่วไป อ้อยช้าง ชะเอมป่า(กลาง) ส้มป่อยหวาน(ภาคเหนือ) ตาลอ้อย(ตราด) เซาะซูโพ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ชะเอมไทยจะแตกต่างจากชะเอมเทศ

ชะเอมไทยเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ มีหนาม ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบเล็กละเอียดเป็นฝอย คล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน โคนใบโป่งออก ดอกช่อออกตามปลายกิ่งลักษณะเป็นพู่ สีขาวหอม ก้านช่อดอกยาว เกสรตัวผู้สีขาว มีจำนวนมาก ผลเป็นฝัก เมื่ออ่อนมีสีเขียว แก่แล้วเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลแบน นูนตรงที่มีเมล็ดอยู่มักพบขึ้นอยู่ตามเชิงเขา ดงป่าไม้ หรือป่าเบญจพรรณ พบมากในทางภาคตะวันออกของไทย ปลูกได้โดยการตอนกิ่งหรือเพาะเมล็ด

สรรพคุณ[แก้]

รากแก้กระหายน้ำ ยาระบาย [1]มีรสหวาน ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน โรคในลำคอ แก้ลม ดอกช่วยย่อยอาหาร ผลขับเสมหะ ใบ ขับเลือดให้ตก เนื้อไม้รสหวาน แก้โรคในลำคอ แก้ลม เลือดออกตามไรฟัน บำรุงกำลัง[2]

อ้างอิง[แก้]

  • [1] สรรพคุณสมุนไพร.สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี

  • [2][ลิงก์เสีย] อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุขชาติ.มหาวิทยาลัยมหิดล
  • [3] มหัศจรรย์สมุนไพรไทย
  • [4] คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  1. เนื้อไม้
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 1 น้ำกระสายยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556. หน้า 32

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ชะเอมไทย ที่วิกิสปีชีส์