งานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างภาพโปสเตอร์หาเสียงของนานะ โอกาดะ สมาชิกวง AKB48 และ STU48 จากงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึประจำซิงเกิลที่ 49

งานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ หรือ เซ็มบัตสึโซเซ็งเกียว (ญี่ปุ่น: 選抜総選挙โรมาจิSenbatsu Sousenkyo) เป็นงานกิจกรรมประจำปีของเอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48)[1] ที่เปิดโอกาสให้แฟนคลับสามารถลงคะแนนสมาชิกที่ตนชื่นชอบให้เป็นเซ็มบัตสึของซิงเกิลได้ กิจกรรมนี้จัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2552 และได้จัดขึ้นอีกทุกปีเรื่อยมา[2]

แนวคิด[แก้]

กิจกรรมนี้เป็นการค้นหาสมาชิกวงที่ได้รับความนิยมจากมุมมองของแฟนคลับ ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ ปีในช่วงเดือนมิถุนายนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 การลงคะแนนสามารถทำได้ผ่านทางการซื้อแผ่นซีดีซิงเกิลที่บรรจุบัตรลงคะแนนไว้อยู่ สมาชิกที่ได้รับคะแนนอันดับต้นๆ จะได้มีส่วนร่วมกับเพลงในหน้าเอ (A-side) ส่วนสมาชิกที่เหลือจะได้ออกเพลงในหน้าบี (B-side) สมาชิกที่มีคะแนนสูงเป็น 7 อันดับแรกจะเรียกว่า "คามิเซเว่น" (神7 Kami 7) ซึ่งแปลว่า "เทพเจ้าทั้ง 7" [3][4]

เนื่องจากวงเอเคบีโฟร์ตีเอตมีสมาชิกจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้สมาชิกทุกคนมีเวลาออกอากาศเท่าๆ กัน ดังนั้นจึงมีการเลือกสมาชิกแถวหน้าจำนวน 10 ถึง 20 คน (ส่วนใหญ่ 16 คน) มาเป็นสมาชิกหลักที่เรียกว่า "เซ็มบัตสึ" (ญี่ปุ่น: 選抜โรมาจิsenbatsu; หรือ "สมาชิกที่ได้รับเลือก") ซึ่งก่อนที่จะมีงานเลือกตั้ง ยาซูชิ อากิโมโตะ โปรดิวเซอร์ของวงเป็นผู้เลือกเซ็มบัตสึด้วยตัวเองมาโดยตลอดแต่ภายหลังเริ่มมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากแฟนคลับถึงการตัดสินใจเลือกเซ็มบัตสึของอากิโมโตะ โดยตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการเลือกโดยมีอคติและความลำเอียง นอกจากนี้ ตำแหน่งเซ็นเตอร์ของวง (ผู้ที่ยืนอยู่ตรงกลาง) นั้นเป็นของอัตสึโกะ มาเอดะ มาโดยตลอด ทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่พอใจถึงการกระทำดังกล่าวและมองว่าไม่เป็นการเปิดโอกาสให้กับสมาชิกอื่น เหตุการณ์เหล่านี้จุดประกายความคิดของอากิโมโตะให้จัดงานเลือกตั้งขึ้นมา ในประเทศญี่ปุ่น เอเคบีโฟร์ตีเอตถือเป็นวงไอดอลกลุ่มแรกที่มีระบบการคัดสรรสมาชิกจากคะแนนโหวตอย่างเปิดเผย[5]

ในปี พ.ศ. 2561 เพื่อฉลอง 10 ปีงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ จึงมีการเพิ่มตำแหน่งคือ คิเน็นวากุ ซึ่งคือสมาชิกที่อยู่อันดับที่ 81 - 100 จะติดอันดับและได้มีส่วนร่วมในซิงเกิล รวมถึงเปิดโอกาสให้วงน้องสาวต่างประเทศอย่างบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตและทีพีอีโฟร์ตีเอต (เอเคบีโฟร์ตีเอต ทีมทีพี) มีส่วนร่วมในงานเลือกตั้งอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2562 ทางเอเคบีโฟร์ตีเอตได้ออกมาประกาศว่าในปี พ.ศ. 2562 จะไม่มีการจัดงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ

