ความประมาทเลินเล่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความประมาทเลินเล่อ (อังกฤษ: negligence) หมายถึง ความที่กระทำการใด ๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือโดยละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ

ผู้กระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (gross negligence) กฎหมายไม่อภัยให้เลย และจะเรียกร้องใด ๆ ก็มิได้ด้วย เช่น ผู้ได้รับความเสียหายจากการทำสัญญาซื้อขาย โดยที่ตอนทำสัญญานั้นไม่อ่านข้อความในหนังสือสัญญาให้ถี่ถ้วนก่อน เป็นต้น

ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) ผู้เขียนพจนานุกรมกฎหมายเล่มแรกของประเทศไทย ว่า

"ประมาท ตามธรรมดาหมายถึง กิริยาที่กระทำลงโดยมิได้ตั้งใจจะให้เกิดผลเช่นนั้น แต่ได้กระทำการอย่างใดซึ่งคนธรรมดาจะไม่กระทำ หรือละเว้นกระทำการอย่างใดซึ่งคนธรรมดาจะกระทำ จนเกิดผลอันเนื่องจากการกระทำนั้น

ผู้ใดกระทำลงโดยความประมาท อาจจะต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายก็ได้ ไม่อาจต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายก็ได้ เช่น ผู้ที่ขับรถโดยไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างธรรมดา ขับรถไปทับคนเข้า ผู้ขับจะต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าผู้ใดเดินหลับตาจะไปยังที่แห่งหนึ่ง แต่กลับเดินลงไปในคลอง ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะฉะนั้น การประมาทที่จะใช้ได้ตามกฎหมายนั้น หมายถึง ผู้ใดมีหน้าที่ใช้ความระวังตามกฎหมาย ผู้นั้นไม่ใช้ความระวัง กลับกระทำผิดหน้าที่ กระทำให้ผู้อื่นต้องเสียหายอันเป็นผลโดยตรงหรือใกล้ชิดกับเหตุ โดยที่ผู้กระทำมิได้ตั้งใจจะให้เกิดผลเช่นนั้น..."

คำว่า "ประมาทเลินเล่อ" เป็นคำที่ใช้ในทางกฎหมายแพ่ง ส่วนทางอาญาจะใช้ว่า "ประมาท" เฉย ๆ

อ้างอิง[แก้]