ครูสมศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ครูสมศรี
ปกดีวีดี
กำกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
เขียนบทหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
บทภาพยนตร์หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
นักแสดงนำชาลิตา ปัทมพันธ์
รณ ฤทธิชัย
สมชาย อาสนจินดา
ชลิต เฟื่องอารมย์
เศรษฐา ศิระฉายา
ครรชิต ขวัญประชา
ภูมิ พัฒนยุทธ
จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา
ชนิดา เปี่ยมสุวรรณ
สุรชัย ดิลกวิลาศ
วุฒิ คงคาเขตร
มานี มณีวรรณ
อรประภา วงศาโรจน์
กำกับภาพหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ตัดต่อหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ผู้จัดจำหน่ายวีซี โปรดักชั่นแอนด์พิคเจอร์
พร้อมมิตรภาพยนตร์
วันฉาย11 มกราคม พ.ศ. 2528
ที่โรงภาพยนตร์สยาม-อินทรา-พันธุ์ทิพย์-เฉลิมกรุง-วิลลา
ความยาว117 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

ครูสมศรี เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2528 กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล นำแสดงโดย ชาลิตา ปัทมพันธ์ รณฤทธิชัย คานเขต และสมชาย อาสนจินดา เข้าฉายเมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2528 ที่โรงภาพยนตร์สยาม-อินทรา-พันธุ์ทิพย์-เฉลิมกรุง-วิลลา [1]

ครูสมศรี เป็นภาพยนตร์สะท้อนสังคม กล่าวถึงชีวิตของชาวชุมชนแออัด ในตรอกศาลเจ้าพ่อเสือ ต้องถูกไล่ที่โดยเจ้าของที่ดิน ชาวบ้านลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องที่อยู่อาศัย โดยการนำของครูสมศรี ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ แม้จะต้องแลกมาด้วยชีวิตของเธอ

ภาพยนตร์ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2528 สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (รณ ฤทธิชัย) และสาขานักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม (ส. อาสนจินดา) แล้วยังเข้าชิงสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชาลิตา ปัทมพันธ์) และสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล) โดยรณ ฤทธิชัยและม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ยังได้รับรางวัล และ ส. อาสนจินดา ได้เข้าชิง รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2529 ในสาขาเดียวกัน และได้รับถึง 6 รางวัล

ต่อมาถูกนำมาสร้างใหม่เป็นละครโทรทัศน์ โดย เป่า จิน จง ในปี พ.ศ. 2546 นักแสดงนำโดย สุจิรา อรุณพิพัฒน์, นวพล ภูวดล, เจฟฟรี่ เบญจกุล, สรพงษ์ ชาตรี, สุกัญญา มิเกล

เรื่องย่อ[แก้]

ครูสมศรี ถ่ายทอดจากปากของ บุญเพ็ง (รณ ฤทธิชัย) ผู้อำนวยการกองบริการประชาชนของเทศบาลที่เคยสูญเสียคนรักสมัยเป็นนักศึกษาในเหตุการณ์มหาวิปโยค จนบุญเพ็งเก็บอุดมการณ์ใส่ลิ้นชัก ยอมเป็นเบี้ยในระบบราชการ กระทั่งมาพบครูสมศรี (ชาลิตา ปัทมพันธ์) ที่มีเลือดนักสู้ ทำให้บุญเพ็งรู้จักชีวิตและกล้าที่จะเปิดโปงทุจริตต่อ ป.ป.ป.