การหาเสียง[แก้]

การหาเสียงของงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึมีความคล้ายคลึงกับการเลือกตั้งทั่วไป สมาชิกที่เข้าร่วมงานแต่ละคนจะได้รับโปสเตอร์หาเสียงของตนเอง [6] และจะมีเวลาออกอากาศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการกล่าวปราศรัยหาเสียงทั่วประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาประมาณ 1 ถึง 2 นาที[7][8] นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถแต่งกาย ทำทรงผมหรือทำท่าทางใดๆ ให้เป็นที่น่าสนใจจากผู้ชมได้[9]

รายชื่อกิจกรรม[แก้]

ครั้งที่ ปี ชื่อกิจกรรม สถานที่ พิธีกร ผู้ชนะ ซิงเกิลประจำกิจกรรม อ้างอิง
ชื่อ วง คะแนน ลำดับ ชื่อ
1 2552 "คามิซามะนิชิกัตเตะกาจิเดส" อากาซากะบลิตซ์ ชิโนบุ คายาโนะ
โทโมโนบุ โทงาซากิ
อัตสึโกะ มาเอดะ AKB48 4,630 13 "Iiwake maybe"(อิวาเกะ เมย์บี) [10]
2 2553 "คาซังนิชิกัตเตะ, กาจิเดส" เจซีบีฮอลล์ คาซูโอะ โทกูมิตสึ
อายาโกะ คิซะ
ยูโกะ โอชิมะ 31,448 17 "Heavy Rotation" (เฮฟวีโรเทชัน) [11]
3 2554 "โคโตชิโมะกาจิเดส" สนามกีฬาต่อสู้ญี่ปุ่น อัตสึโกะ มาเอดะ 139,892 22 "Flying Get" (ฟลายอิงเก็ต) [12]
4 2555 "แฟนกะเอราบุ 64 กิเซกิ" ยูโกะ โอชิมะ 108,837 27 "Gingham Check" (กิงงัมเช็ก) [13]
5 2556 "ยูเมะวะฮิโตริจะมิราเรไน" โยโกยามะสเตเดียม ริโนะ ซาชิฮาระ HKT48 150,570 32 "Koisuru Fortune Cookie" (โคอิซูรุฟอร์จูนคุกกี้) [14]
6 2557 "ไรวอลล์วะโดโกดะ?" โตเกียวสเตเดียม มายุ วาตานาเบะ AKB48 159,854 37 "Kokoro no Placard" (โคโคโระโนะพลาคาร์ด) [15]
7 2558 "จูนอิโยโซฟูกาโน, โออาเระโนะอิจิยะ" ฟูกูโอกะโดม ริโนะ ซาชิฮาระ HKT48 194,049 41 "Halloween Night" (ฮาโลวีนไนต์) [16]
8 2559 "โบกูตาจิวะดาเระนิสึอิเตะอิเคบาอิ?" สนามเบสบอลนีงาตะ 243,011 45 "Love Trip & Shiawase wo Wakenasai" (เลิฟทริป & ชิอาวาเสะโอะวาเคนาไซ) [17]
9 2560 "มาซุวะทาตากาโอ! ฮานาชิวะโซเระคาราดะ" หอประชุมเมืองโทมิงูซูกุ 246,376 49 "#sukinanda" (แฮชแท็กซูกินันดะ) [18]
10 2561 "วอทอิสเซ็นเตอร์" นาโงยะโดม จูรินะ มัตสึอิ SKE48 194,453 53 "Sentimental Train" (เซนติเมนทัล เทรน) [19]

คามิเซเว่น[แก้]

สมาชิกที่มีคะแนนสูงเป็น 7 อันดับแรกจะเรียกว่า "คามิเซเว่น" (神7 Kami 7) ซึ่งแปลว่า "เทพเจ้าทั้ง 7"

