จอห์น โฮเวิร์ด นอร์ทรอป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น โฮเวิร์ด นอร์ทรอป
เกิด5 กรกฎาคม ค.ศ. 1891(1891-07-05)
ยองเกอส์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต27 พฤษภาคม ค.ศ. 1987(1987-05-27) (95 ปี)
วิกเคนเบิร์ก รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
มีชื่อเสียงจากการศึกษาเอนไซม์
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี
(ค.ศ. 1946)
เหรียญแดเนียล จิโรด์ เอลเลียต (ค.ศ. 1939)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
มหาวิทยาลัยร็อกเกอะเฟลเลอร์
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกฌัก โลบ

จอห์น โฮเวิร์ด นอร์ทรอป (อังกฤษ: John Howard Northrop; 5 กรกฎาคม ค.ศ. 189127 พฤษภาคม ค.ศ. 1987) เป็นนักชีวเคมีชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองยองเกอส์ เป็นบุตรของนักสัตววิทยา จอห์น ไอเซอาห์ นอร์ทรอปและนักพฤกษศาสตร์ อลิซ ริช นอร์ทรอป บิดาของนอร์ทรอปเสียชีวิตจากเหตุห้องปฏิบัติการระเบิดก่อนนอร์ทรอปเกิดได้สองสัปดาห์ นอร์ทรอปเรียนที่โรงเรียนไฮสกูลยองเกอส์และเรียนต่อด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นอร์ทรอปทำงานที่หน่วยการสงครามเคมี โดยช่วยผลิตแอซีโทนและเอทานอลจากวิธีการหมัก[1] ต่อมานอร์ทรอปทำงานที่สถาบันร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อการวิจัยทางการแพทย์ในนครนิวยอร์ก เขาทำงานอยู่ที่นี่จนกระทั่งเกษียณในปี ค.ศ. 1961

ในปี ค.ศ. 1929 นอร์ทรอปสกัดผลึกเอนไซม์เปปซินและจัดให้อยู่ในกลุ่มโปรตีน ต่อมาในปี ค.ศ. 1938 นอร์ทรอปสกัดผลึกแบคเทริโอเฟจ (ไวรัสที่เกาะแล้วแบ่งตัวภายในตัวแบคทีเรีย) และจัดให้อยู่ในกลุ่มนิวคลีโอโปรตีน หนึ่งปีต่อมา นอร์ทรอปได้รับเหรียญแดเนียล จิโรด์ เอลเลียตจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ[2] ในปี ค.ศ. 1946 นอร์ทรอปได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับเจมส์ บี. ซัมเนอร์และเวนเดล เมเรดิธ สแตนลีย์[3] สามปีต่อมา นอร์ทรอปได้รับเลือกให้เป็นภาคีสมาชิกสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์อเมริกัน[4] และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านวิทยาแบคทีเรียที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ภายหลังเขาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านชีวฟิสิกส์

ด้านชีวิตส่วนตัว นอร์ทรอปแต่งงานกับลูอิส วอล์กเกอร์ในปี ค.ศ. 1917 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน นอร์ทรอปกระทำอัตวินิบาตกรรมในปี ค.ศ. 1987[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. John H. Northrop - Biographical - Nobelprize.org
  2. "Daniel Giraud Elliot Medal". National Academy of Sciences. สืบค้นเมื่อ 16 February 2011.
  3. The Nobel Prize in Chemistry 1946 - Nobelprize.org
  4. "Book of Members, 1780-2010: Chapter N" (PDF). American Academy of Arts and Sciences. สืบค้นเมื่อ 15 April 2011.
  5. John H. Northrop - NNDB.com

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]