จังหวัดภูเก็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดภูเก็ต
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phuket
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง : วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง), พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี, แหลมพรหมเทพ, พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ เมืองเก่าภูเก็ต, พระอาทิตย์ตกที่หาดป่าตอง
คำขวัญ: 
ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง
สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดภูเก็ตเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดภูเก็ตเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดภูเก็ตเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายโสภณ สุวรรณรัตน์[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด543.034 ตร.กม. (209.667 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 76
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)[3]
 • ทั้งหมด418,785 คน
 • อันดับอันดับที่ 62
 • ความหนาแน่น771.20 คน/ตร.กม. (1,997.4 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 5
รหัส ISO 3166TH-83
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองถลาง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ประดู่บ้าน
 • ดอกไม้เฟื่องฟ้า
 • สัตว์น้ำหอยมุกจาน
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดภูเก็ต ถนนท่าแครง ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
 • โทรศัพท์0 7635 4875
 • โทรสาร0 7622 2886
เว็บไซต์http://www.phuket.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภูเก็ต (เดิมสะกดว่า ภูเก็จ) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงา ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ

คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต[4] (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

ประวัติ[แก้]

เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นี้เอง[ต้องการอ้างอิง]

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
รายชื่อเจ้าเมืองถลาง[5]
1 พระยาถลาง ซาร์บอนโน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
2 พระยาถลาง บิลลี สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
3 พระยาถลางจอมสุรินทร์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา
4 พระยาถลาง คางเซ้ง สมัยสมเด็จพระเพทราชา-สมเด็จพระเจ้าเสือ
5 พระยาถลางจอมเฒ่า สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
6 พระยาถลางจอมร้าง สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ
7 พระยาถลางอาด
8 พระยาถลางชู 2312-2314
9 พระยาสุรินทราชา (พิมลขัน) 2314-2325
10 พระยาถลาง (ขัน) 2335-2328
11 พระยาถลาง ทองพูน 2328-2332
12 พระยาถลาง เทียน 2332-2352
13 พระยาถลาง บุญคง 2352-2360
14 พระยาถลาง เจิม 2360-2370
15 พระยาถลาง ทอง 2370-2380
16 พระยาถลาง ฤกษ์ 2380-2391
17 พระยาถลาง ทับ 2391-2405
18 พระยาถลาง คิน 2405-2412
19 พระยาถลาง เกด 2412-2433
20 พระยาถลาง หนู 2433-2437
รายชื่อเจ้าเมืองภูเก็ต[5]
1 เจ้าภูเก็ต เทียน 2312-2332
2 หลวงภูเก็ต ช้างคด 2332-ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
3 พระภูเก็ต นายศรีชายนายเวร ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
4 หลวงปลัด อุด ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
5 พระภูเก็ต แก้ว 2370-2405
6 พระภูเก็ต (ทัด รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) 2405-2412
7 พระยาภูเก็ต ลำดวน 2412-2433
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
1 พระยาวิสูตรสาครดิฐ (สาย โชติกะเสถียร) ก่อน พ.ศ. 2450
2 พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค) ก่อน พ.ศ. 2450
3 พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์) ก่อน พ.ศ. 2450
4 พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (อรุณ อมาตยกุล) ก่อน พ.ศ. 2450
5 หม่อมเจ้าประดิพัทธเกษมศรี พ.ศ. 2450–2458
6 พระยาทวีปธุระประศาสตร์ (ชุบ โอสถานนท์) พ.ศ. 2458–2461
7 พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิชูโต) พ.ศ. 2461–2465
8 พระยานครราชเสนี (สหัส สิงหเสนี) พ.ศ. 2465–2471
9 พระศรีสุทัศน์ (ม.ล.อนุจิตร สุทัศน์) พ.ศ. 2471–2472
10 พระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (ทนง บุนนาค) พ.ศ. 2472–2476
11 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พ.ศ. 2476–2476
12 พระยาสุริยเดชรณชิต พ.ศ. 2476–2478
13 พระยาศิริชัยบุรินทร์ (เบี๋ยน) พ.ศ. 2478–2479
14 พระยาอุดรธานีศรีโชมสาครเชตร พ.ศ. 2479–2480
15 หลวงเธียรประสิทธิสาร (ร.อ.มงคล เธียรประสิทธิ์) พ.ศ. 2480–2486
16 หลวงอังคณานุรักษ์ (ร.อ.ถวิล เทพาคำ) พ.ศ. 2486–2489
17 ขุนภักดีดำรงค์ฤทธิ์ (.....เกษีพันธ์) พ.ศ. 2489–2492
18 นายอุดม บุณยประสพ พ.ศ. 2492–2494
19 นายมาลัย หุวะนันทน์ พ.ศ. 2494–2495
20 ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) พ.ศ. 2495–2497
21 นายมงคล สุภาพงษ์ พ.ศ. 2497–2500
22 นายเฉลิม ยูปานนท์ พ.ศ. 2500–2501
23 ขุนวรคุตต์คณารักษ์ พ.ศ. 2501–2501
24 นายอ้วน สุระกุล พ.ศ. 2501–2511
25 นายกำจัด ผาติสุวัณณ พ.ศ. 2511–2512
26 นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ พ.ศ. 2512–2518
27 นายศรีพงศ์ สระวาลี พ.ศ. 2518–2521
28 นายเสน่ห์ วัฑฒนาธร พ.ศ. 2521–2523
29 นายมานิต วัลยะเพ็ขร์ พ.ศ. 2523–2528
30 นายสนอง รอดโพธิ์ทอง พ.ศ. 2528–2529
31 นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2529–2530
32 นายเฉลิม พรหมเลิศ พ.ศ. 2530–2534
33 นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี พ.ศ. 2534–2536
34 นายสุดจิต นิมิตกุล พ.ศ. 2536–2539
35 นายจำนง เฉลิมฉ้ตร พ.ศ. 2539–2541
36 นายเจด็จ อินสว่าง พ.ศ. 2541–2542
37 นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์ พ.ศ. 2542–2543
38 นายพงศ์โพยม วาศภูติ พ.ศ. 2543–2546
39 นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร พ.ศ. 2546–2549
40 นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร พ.ศ. 2549–2551
41 นายปรีชา เรืองจันทร์ พ.ศ. 2551–2552
42 นายวิชัย ไพรสงบ พ.ศ. 2552–2553
43 นายตรี อัครเดชา พ.ศ. 2553–2555
44 นายไมตรี อินทุสุต พ.ศ. 2555–2557
45 นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ พ.ศ. 2557–2558
46 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา พ.ศ. 2558–2559
47 นายโชคชัย เดชอมรธัญ พ.ศ. 2559–2560
48 นายนรภัทร ปลอดทอง พ.ศ. 2560–2561
49 นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ พ.ศ. 2561–2563
50 นายณรงค์ วุ่นซิ้ว พ.ศ. 2563–2566
51 นายโสภณ สุวรรณรัตน์ พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