ครั้งที่ ปี อันดับที่1 อันดับที่2 อันดับที่3 อันดับที่4 อันดับที่5 อันดับที่6 อันดับที่7
1 2552 อัตสึโกะ มาเอดะ (AKB48) ยูโกะ โอชิมะ (AKB48) มาริโกะ ชิโนดะ (AKB48) มายุ วาตานาเบะ (AKB48) มินามิ ทาคาฮาชิ (AKB48) ฮารุนะ โคจิมะ (AKB48) โทโมมิ อิตาโนะ (AKB48)
2 2553 ยูโกะ โอชิมะ (AKB48) อัตสึโกะ มาเอดะ (AKB48) อิตาโนะ โทโมมิ (AKB48) มายุ วาตานาเบะ (AKB48) มินามิ ทาคาฮาชิ (AKB48) ฮารุนะ โคจิมะ (AKB48)
3 2554 อัตสึโกะ มาเอดะ (AKB48) ยูโกะ โอชิมะ (AKB48) ยูกิ คาชิวากิ (AKB48) มาริโกะ ชิโนดะ (AKB48) โคจิมะ ฮารุนะ (AKB48) มินามิ ทาคาฮาชิ (AKB48)
4 2555 ยูโกะ โอชิมะ (AKB48) มายุ วาตานาเบะ (AKB48) ริโนะ ซาชิฮาระ (AKB48) มาริโกะ ชิโนดะ (AKB48) มินามิ ทาคาฮาชิ (AKB48) ฮารุนะ โคจิมะ (AKB48)
5 2556 ริโนะ ซาชิฮาระ (HKT48) ยูโกะ โอชิมะ (AKB48) มายุ วาตานาเบะ (AKB48) ยูกิ คาชิวากิ (AKB48) จูรินะ มัตสึอิ (SKE48/AKB48) เรนะ มัตสึอิ (SKE48)
6 2557 มายุ วาตานาเบะ (AKB48) ริโนะ ซาชิฮาระ (HKT48) ยูกิ คาชิวากิ (AKB48/NMB48) จูรินะ มัตสึอิ (SKE48/AKB48) เรนะ มัตสึอิ (SKE48) ซายากะ ยามาโมโตะ (NMB48/AKB48) ฮารุกะ ชิมาซากิ (AKB48)
7 2558 ริโนะ ซาชิฮาระ (HKT48) ยูกิ คาชิวากิ (AKB48/NMB48/NGT48) มายุ วาตานาเบะ (AKB48) มินามิ ทาคาฮาชิ (AKB48) จูรินะ มัตสึอิ (SKE48/AKB48) ซากุระ มิยาวากิ (HKT48/AKB48)
8 2559 มายุ วาตานาเบะ (AKB48) จูรินะ มัตสึอิ (SKE48) ซายากะ ยามาโมโตะ (NMB48) ยูกิ คาชิวากิ (AKB48/NGT48) ซากุระ มิยาวากิ (HKT48/AKB48) อาการิ สุดะ (SKE48)
9 2560 ซากุระ มิยาวากิ (HKT48/AKB48) ยูกะ โอกิโนะ(NGT48) อาการิ สุดะ (SKE48) ยุย โยโกยามะ (AKB48)
10 2561 จูรินะ มัตสึอิ (SKE48) อาการิ สุดะ (SKE48) ซากุระ มิยาวากิ (HKT48) ยูกะ โอกิโนะ(NGT48) นานะ โอคาดะ (AKB48/STU48) ยุย โยโกยามะ (AKB48) โทมุ มุโต้ (AKB48)

การจัดสรรตำแหน่ง[แก้]

