งูกะปะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งูกะปะ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Viperidae
วงศ์ย่อย: Crotalinae
สกุล: Calloselasma
Cope, 1860
สปีชีส์: C.  rhodostoma
ชื่อทวินาม
Calloselasma rhodostoma
Kuhl, 1824
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้อง[1]
  • Tisiphone - Fitzinger, 1843
  • Leiolepis - AMC Duméril, 1853
  • Calloselasma - Cope, 1860[1]

  • [Trigonocephalus] rhodostoma - Kuhl, 1824
  • [Trigonocephalus] rhodostoma - F. Boie, 1827
  • [Trigonocephalus] praetextatus - Gravenhorst, 1832
  • Tisiphone rhodostoma - Fitzinger, 1843
  • L[eiolepis]. rhodostoma - AMC Duméril, 1853
  • [Calloselasma] rhodostomus - Cope, 1860
  • T[isiphone]. rhodostoma - Peters, 1862
  • T[rigonocephalus]. (Tisiphone) rhodostoma - Jan, 1863
  • Calloselasma rhodostoma - Günther, 1864
  • Calloselma rhodostoma - Morice, 1875
  • Ancistrodon rhodostoma - Boettger, 1892
  • Ancistrodon rhodostoma - Boulenger, 1896
  • Agkistrodon rhodostoma - Barbour, 1912
  • Ancistrodon (Calloselasma) rhodostoma - Bourret, 1927
  • Ancistrodon annamensis - Angel, 1933
  • [Agkistrodon] annamensis - Pope, 1935
  • Calloselasma rhodostoma - Campden-Main, 1970 [1]

งูกะปะ(Malayan pit viper) เป็นงูพิษที่มีพิษอันตรายต่อระบบเลือด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calloselasma rhodostoma จัดเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Calloselasma โดยไม่มีชนิดย่อย[2] ที่อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae)

ลักษณะ[แก้]

ลักษณะหัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ลำตัวอ้วน หางเรียวสั้น มีลายเป็นรูปเหมือนหลังคาบ้านอยู่ด้านข้างตลอดลำตัว มีสีเทาอมชมพูลายสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดมีขนาดใหญ่ จะงอยปากงอนขึ้นข้างบน หากินเวลาพลบค่ำและกลางคืน โดยเฉพาะในเวลาที่มีความชื้นในอากาศสูง เช่น หลังฝนตก ชอบอาศัยในดินปนทรายที่มีใบไม้หรือเศษซากไม้ทับถมกันเพื่อซ่อนตัว ด้วยสีสันและลวดลายจึงทำให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม เป็นงูที่ไม่ปราดเปรียว เวลาตกใจจะงอตัวหรือขดนิ่ง แต่ฉกกัดรวดเร็วมาก กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, นก หรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร ออกไข่ครั้งละ 10-50 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาด อายุ และความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ โดยทั่วไปจะวางไข่เพียง 11 หรือ 12 ฟองในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม[3] สามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูกาล ในตัวที่มีสีคล้ำเรียกว่า "งูปะบุก"[4]

สถานที่พบ[แก้]

พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีนไปจนถึงแหลมมลายู สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แต่จะพบมากที่สุดในภาคใต้ เป็นงูที่ปรับตัวให้อาศัยอยู่ในพื้น ๆ ที่มีการทำเกษตรกรรมได้ เช่น สวนยางพาราหรือสวนปาล์มน้ำมัน จึงมักจะมีผู้ถูกกัดอยู่บ่อย ๆ นับเป็นงูพิษที่มีอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุดที่พบในประเทศไทย ซึ่งพิษของงูกะปะนั้นมีผลต่อระบบเลือด ทำให้เลือดออกมากผิดปกติ เมื่อถูกกัดภายใน 10 นาทีหลังบริเวณรอบแผลที่ถูกกัดจะบวมขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง โดยในรอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลา บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพองตอนแรกมีน้ำใสต่อมาภายหลังมีเลือด ภายหลังถูกกัดไม่กี่วันรอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า ทำให้ผิวหนังมีเลือดออกเป็นรอยคล้ำ เลือดออกทางเดินอาหาร ผู้ที่โดนกัดจะเสียชีวิตได้จากความดันโลหิตต่ำ ซึ่งความดันโลหิตต่ำ เกิดจากการเสียเลือดนั่นเอง[5] โดยคำว่า "กะปะ" เป็นภาษาใต้ แปลว่า "ปากเหม็น" ซึ่งหมายถึง แผลของผู้ที่ถูกกัดจะเน่าเหม็น จัดเป็น 1 ใน 7 งูพิษที่มีความสำคัญต่อวงการแพทย์และพิษวิทยา[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  2. "Calloselasma". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. "งูกะปะ". 2snake2fish. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-04. สืบค้นเมื่อ 2011-01-12.
  4. "ความหมายของคำว่า กะปะ". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.
  5. "งูพิษ/งูกะปะ". siamhealth.
  6. จุดประกาย 7 26NOW Feature, กะปะ อสรพิษแห่งเมืองตรัง. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10539: วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

7. Facebook fanpage : งูไทย...อะไรก็ได้ all about Thailand snacks https://www.facebook.com/groups/VenomousAndOtherSnakesOfSiam/

.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Calloselasma rhodostoma ที่วิกิสปีชีส์