แผนที่อำเภอในจังหวัดภูเก็ต

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 104 หมู่บ้าน

ชั้น หมายเลข อำเภอ ประชากร
(พ.ศ. 2561)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
รหัสไปรษณีย์ ระยะทางจาก
อำเภอเมืองภูเก็ต
พิเศษ 1 อำเภอเมืองภูเก็ต 247,115 224.0 1,103.19 83000, 83100, 83130 -
1 3 อำเภอถลาง 104,496 252.0 414.67 83110 23
1 2 อำเภอกะทู้ 58,600 67.09 873.45 83120, 83150 9
รวม 402,017 543.034 740.31

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

เทศบาลนคร
เทศบาลเมือง
เทศบาลตำบล
  • เทศบาลตำบลราไวย์
  • เทศบาลตำบลรัษฏา
  • เทศบาลตำบลวิชิต
  • เทศบาลตำบลฉลอง
  • เทศบาลตำบลกะรน
  • เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  • เทศบาลตำบลศรีสนุทร
  • เทศบาลตำบลป่าคลอก
  • เทศบาลตำบลเชิงทะเล

ประชากร[แก้]

ศาสนาในภูเก็ต (พ.ศ. 2560)[6]
ศาสนา ร้อยละ
พุทธ
  
68.61%
อิสลาม
  
26.65%
คริสต์
  
0.98%
อื่น ๆ
  
3.76%

ชาวเลเป็นกลุ่มชนกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวเปอรานากัน ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"

ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน

จากการสำรวจใน พ.ศ. 2553 พบว่าประชากรในจังหวัดภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73 ศาสนาอิสลามร้อยละ 25 ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2[7] ส่วนการสำรวจใน พ.ศ. 2557 พบว่านับถือศาสนาพุทธร้อยละ 71.06 ศาสนาอิสลามร้อยละ 27.60 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.01 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.33[8] และการสำรวจใน พ.ศ. 2560 พบว่านับถือศาสนาพุทธร้อยละ 68.61 ศาสนาอิสลามร้อยละ 26.65 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.98 นอกนั้นนับถือศาสนาอื่น[6]