ในวันงานจะมีการถ่ายทอดสดและการประกาศคะแนนโหวตแก่สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วม สมาชิกต้องมีอันดับสูงกว่าที่กำหนดไว้ถึงจะมีตำแหน่งโดยนับจากคะแนนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ แต่ละงานจะมีการจัดอันดับแต่ละตำแหน่งแตกต่างกันออกไป รวมถึงจำนวนคนในแต่ละตำแหน่งเช่นกัน สำหรับงานเลือกตั้งครั้งที่ 10 นั้น สมาชิกที่ได้รับอันดับที่ 1 ถึง 16 จะเรียกว่า "เซ็มบัตสึ" (Senbatsu), อันดับที่ 17 ถึง 32 เรียกว่า "อันเดอร์เกิลส์" (Undergirls), อันดับที่ 33 ถึง 48 เรียกว่า "เน็กซ์เกิลส์ " (Next Girls), อันดับที่ 49 ถึง 64 เรียกว่า "ฟิวเจอร์เกิลส์" (Future Girls), อันดับที่ 65 ถึง 80 เรียกว่า "อัพคัมมิงเกิลส์" (Upcoming Girls), และอันดับที่ 81 ถึง 100 เรียกว่า "คิเน็นวากุ" (Kinenwaku) ส่วนสมาชิกได้คะแนนน้อยกว่าอันดับที่ 100 จะถือว่าไม่ติดอันดับ

ครั้งที่ ตำแหน่ง อ้างอิง
1 เซ็มบัตสึ อันเดอร์เกิลส์ [20]
ที่ 1 – 21
(21 คน)
ที่ 22 – 30
(9 คน)
2 – 3 เซ็มบัตสึ อันเดอร์เกิลส์ [21][22]
ที่ 1 – 21
(21 คน)
ที่ 22 – 40
(19 คน)
4 – 5 เซ็มบัตสึ อันเดอร์เกิลส์ เน็กซ์เกิลส์ ฟิวเจอร์เกิลส์ [23][24]
ที่ 1 – 16
(16 คน)
ที่ 17 – 32
(16 คน)
ที่ 33 – 48
(16 คน)
ที่ 49 – 64
(16 คน)
6 – 9 เซ็มบัตสึ อันเดอร์เกิลส์ เน็กซ์เกิลส์ ฟิวเจอร์เกิลส์ อัพคัมมิงเกิลส์ [25][26][27][28]
ที่ 1 – 16
(16 คน)
ที่ 17 – 32
(16 คน)
ที่ 33 – 48
(16 คน)
ที่ 49 – 64
(16 คน)
ที่ 65 – 80
(16 คน)
10 เวิลด์เซ็มบัตสึ อันเดอร์เกิลส์ เน็กซ์เกิลส์ ฟิวเจอร์เกิลส์ อัพคัมมิงเกิลส์ คิเน็นวากุ [29]
ที่ 1 – 16
(16 คน)
ที่ 17 – 32
(16 คน)
ที่ 33 – 48
(16 คน)
ที่ 49 – 64
(16 คน)
ที่ 65 – 80
(16 คน)
ที่ 81 – 100
(20 คน)
  แสดงถึงอันดับที่ไม่มีตำแหน่ง

ตำแหน่งเซ็มบัตสึ[แก้]

ผู้ที่ได้คะแนนเป็น 16 อันดับแรกจะถูกรับเลือกให้เป็นเซ็มบัตสึ โดยใช้เกณฑ์นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จากเดิมที่มีตำแหน่งเซ็มบัตสึ 21 คน โดยผู้ที่ได้อันดับ 1 จะทำหน้าที่เป็นเซ็นเตอร์ในเพลงนั้น