ครูสมศรี เกิดในสลัมตรอกศาลเจ้าพ่อเสือ มุมานะเรียนจนจบชั้น ม.ศ.5 แล้วมาเป็นครูสอนในโรงเรียนของครูทองย้อย (ส.อาสนจินดา) ครูแก่ขี้เหล้าที่ไม่มีไฟความเป็นครูเหลืออยู่ สลัมแห่งนี้เป็นที่หมายตาของบริษัทสหพัฒนาที่ดินจำกัด มีนายดุสิต (ภูมิ พัฒนยุทธ) เป็นประธานและทนายสด (ชลิต เฟื่องอารมณ์) เป็นมือกฎหมาย ใช้ทั้งกฎหมายและกฎหมู่ในการผลักดันให้ชาวสลัมออกไป จะเอาไปทำศูนย์การค้า ครูสมศรีกับชาวบ้านต่อต้านไม่ยอมออก จึงถูกพวกบริษัทวางเพลิงเผาไล่ที่ ครูสมศรีนำชาวบ้านไปร้องเรียนต่อเทศบาล ได้รับความช่วยเหลือจากนายบุญเพ็งและทนายทองดี (เศรษฐา ศิระฉายา) เพราะเห็นว่า มีการทุจริตในการให้บริษัทเช่าที่ดินสลัม เหตุการณ์รุนแรงตามลำดับ บุญเพ็งถูกห้ามติดตามเรื่องสลัม ชาวบ้านถูกตำรวจกลั่นแกล้งจับกุม กรรมการหมู่บ้านถูกฆ่าตาย ถูกข่มขู่ ต่อมาทนายทองดีก็ถูกยิงตายอีกคน ทำให้ชาวบ้านเริ่มท้อแท้ หวาดกลัว ส่วนครูทองย้อยซึ่งมีสัญญาเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนแผ่นดินเหลืออยู่ ก็ถูกพวกบริษัทมาให้ข้อเสนอจะสร้างโรงเรียนให้ใหม่และยุยงให้เผาโรงเรียนทิ้ง แต่ครูทองย้อยไม่ยอมทำ สมุนของบริษัทจึงลงมือทำเอง พอดีกับบุญเพ็งและครูสมศรีมาพบก่อน จึงช่วยกันดับไฟทัน แต่ครูสมศรีก็ถูกยิงตาย ทำให้ครูทองย้อยเห็นความตั้งใจอันแรงกล้า จึงอึดสู้คดีกับบริษัทจนศาลมีคำพิพากษาให้เป็นฝ่ายชนะคดี มีสิทธิอยู่ในสลัมได้ สมความตั้งใจของครูสมศรี

นักแสดง[แก้]

รางวัล[แก้]

  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2529 [3]
    • ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม (รณ ฤทธิชัย)
    • ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)
    • ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)
    • ออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม (มานพ ชัยชุมพล)
    • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)

ละครโทรทัศน์[แก้]

ครูสมศรี
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดยเป่าจินจง
กำกับโดยชุติกุล สุตสุนทร
แสดงนำสุจิรา อรุณพิพัฒน์
นวพล ภูวดล
เจฟฟรี่ เบญจกุล
สรพงษ์ ชาตรี
ทัศนาวลัย องอาจสิทธิชัย
ปลาวสลัย เทพสาธร
จุฑารัตน์ สัตถากร
สุกัญญา มิเกล
สมบัติ เมทะนี
จุรี โอศิริ
รอง เค้ามูลคดี
โฉมฉาย ฉัตรวิไล
ประทุมวดี โสภาพรรณ
กล้วย เชิญยิ้ม
เจี๊ยบ เชิญยิ้ม
ทอดด์ ทองดี
นิภัทรา ปัญญาวจี
แหยม ลูกหยี
ด.ช. นิรวิทย์ เรนเดลล์
ด.ช. อรรถพล เทศทะวงศ์
ด.ญ. ภูริน โชครัศมีศิริ
ด.ช. กิติพงศ์ วงศ์ทอง
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตนพพล โกมารชุน
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ออกอากาศพ.ศ. 2546

ครูสมศรี ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยค่าย เป่า จิน จง ในปี พ.ศ. 2546 เป็นบทประพันธ์ของ มจ.ชาตรีเฉลิม ยุคล บทโทรทัศน์โดย ปัณณ์ สิเนห์ กำกับการแสดงโดย ชุติกุล สุตสุนทร นักแสดงนำโดย สุจิรา อรุณพิพัฒน์, นวพล ภูวดล, เจฟฟรี่ เบญจกุล, สรพงษ์ ชาตรี, สุกัญญา มิเกล, สมบัติ เมทะนี, จุรี โอศิริ, รอง เค้ามูลคดี, โฉมฉาย ฉัตรวิไล

เรื่องย่อ[แก้]

สมศรี เด็กที่ นายสม เก็บมาเลี้ยงใฝ่ฝันอยากเป็นครู แต่ถูกระบบเส้นสายจนสอบไม่ผ่าน สมศรี ได้ยิน เปิ่นกระเป๋ารถเมล์คุยกันว่าขาดคนขับรถ สมศรีตัดสินใจสมัคร