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เป็นศาลากลางที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทั้งยังเป็นโบราณสถานที่ยังใช้การอยู่จนกระทั่งปัจจุบันอีกด้วย
  • วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม) พ.ศ. 2419 ศิษย์พ่อท่านแช่มต่อสู้กับอั้งยี่
  • วัดพระนางสร้าง มีลายแทง "พิกุลสองสารภีดีสมอแดงจำปาจำปีตะแคง..." พระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ที่สุด ตำนานพระนางเลือดขาว
  • อนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509
  • เกาะสิเหร่ มีชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ย (ชาวไทยใหม่) รองเง็งคณะแม่จิ้ว ประโมงกิจ เป็นแม่เพลงอันดามัน หรือราชินีรองเง็งแห่งอันดามัน มีพระพุทธไสยาสน์ บนยอดเขา วัดบ้านเกาะสิเหร่ เกาะสิเหร่ แต่เดิมชาวอุรักลาโว้ย เรียกว่า "ปูเลา ซิเระห์" แปลว่า "เกาะพลู" ภายหลังจึงเพี้ยนไปเป็น "เกาะสิเหร่" ตามสำเนียงคนไทยเรียก
  • ศาลเจ้ากะทู้ (อ๊ามในทู) เป็นที่แรก ที่เริ่มประเพณีถือศิลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย)
  • ศาลเจ้าบางเหนียว ศาลเจ้าใกล้บริเวณท่าเรือที่ชาวต่างชาติรับส่งสินค้ามีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี
  • ศาลเจ้าแสงธรรม หรืออ๊ามเตงก่องต๋อง ศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของภูเก็ตมีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก เป็นศาลเจ้าประจำตระกูลตัน
  • ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ หรือฮกเล่งเก้ง เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโป๊เซ้งไต่เต่ องค์พระประธานของศาลเจ้า
  • ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง หรือ คนภูเก็ตเรียกว่า อ๊ามจุ๊ยตุ๋ย (เป็นศาลเจ้าที่มีคนร่วมงานประเพณีถือศิลกินผักมากที่สุดในจังหวัด)
  • วัดพระทอง
  • จุดชมวิวกะรน หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่าจุดชมวิวสามอ่าว เป็นจุดชมวิวบนเนินเขาซึ่งชื่อเล่นนั้นก็มาจากการที่สามารถมองเห็นอ่าว เห็นชายหาดได้ถึง 3 หาดจากจุดชมวิวนี้ทั้งหาดกะตะน้อย กะตะ และกะรน นอกจากนั้นยังสามารถมองเห็นน้ำทะเลไล่โทนสีอีกด้วย
  • จุดชมวิวเขารัง เขารังนั้นเป็นภูเขาเตี้ยๆ ภายในตัวจังหวัด ในอดีตนั้นเรียกว่าเขาหลัง เพราะเปรียบเสมือนหลังบ้านของจังหวัดภูเก็ต ด้านบนนั้นมีสวนสาธารณะให้ประชาชนได้ไปผ่อนคลาย ซึ่งจากด้านบนจะมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวตัวเมืองภูเก็ตและทะเลภูเก็ตได้ไกลๆ สวยงามมากทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนเลย
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง มีเทวประธานคือพระวิษณุ จดหมายเหตุท้าวเทพกระษัตรี หง่อก่ากี่ ชาวเล
  • ภูเก็ตแฟนตาซี ภูเก็ตแฟนตาซี ธีมปาร์ควัฒนธรรมไทยแห่งแรกของโลก ซึ่งมีหลายจุดน่าสนใจทั้งภูผาพิศวง จำลองเขาตะปูของอ่าวพังงา หมู่บ้านพรรษา ที่มีสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์หลายรูปแบบ มีการจัดแสดงชุดมหัศจรรย์กมลาที่เป็นการแสดงที่ใช้งบลงทุนทั้งในโชว์และในโรงละครวังไอยราสูงถึง 1,500 ล้านบาท
  • ย่านเมืองเก่าภูเก็ต (สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส) ถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนพังงา ถนนกระบี่ ถนนภูเก็ต ถนนรัษฎา ถนนระนอง ถนนเยาวราช ถนนเทพกระษัตรี ถนนสตูล ซอยรมณีย์ และตรอกสุ่นอุทิศ
  • พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เดิมใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ใน อังมอเหลามีเหมืองจำลองเหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมือง เรือขุด; โลหะดีบุก เพชรภูเก็จ เพชรพังงา แทนทาลัม วิถีชีวิตชาวกะทู้; ภายนอกมีรางเหมืองแร่ (เหมืองสูบ-ฉีด) ขนาดใหญ่ไว้สาธิตการได้แร่ดีบุกของนายหัวเหมือง
  • พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรีหรือพระใหญ่แห่งเมืองภูเก็ต พระใหญ่ประดิษฐานอยู่บนยอดเขานาคเกิด เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ สามารถสังเกตเห็นได้จากหลายจุดในภูเก็ต ผิวของพระพุทธรูปนั้นประดับด้วยหินอ่อนหยกขาวจากพม่า เป็นงานประณีตที่สวยงามมาก
  • แหลมพรหมเทพ แหลมพรหมเทพ แลนด์มาร์กของจังหวัดภูเก็ต เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่ว่ากันว่าสวยที่สุดในประเทศไทย แหลมพรหมเทพมีลักษณะเป็นแหลมโค้งทอดตัวลงสู่ทะเล สามารถเดินลงไปที่ปลายแหลมได้  เมื่อไปถึงตรงปลายแหลมจะสามารถมองเห็นวิวด้านซ้ายเป็นหาดในยะ ส่วนด้านขวาก็จะเป็นชายหาดในหานสวยงามมากทีเดียว นอกจากตัวแหลมแล้ว เพื่อนๆ ยังสามารถไปดูประภาคารกาญจนาภิเษก ซึ่งภายในจะมีนิทรรศการเกี่ยวกับการสร้างประภาคาร
  • สนามบินนานาชาติภูเก็ต อยู่ติดชายทะเลระหว่างหาดในยางและหาดไม้ขาว
  • อนุสรณ์สถานเมืองถลาง อยู่ในสมรภูมิเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง พื้นที่ ๙๖ ไร่ ก่อนการพัฒนาเป็นทุ่งนาหลวง มีคลองเสน่ห์โพไหลผ่านไปบรรจบกับคลองบางใหญ่ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาพระแทวไปออกทะเลที่อู่ตะเภา ทะเลพัง เคยเป็นที่จอดเรือรบของยี่หวุ่น แม่ทัพเรือพม่าเมื่อ พ.ศ. 2328
  • ฮ่ายเหลงอ๋อง พญามังกร ณ ลานเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา มหาราชินี (อยู่ติดกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูเก็ต)
  • หาดป่าตอง
  • คริสตจักรพระนิเวศภูเก็ต ศาสนสถานของคริสเตียนในตำบลฉลอง ตั้งอยู่เลขที่ 40/36 ซ.ทรงคุณ หมู่ 1 ตำบลฉลอง