ตัวหนา-ตำแหน่งคามิ7

*โปรดลงข้อมูลที่ถูกต้อง

ครั้งที่ ปี ลำดับที่
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21
1 2552 อัตสึโกะ มาเอดะ ยูโกะ โอชิมะ มาริโกะ ชิโนดะ มายุ วาตานาเบะ มินามิ ทาคาฮาชิ ฮารุนะ โคจิมะ โทโมมิ อิตาโนะ อามินะ ซาโต้ ยูกิ คาชิวากิ โทโมมิ คาไซ เอเรนะ โอโนะ ซายากะ อากิโมโตะ ริเอะ คิตาฮาระ ซาเอะ มิยาซาวะ มานามิ โอคุ มินามิ มิเนกิชิ คาซึมิ อูราโนะ มิโฮะ มิยาซากิ จูรินะ มัตสึอิ ไอกะ โอตะ อาสึกะ คุราโมจิ
2 2553 ยูโกะ โอชิมะ อัตสึโกะ มาเอดะ มาริโกะ ชิโนดะ โทโมมิ อิตาโนะ มายุ วาตานาเบะ มินามิ ทาคาฮาชิ ฮารุนะ โคจิมะ ยูกิ คาชิวากิ ซาเอะ มิยาซาวะ จูรินะ มัตสึอิ เรนะ มัตสึอิ โทโมมิ คาไซ อากิ ทากาโจ มินามิ มิเนกิชิ เอเรนะ โอโนะ ริเอะ คิตาฮาระ ซายากะ อากิโมโตะ อามินะ ซาโต้ ริโนะ ซาชิฮาระ ฮารุกะ คานากาวะ มิโฮะ มิยาซากิ
3 2554 อัตสึโกะ มาเอดะ ยูโกะ โอชิมะ ยูกิ คาชิวากิ มาริโกะ ชิโนดะ มายุ วาตานาเบะ ฮารุนะ โคจิมะ มินามิ ทาคาฮาชิ โทโมมิ อิตาโนะ ริโนะ ซาชิฮาระ เรนะ มัตสึอิ ซาเอะ มิยาซาวะ อากิ ทากาโจ ริเอะ คิตาฮาระ จูรินะ มัตสึอิ มินามิ มิเนกิชิ โทโมมิ คาไซ ซายากะ อากิโมโตะ อามินะ ซาโต้ ยุย โยโกยามะ ยูกะ มัตสึดะ อาสึกะ คุราโมจิ
4 2555 ยูโกะ โอชิมะ มายุ วาตานาเบะ ยูกิ คาชิวากิ ริโนะ ซาชิฮาระ มาริโกะ ชิโนดะ มินามิ ทาคาฮาชิ ฮารุนะ โคจิมะ โทโมมิ อิตาโนะ จูรินะ มัตสึอิ เรนะ มัตสึอิ ซาเอะ มิยาซาวะ โทโมมิ คาไซ ริเอะ คิตาฮาระ มินามิ มิเนกิชิ ยุย โยโกยามะ อายากะ อุเมดะ