ทัตเทพ ทวิภาคลูกชาย นายโภคิน ขับรถเฉี่ยว แมงกอย เด็กดอยที่สมศรีเคยเจอตอนไปสอบ แต่ยืนยันว่าแมงกอยวิ่งมาชนรถตัวเองหลังขโมยลูกชิ้น บังเอิญ นิมิต ผ่านจึงพาไปแทน สมศรีรับแมงกอยมาอุปการะ นิมิตเป็นนายตำรวจหนุ่มอุดมการณ์สูงถูกกลั่นแกล้งจนกลายเป็นตำรวจจราจร และต้องหาที่อยู่ใหม่ ได้มาอยู่ที่สลัมคลองคด ทัตเทพเป็นสถาปนิกชุมชนที่ได้มาพัฒนาชุมชนคลองคด เขาถูกวิ่งราวจากแก็ง ยักษ์ บึ๋ง ลวก สมศรีช่วย จับไว้แต่ 3 คนหนีทัน ทัตเทพเข้าใจผิดว่าสมศรีเป็นหัวหน้าแก็งค์ จนทุกคนในชุมชนว่าสมศรีเป็นคนไม่ดี ต่อมาสมศรีได้อุปการะ ใบตอง เด็กเร่ร่อนที่ขึ้นมาขอทานบนรถเมล์จนถูกผลักตกรถ และตี่ เด็กในสลัมที่ยายญาติคนสุดท้ายตายไป

สมศรีมองเห็นปัญหาต่างๆ ในชุมชนทั้ง เด็กเร่ร่อน ยาเสพติด บ่อนการพนัน และเงินกู้นอกระบบ จึงลาออกจากการขับรถ มาสอนหนังสือเด็กและพัฒนาชุมชน โดยมีนิมิตคอยช่วย แม้จะมี สุดใจ ช่างตัดเสื้อที่ตามจีบนิมิตคอยขวาง กับ ตาเบี้ยว หัวหน้าชุมชนที่เป็นคนของโภคินๆ คิดจะไล่ที่ทำเป็นเอนเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์แต่ติดว่าที่ดินติดเป็นที่ดินร้างเกินสิบปี จึงวางแผนให้ชาวสลัมเซ็นสัญญาเช่าแล้ว ที่ดินก็จะตกเป็นของโภคินโดยสมบูรณ์

พิมพ์อร คู่หมายทัตเทพไม่พอใจที่ทัตเทพไปชอบสมศรีจึงแกล้งมาทำดีช่วยชาวสลัมแต่แล้วเอาข้อมูลไปโภคิน ทัตเทพไม่เคยรู้เบื้องหลังพ่อจนแอบได้ยินคุยกับลูกน้อง ทัตเทพพยายามเข้ามาช่วยคนในชุมชนแต่ถูกกีดกัน พวกเข้าร่วมขบวนการเริ่มตายไปที่ละคนชาวบ้านเริ่มถอดใจ เปิ่นซึ่งทำงานจนเรียนจบทนายมาเป็นทนายให้ชาวบ้าน โภคินส่งคนมาทำลายโรงเรียน ชาวบ้านช่วยกันสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ วันเปิดโรงเรียนพบศพสมศรีถูกเผาจนจำไม่ได้มีเพียงกำไลเงินของแมงกอยเคยให้ไว้เป็นหลักฐาน การตายของสมศรีทำให้เด็กๆ ตัดสินใจบวชหน้าศพ การตายของครูสมศรีทำให้ ชาวบ้านลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเองอีกครั้ง

นักแสดง[แก้]

เข้าชิงรางวัล[แก้]

ละคร ครูสมศรี ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในงานบันเทิงยอดเยี่ยม ปี พ.ศ. 2546 ของสมาคมนักข่าวบันเทิง ได้แก่

  • รางวัลละครยอดเยี่ยม
  • รางวัลเพลงนำละครยอดเยี่ยม
  • รางวัลผู้เขียนบทละครยอดเยี่ยม (ปัณณ์ สิเนห์)
  • รางวัลผู้กำกับละครยอดเยี่ยม (ชุติกุล สุตสุนทร)
  • รางวัลผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม (คุณสุจิรา อรุณพิพัฒน์)

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-06-02.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
  3. จากสูจิบัตรงานประกาศผลการประกวดภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