ภาษาถิ่น[แก้]

ภาษาถิ่นของจังหวัดภูเก็ต เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ไม่เหมือนถิ่นอื่นในภาคใต้ โดยจะมีสำเนียงภาษาจีนฮกเกี้ยน และภาษามลายูปนอยู่มาก ดังนั้นภาษาถิ่นภูเก็ตจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พบได้เฉพาะ แถบภูเก็ตและพังงา เท่านั้น

ในอดีตนั้นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตนั้น ส่วนใหญ่ล้วนเป็นชาวจีนอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน เมื่อเข้ามาอาศัยอยู่ในภูเก็ตแล้ว ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมายเข้ามาใช้ หนึ่งในนั้นก็คือ ภาษา ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาจีนฮกเกี้ยน ต่อมามีการค้าขายมากขึ้นต้องติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น ชาวจีนฮกเกี้ยนบางส่วนก็ไปมาหาสู่กับปีนัง มาเลเซียบ้าง มีการค้าขายแร่ดีบุกต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ภาษามลายูเริ่มเข้ามาผสมปนเข้าด้วยกันกับภาษาฮกเกี้ยน ทำให้เกิดเป็นภาษาที่ผสมสำเนียงเข้าด้วยกัน เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภูเก็ตและใกล้เคียง

ภาษาฮกเกี้ยนในภูเก็ตนั้น ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่เพียงแต่สำเนียงอาจจะเพี้ยนไปจากภาษาฮกเกี้ยนเดิมบ้าง เพื่อปรับให้เข้ากับการออกเสียงของคนภูเก็ต ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาฮกเกี้ยนที่ใช้กันในปีนัง มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เนื่องจากมีการปรับเสียงให้เข้ากับสัทอักษรการออกเสียงของคนภูเก็ต บางคำในภาษาฮกเกี้ยนจึงไม่เหมือนกันภาษาฮกเกี้ยนแท้ของจีน แต่ก็ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังพบว่าระบบไวยากรณ์ที่ใช้นั้น บ้างก็ยืมมากจากภาษาฮกเกี้ยนด้วย ภาษาภูเก็ตบ้างก็เรียก ภาษาบาบ๋า