5 2556 ริโนะ ซาชิฮาระ ยูโกะ โอชิมะ มายุ วาตานาเบะ ยูกิ คาชิวากิ มาริโกะ ชิโนดะ จูรินะ มัตสึอิ เรนะ มัตสึอิ มินามิ ทาคาฮาชิ ฮารุนะ โคจิมะ ซาเอะ มิยาซาวะ โทโมมิ อิตาโนะ ฮารุกะ ชิมาซากิ ยุย โยโกยามะ ซายากะ ยามาโมโตะ มิยูกิ วาตานาเบะ อาการิ สุดะ
6 2557 มายุ วาตานาเบะ ริโนะ ซาชิฮาระ ยูกิ คาชิวากิ จูรินะ มัตสึอิ เรนะ มัตสึอิ ซายากะ ยามาโมโตะ ฮารุกะ ชิมาซากิ ฮารุนะ โคจิมะ มินามิ ทาคาฮาชิ อาการิ สุดะ ซากุระ มิยาวากิ ซาเอะ มิยาซาวะ ยุย โยโกยามะ รินะ อิโคมะ อายะ ชิบาตะ รินะ คาวาเอย์
7 2558 ริโนะ ซาชิฮาระ ยูกิ คาชิวากิ มายุ วาตานาเบะ มินามิ ทาคาฮาชิ จูรินะ มัตสึอิ ซายากะ ยามาโมโตะ ซากุระ มิยาวากิ ซาเอะ มิยาซาวะ ฮารุกะ ชิมาซากิ ยุย โยโกยามะ ริเอะ คิตาฮาระ มิยูกิ วาตานาเบะ คาโอริ มัตสึมุระ อากาเนะ ทาคายานาหงิ อายะ ชิบาตะ โทมุ มุโต้
8 2559 มายุ วาตานาเบะ จูรินะ มัตสึอิ ซายากะ ยามาโมโตะ ยูกิ คาชิวากิ ซากุระ มิยาวากิ อาการิ สุดะ ฮารุกะ ชิมาซากิ ฮารุกะ โคดามะ โทมุ มุโต้ ยุย โยโกยามะ ริเอะ คิตาฮาระ มิอง มุไคจิ นานะ โอคาดะ จูริ ทาคาฮาชิ ฮารุนะ โคจิมะ
9 2560 มายุ วาตานาเบะ จูรินะ มัตสึอิ ซากุระ มิยาวากิ ยูกะ โอกิโนะ อาการิ สุดะ ยุย โยโกยามะ ซารินะ โซดะ นานะ โอคาดะ ริเอะ คิตาฮาระ จูริ ทาคาฮาชิ มิรุ ชิโรมะ ฮินาตะ ฮมมะ นาโอะ ฟุรุฮาตะ อากาเนะ ทาคายานาหงิ อาการิ โยชิดะ
10 2561 จูรินะ มัตสึอิ อาการิ สุดะ ซากุระ มิยาวากิ ยูกะ โอกิโนะ นานะ โอคาดะ ยุย โยโกยามะ โทมุ มุโต้ มินะ โอบะ นาโกะ ยาบุกิ มิคุ ทานากะ ซารินะ โซดะ จูริ ทาคาฮาชิ มิอง มุไคจิ อาการิ โยชิดะ นาโอะ ฟุรุฮาตะ ฮินาตะ ฮมมะ

