จงรัก จุฑานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์

พลตำรวจเอก จงรัก จุฑานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นิตยสาร Cop's Magazine อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[1] และอดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 เป็นหลานปู่ของหลวงบำราบประทุษฐ (นิล จุฑานนท์) เป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ[แก้]

พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2493 ที่อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี[2] สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาจากโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมการศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4111 เป็นผู้ให้ความรู้ด้านกฎหมาย และการสอบสวนคนหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีบุตร2คน คือ พันตำรวจโท มงคลรักษ์ จุฑานนท์ และนายจุฑาเทพ จุฑานนท์

ชีวิตราชการส่วนใหญ่อยู่ในนครบาลมาโดยตลอด นับเป็นลูกหม้อขนานแท้ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดย พล.ต.อ.จงรัก ดำรงตำแหน่งสำคัญมาแล้วหลายตำแหน่ง เช่น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 จนเกษียณในตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[3]ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2551 ถึงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 ในรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช

ในกลางปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่าใครคือผู้ที่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 21.3 สนับสนุน พล.ต.อ.จงรัก[4]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแบบสรรหา[5]

การรับราชการ[แก้]

  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ปป.1)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 2 ตุลาคม พ.ศ. 2541 รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (หัวหน้ารับผิดชอบงานสอบสวน)
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2540 รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ผู้บังคับการกองบังคับการวิชาการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • 23 มกราคม พ.ศ. 2537 ผู้บังคับการกองคดี
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2533 รองผู้บังคับการกองคดี
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ผู้กำกับการกองคดี (ช่วยราชการที่สำนักงานอธิบดีกรมตำรวจด้วยในด้านกฎหมายและกำลังพล)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 รองผู้กำกับการ 1 กองปราบปราม
  • พ.ศ. 2526 สารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน
  • พ.ศ. 2523 สารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางรัก
  • พ.ศ. 2521 หัวหน้าแผนกกฎหมาย กองวิชาการ กรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2516 สารวัตรปกครองป้องกัน สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์

พล.ต.อ.จงรัก สมรสกับ นางอรอนงค์ จุฑานนท์ มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ ร.ต.ท.มงคลรักษ์ จุฑานนท์ และ นายจุฑาเทพ จุฑานนท์

ฉายานาม[แก้]

ได้รับฉายาว่า “นายพลองค์บาก” จากกรณีที่เชิญ นายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ (เสี่ยเจียง) และ จา พนม มาตกลงจับมือกันเพื่อถ่ายทำหนังเรื่ององค์บาก 2 ให้เสร็จสิ้นหลังขัดแย้งในกองถ่ายมานาน [6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
  2. ""ป่าล้อมบ้าน" บ้านแสนสุข... พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-20. สืบค้นเมื่อ 2009-05-04.
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/148/3.PDF
  4. พลตำรวจเอก จงรัก จุฑานนท์
  5. [https://web.archive.org/web/20160304115919/http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302613976&grpid=&catid=01&subcatid=0100 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "สมเจตน์-จงรัก" เข้ารายงานตัวในฐานะ ส.ว.สรรหา หลัง กกต.ประกาศรับรองรายชื่อแล้ว จากมติชน]
  6. เปิดฉายา'สีกากี'สตช.แพะการเมือง'จงรัก'คว้า'นายพลองค์บาก[ลิงก์เสีย]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