คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights; AICHR) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ในฐานะส่วนหนึ่งของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เป็นคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนในการเผยแพร่และคุ้มครองในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และเป็นความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐสมาชิก (บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม)[1] ทุกปีจะมีการประชุมร่วมกันปีละสองครั้ง[1]

ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนได้ถูกอ้างถึงในกฎบัตรอาเซียน (หมวด 1.7, 2.2.i และ 14) และเอกสารสำคัญของอาเซียน คณะกรรมาธิการดำเนินงานโดยมีการประชุมร่วมเพื่อหาฉันทามติ โดยรัฐสมาชิก 10 รัฐมีอำนาจเต็มรูปแบบ โดยที่คณะกรรมาธิการไม่มีการบัญญัติสำหรับการรองรับกับการสังเกตการณ์อิสระ[2]

คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนของรัฐสมาชิกหนึ่งคน โดยจะมีการเสนอชื่อและคัดเลือกโดยรัฐบาลของรัฐสมาชิก โดยกรรมาธิการจะมีวาระอยู่ทั้งหมดสามปี สามารถต่อวาระได้อีกหนึ่งครั้ง คณะกรรมาธิการมีบทบัญญัติทั้งหมด 14 หมวด แต่ละหมวดจะว่าด้วยเรื่องของการเผยแพร่และคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การสร้างรากฐานให้กับสังคม การช่วยเหลือและให้คำแนะนำ และการร่วมมือในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ[1][3] หนึ่งในหมวดของบทบัญญัติระบุว่า "เพื่อพัฒนาปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน" แต่หลังจากได้ประกาศไว้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555[4] ได้ถูกคณะสิทธิมนุษยชนออกมาท้วงติงว่าด้วยเรื่องของสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นเรื่องของทุกคนในสังคมพึงที่จะได้รับในทุกชนชาติ[5] คณะไม่แสวงหาผลกำไรในภูมิภาคได้นำเรื่องกรณีที่ถูกกล่าวหาเข้าสู่วาระการประชุมเป็นครั้งแรกในจาการ์ตา[6]

คณะกรรมาธิการถูกเปรียบเป็นพวก "ฟันกุด" จากผู้สังเกตการณ์และเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล[2] ประธานอาเซียนในสมัยการก่อตั้งคณะกรรมาธิการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวว่า "...คณะกรรมาธิการนี้เปรียบเสมือน "ฟัน" ที่จะมั่นคงได้ หากได้เริ่มลงสู่เส้นทางบนถนน"[7] แต่หกปีที่ผ่านมาหลังจากการก่อตั้งคณะกรรมาธิการนั้น นักวิพากย์วิจารณ์ได้กล่าวว่า "...ตั้งแต่มีการก่อตั้ง...[คณะกรรมาธิการ] ยังไม่มีผลงานใดเป็นรูปธรรมในเรื่อการคุ้มครองสิทธิ์ตามพื้นฐาน อย่างที่ควรจะทำ"[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 ASEAN Secretariat (2012) AICHR: What you need to know, ISBN 978-602-7643-18-5
  2. 2.0 2.1 "Asean's Toothless Council". Wall Street Journal. 2009-07-22. สืบค้นเมื่อ 2012-03-15.
  3. Terms of Reference of AICHR เก็บถาวร ตุลาคม 30, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ASEAN Human Rights Declaration เก็บถาวร ธันวาคม 30, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. United Nations comment on Declaration
  6. "NGOs to report rights abuse cases to AICHR". The Jakarta Post. 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ 2012-03-15.
  7. 7.0 7.1 Ganjanakhundee, Supalak (2016-05-18). "Asean's shameful silence over Thai rights crisis". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 18 May 2016.