จอร์จ สมูท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอร์จ สมูท
จอร์จ สมูท
เกิด (1945-02-20) 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 (79 ปี)
 รัฐฟลอริดา  สหรัฐ
สัญชาติ สหรัฐ
ศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตต์
มีชื่อเสียงจากการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล
รางวัลเหรียญรางวัลอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (2003)
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (2006)
เหรียญรางวัล Oersted (2009)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานLawrence Berkeley National Laboratory
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกDavid H. Frisch[1]

จอร์จ ฟิตซ์เจอรัลด์ สมูท ที่ 3 (อังกฤษ: George Fitzgerald Smoot III; เกิดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945) เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์และนักจักรวาลวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ชนะรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐจากการแข่งขันรายการทางโทรทัศน์ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อปี ค.ศ. 2006 จากผลงานศึกษาโดยใช้ดาวเทียม COBE ร่วมกับ จอห์น ซี. เมเทอร์ โดยสามารถตรวจวัด "...รูปแบบของวัตถุดำและความไม่เหมือนกันทุกทิศทาง (Anisotropy) ของการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล" ได้เป็นครั้งแรก

ผลงานนี้ช่วยยืนยันเป็นหลักฐานแน่นหนาแก่ทฤษฎีบิกแบงโดยอาศัยดาวเทียมสำรวจไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (COBE) จากความเห็นของคณะกรรมการรางวัลโนเบล กล่าวว่า "โครงการ COBE อาจพิจารณาได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาจักรวาลวิทยาอย่างละเอียดแม่นยำ"[2] สมูทบริจาคเงินรางวัลส่วนที่ได้รับจากมูลนิธิรางวัลโนเบล (หักค่าเดินทางนิดหน่อย) ให้แก่องค์กรการกุศล[3]

เขาเป็นศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และได้รับเหรียญรางวัลไอน์สไตน์ เมื่อปี ค.ศ. 2003

อ้างอิง[แก้]

  1. Katherine Bourzac (12 January 2007). "Nobel Causes". Technology Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-29. สืบค้นเมื่อ 2007-09-05. And Smoot himself can still vividly recall playing a practical joke on his graduate thesis advisor, MIT physics professor David Frisch.
  2. "The Nobel Prize in Physics 2006" (.PDF) (Press release). The Royal Swedish Academy of Sciences. 3 October 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-10-05.
  3. "Berkeley Nobel laureates donate prize money to charity". Associated Press (via San Francisco Chronicle). 22 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]