อ้างอิง[แก้]

  1. J-PlatPat 特許情報プラットフォーム 商標出願・登録情報 第5655187号,第5657674号 (ญี่ปุ่น)
  2. 「ファン用語 初級編 総選挙」『AKB48公式ダイアリー 2013-2014』ぴあ、2013年3月6日。 ISBN 978-4-8356-1826-5 (ญี่ปุ่น)
  3. 森本隆 (2013-06-09). "W松井が神7崩した/AKB総選挙". nikkansports.com. 日刊スポーツ新聞社. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29. (ญี่ปุ่น)
  4. "こじはる卒コン冒頭で"神7"共演 前田・大島ら揃い踏み". ORICON NEWS. oricon ME. 2017-02-22. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29. (ญี่ปุ่น)
  5. 『泣けるakb48 メンバーヒストリー』本城零次:著、サイゾー:刊、2011年、p22 (ญี่ปุ่น)
  6. 五郎丸オガム (2016-05-24). "今年のAKB48・入山杏奈はちょっと違う!? 『アメリ』のユニークおかっぱ姿がファンから大好評!". AOLニュース. AOLオンライン・ジャパン. สืบค้นเมื่อ 2017-05-29. (ญี่ปุ่น)
  7. "AKB48選抜メンバー総選挙、アピールコメント配信開始". 音楽ナタリー. ナターシャ. 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2017-05-29. (ญี่ปุ่น)
  8. "AKB48、49thシングル選抜総選挙・全立候補のアピールコメントをSHOWROOMで初公開". Musicman-NET. エフ・ビー・コミュニケーションズ,マグネット. 2017-05-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-07. สืบค้นเมื่อ 2017-05-29. (ญี่ปุ่น)
  9. AKB48グループ (2017-05-17). AKB48総選挙公式ガイドブック2017. 講談社MOOK. 講談社. p. 143. (ญี่ปุ่น)
  10. 『週刊プレイボーイ』特別編集『AKB48総選挙! 水着サプライズ発表』(2009年8月20日、集英社)ISBN 978-4-0810-2079-9 (ญี่ปุ่น)
  11. 『週刊プレイボーイ』特別編集『AKB 48総選挙!水着サプライズ発表 AKB48スペシャルムック 2010』集英社、2010年8月。 ISBN 978-4-0810-2137-6 (ญี่ปุ่น)
  12. 『週刊プレイボーイ』特別編集『AKB 48総選挙!水着サプライズ発表 AKB48スペシャルムック 2011』集英社、2011年8月。 ISBN 978-4-0810-2137-6 (ญี่ปุ่น)
  13. 『週刊プレイボーイ』特別編集『AKB 48総選挙!水着サプライズ発表 AKB48スペシャルムック 2012』集英社、2012年8月。 ISBN 978-4-0810-2147-5 (ญี่ปุ่น)
  14. 『週刊プレイボーイ』特別編集『AKB 48総選挙!水着サプライズ発表 AKB48スペシャルムック 2013』集英社、2013年8月。 ISBN 978-4-0810-2163-5 (ญี่ปุ่น)
  15. 『週刊プレイボーイ』特別編集『AKB48総選挙!水着サプライズ発表 AKB48スペシャルムック 2014』集英社、2014年8月。 ISBN 978-4-0810-2181-9 (ญี่ปุ่น)
  16. 『AKB48総選挙!水着サプライズ発表2015』 集英社 、2015年8月、ISBN 978-4081022007 (ญี่ปุ่น)
  17. 『AKB48総選挙! 水着サプライズ発表2016』 集英社、2016年8月3日、ISBN 978-4081022199 (ญี่ปุ่น)
  18. 『AKB48総選挙! 水着サプライズ発表2017』 編集: 週刊プレイボーイ編集部、2017年8月2日、ISBN 978-4081022434 (ญี่ปุ่น)
  19. AKB48総選挙公式ガイドブック2018(2018年5月16日、著者: AKB48グループ、講談社)ISBN 978-4065119587 (ญี่ปุ่น)
  20. "神様に誓ってガチ!AKB48新選抜メンバーついに決定". 音楽ナタリー. ナターシャ. 2009-07-08. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. (ญี่ปุ่น)
  21. "大島優子が逆転トップ当選!波乱の第2回AKB48総選挙". 音楽ナタリー. ナターシャ. 2010-06-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. (ญี่ปุ่น)
  22. "AKB48第3回総選挙、トップ40メンバーのコメント全紹介". 音楽ナタリー. ナターシャ. 2011-06-10. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. (ญี่ปุ่น)
  23. "AKB48総選挙 大島優子「この景色がもう一度見たかった」見事センター返り咲き! 前田敦子も祝福". 映画.com. エイガ・ドット・コム. 2012-06-06. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. (ญี่ปุ่น)
  24. "AKB48総選挙、指原莉乃が大島優子を抑え1に「絶対にAKB48は壊しません!」". マイナビニュース. マイナビ. 2013-06-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. (ญี่ปุ่น)
  25. "【第6回AKB総選挙】1〜80の全順発表 まゆゆが悲願の初女王に! さしこは連覇ならず". ORICON STYLE. oricon ME. 2014-06-07. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. (ญี่ปุ่น)
  26. "さしこ2年ぶり女王返り咲き/AKB総選挙詳細". nikkansports.com. 日刊スポーツ新聞社. 2015-06-07. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. (ญี่ปุ่น)
  27. "「第8回AKB48選抜総選挙」全順発表<1〜80>". モデルプレス. ネットネイティブ. 2016-06-18. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. (ญี่ปุ่น)
  28. "AKB48 49thシングル 選抜総選挙 開催決定の御案内". AKB48オフィシャルブログ. 2017-03-20. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. (ญี่ปุ่น)
  29. "AKB48「第10回選抜総選挙」は"世界選抜" 海外グループにも立候補権". モデルプレス. ネットネイティブ. 2018-03-19. สืบค้นเมื่อ 2018-03-19. (ญี่ปุ่น)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]