คดีวอเตอร์เกต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มสำนักงานวอเตอร์เกต จุดกำเนิดของเรื่องอื้อฉาว
ประธานาธิบดีนิกสันขณะเดินทางออกจากทำเนียบขาว ไม่นานก่อนการลาออกมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974

คดีวอเตอร์เกต (อังกฤษ: Watergate scandal) คือเหตุอื้อฉาวทางการเมืองระหว่างช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ในสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ลักลอบโจรกรรมสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต ณ อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1972 ในขณะที่คณะทำงานของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน พยายามปกปิดหลักฐานถึงการข้องเกี่ยวในเหตุโจรกรรมดังกล่าว จนในที่สุดเรื่องอื้อฉาวนี้นำไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นการลาออกครั้งแรกและครั้งเดียวของประธานาธิบดีในประวัติศาสตร์อเมริกัน เหตุการณ์นี้ยังนำไปสู่การฟ้องร้อง, การไต่สวน, การลงโทษ และการจำคุกบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 43 คน รวมไปถึงคณะทำงานระดับสูงของรัฐบาลนิกสันอีกหลายสิบคน

เหตุอื้อฉาวเริ่มต้นขึ้นด้วยการจับกุมชายห้าคนในคดีลักลอบโจรกรรมข้อมูลในที่ทำการใหญ่พรรคเดโมแครต ณ อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1972 โดยสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) เชื่อมโยงเส้นทางการเงินของคนร้ายทั้งห้าคนจนสาวไปถึงกองทุนหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มระดมทุนสำหรับการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของนิกสัน[1][2] ขณะที่หลักฐานทั้งหมดพุ่งชี้ไปยังคณะทำงานของประธานาธิบดี รวมไปถึงพนักงานเบิกความฟ้องในคณะทำงานสืบสวนคดีวอเตอร์เกตซึ่งตั้งโดยวุฒิสภา ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1973 คณะสอบสวนเปิดเผยว่าภายในห้องทำงานของประธานาธิบดีนิกสันมีระบบบันทึกเสียงอยู่ และได้บันทึกการสนทนาต่าง ๆ เอาไว้มากมาย[3][4] ใจความจากเทปบันทึกเสียงเหล่านั้นชี้ให้เห็นว่าประธานาธิบดีนิกสันเคยพยายามที่จะปกปิดถึงการมีส่วนรู้เห็นในการโจรกรรมข้อมูล ณ ที่ทำการพรรคเดโมแครต[2][5] หลังจากมีการต่อสู้ฟ้องร้องคดีความจำนวนมากมายหลายรอบในชั้นศาล ศาลฎีกาสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกามีคำตัดสินให้ประธานาธิบดีต้องส่งมอบเทปบันทึกเสียงทั้งหมดแก่พนักงานสืบสวนของรัฐ นิกสันจึงต้องจำยอมส่งมอบเทปตามคำตัดสิน

หลังจากเผชิญแรงกดดันจากสังคม, การฟ้องร้องในสภาผู้แทนราษฎร และมีความเป็นไปได้สูงว่าวุฒิสภาจะมีมติลงโทษประธานาธิบดี นิกสันจึงลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ณ วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974[6][7] ซึ่งประธานาธิบดีคนต่อมา เจอรัลด์ ฟอร์ด ได้ทำการนิรโทษกรรมให้แก่นิกสัน

คดีดังกล่าวนี้ถูกสอบสวนโดยผลมาจากการที่ เดอะวอชิงตันโพสต์ หนังสือพิมพ์ชื่อดังของอเมริกา คอยผลักดันและติดตามข่าวสารโดยตลอด ทำให้สำนักงานสืบสวนสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ จำเป็นต้องทำการสืบสวนและผลักดันตนเองให้พ้นจากอำนาจของนิกสัน

อ้างอิง[แก้]

  1. Dickinson, William B. (1973). Watergate: chronology of a crisis. Vol. 1. Washington D. C.: Congressional Quarterly Inc. pp. 8 133 140 180 188. ISBN 0-87187-059-2. OCLC 20974031. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) This book is volume one of a two-volume set. Both volumes share the same ISBN and Library of Congress call number, E859 .C62 1973
  2. 2.0 2.1 "The Smoking Gun Tape". Watergate.info website. June 23, 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Transcript of the recording of a meeting between President Nixon and H. R. Haldeman)เมื่อ 2012-05-01. สืบค้นเมื่อ January 17, 2007.
  3. narrative by R.W. Apple, jr. ; chronology by Linda Amster ; general ed.: Gerald Gold. (1973). The Watergate hearings: break-in and cover-up; proceedings. New York: Viking Press. ISBN 0-670-75152-9.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Nixon, Richard (1974). The White House Transcripts. New York: Viking Press. ISBN 0-670-76324-1. OCLC 1095702.
  5. The evidence was quite simple: the voice of the President on June 23, 1972 directed the Central Intelligence Agency (CIA) to halt an FBI investigation which would be politically embarrassing to his re-election; this direction was an obstruction of justice. White, Theodore Harold (1975). Breach of Faith: The Fall of Richard Nixon. New York: Atheneum Publishers. p. 7. ISBN 0-689-10658-0.
  6. White (1975), Breach of Faith, p. 29. "And the most punishing blow of all was to come in late afternoon when the President received, in his Oval Office, the Congressional leaders of his party -– Barry Goldwater, Hugh Scott and John Rhodes. The accounts of all three coincide… Goldwater averred that there were not more than fifteen votes left in his support in the Senate…."
  7. "Soon Alexander Haig and James St. Clair learned of the existence of this tape and they were convinced that it would guarantee Nixon's impeachment in the House of Representatives and conviction in the Senate." Dash, Samuel (1976). Chief Counsel: Inside the Ervin Committee – The Untold Story of Watergate. New York: Random House. pp. 259–260. ISBN 0-394-40853-5.