การศึกษา[แก้]

โรงเรียน

ระดับอุดมศึกษา

เหตุการณ์และอุบัติเหตุ[แก้]

  • วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2527 เกิดเหตุไฟไหม้ บ้านเลขที่ 103 ถนนบางกอก อำเภอเมืองภูเก็ต มีผู้เสียชีวิตเป็นผู้หญิง 5 ราย ซึ่งภายหลังวันต่อมาทราบว่าผู้เสียชีวิตทั้งห้าราย มีอาชีพเป็นหญิงขายบริการทางเพศ
  • วันที่ 23-30 มิถุนายน พ.ศ. 2529 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลัง[9]เกิดเหตุจลาจลทั่วจังหวัดภูเก็ตเพื่อประท้วงคัดค้านโรงงานแทนทาลัมจนนำไปสู่การเผาโรงงานแทนทาลัม อันเป็นการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง
  • วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย และทำให้เกิดคลื่นสึนามิในเวลาต่อมา เกิดเหตุเวลา 07.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ด้านตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้เกิดความเสียหายบนเกาะสุมาตรา และภาคใต้ของประเทศไทย
  • วันที่ 16 กันยายน 2550 - เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินของสายการบิน วัน-ทู-โก แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ OG 269 ซึ่งเดินทางมาจากท่าอากาศยานดอนเมือง แต่เมื่อถึงท่าอากาศยานภูเก็ตแล้ว เครื่องบินเกิดการไถลออกนอกรันเวย์(ทางวิ่ง) ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 90 ราย บาดเจ็บ 41 ราย
  • วันที่ 10-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร[10]
  • วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เกิดเหตุเผาทำลายสถานีตำรวจภูธรถลางท่ามกลางการใช้ มาตรา 44 แทนกฎอัยการศึก[11]ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีผู้ต้องหาประมาณ 50 ราย ทั้งหมดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 44 และพรบ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558[12]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เกิดเหตุการณ์เรือล่ม 3 ลำ[13] โดยมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 47 ราย[14]

เมืองพี่เมืองน้อง[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียงของจังหวัด[แก้]

(รายชื่อบุคคลบันเทิงดังต่อไปนี้ ไม่ได้เรียงลำดับจากอายุงานทางด้านวงการบันเทิง)

ดูเพิ่ม[แก้]

หนังสือและบทความ[แก้]

  • ธีรวัต ณ ป้อมเพชร. (2550). ตามรอย (ว่าด้วย) ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ตในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (กรรณิกา จรรย์แสง, ผู้แปล). ใน ยงยุทธ ชูแว่น (บก.), คาบสมุทรไทยในราชอาณาจักรสยาม. น. 229–81. กรุงเทพฯ: นาคร.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). จากรัฐชายขอบถึงมณฑลเทศาภิบาล: ความเสื่อมสลายของกลุ่มอำนาจเดิมในเกาะภูเก็ต. ใน ยงยุทธ ชูแว่น (บก.), คาบสมุทรไทยในราชอาณาจักรสยาม. น. 283–347. กรุงเทพฯ: นาคร.

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 4 วันที่ 2 ตุลาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 15 มีนาคม 2565.
  4. กับแกล้มการเมือง, หน้า 14 เดลินิวส์ฉบับที่ 22,805: ประจำวันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555
  5. 5.0 5.1 ถนอม พูนวงศ์. (2556).  ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต. โอเดียนสโตร์.
  6. 6.0 6.1 "แผนยุทธศาสตร์ Phuket : City of Gastronomy พ.ศ. 2560-2564" (PDF). จังหวัดภูเก็ต. 2017. สืบค้นเมื่อ 30 July 2019.
  7. สภาพทั่วไปของจังหวัดภูเก็ต
  8. "ข้อมูลจังหวัดภูเก็ต เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย" (PDF). จังหวัดภูเก็ต. 31 December 2014. สืบค้นเมื่อ 30 July 2019.
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/A/106/3.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/097/74.PDF
  11. http://www.tnamcot.com/content/304452
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  13. https://www.bbc.com/thai/thailand-44734152
  14. https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1345505

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 7°53′N 98°23′E / 7.88°N 98.38°E / 7.88; 98.38