ขนมเข่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขนมเข่ง
甜粿
紅龜粿
ชื่ออื่นเหนียนเกา (เค้กปีใหม่) (ภาษาจีนกลาง)
ตีโก้ย (ฮกเกี้ยน)
ตีก๊วย (สำเนียงแต้จิ๋ว)
ขนมเข่ง (ภาษาไทย)
โกยบากู (ภาษามลายู)
มื้ออาหารว่าง
แหล่งกำเนิดจีน
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักแป้งข้าวเหนียว
ขนมเข่ง
ภาษาจีน年糕
ความหมายตามตัวอักษรyear cake
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
ภาษาจีน甜粿
ความหมายตามตัวอักษรsweet kuih

ขนมเข่ง (จีน: 年糕; พินอิน: níangāo) คืออาหารที่ทำจากข้าวเหนียวเพื่อบริโภคในอาหารจีน ขนมเข่งสามารถพบได้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตของชาวเอเชีย และในร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ ถึงแม้ขนมเข่งจะรับประทานได้ตลอดปี แต่จะเป็นที่นิยมที่สุดในช่วงตรุษจีน คนนิยมรับประทานขนมเข่งในช่วงนี้ เพราะคำว่า เหนียนเกา ออกเสียงเหมือนคำว่า ปีที่สูงขึ้น ในภาษาจีน

การผลิต[แก้]

แม้ขนมเข่งจะมีหลากหลายรูปแบบ แต่ส่วนประกอบหลักคือข้าวเหนียวที่จะนำมาทำให้มีลักษณะคล้ายแป้งเปียก จากนั้นนำมาขึ้นรูป หรือนำไปปรุงอีกครั้งผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ขนมเข่งมีหลายรูปแบบ สามารถพบได้ในอาหารเซี่ยงไฮ้ อาหารฝูเจี้ยน อาหารกวางตุ้งซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากมณฑลกวางตุ้ง

ประเภท[แก้]

แบบอย่างเซี่ยงไฮ้[แก้]

ขนมเข่งแบบอย่างเซี่ยงไฮ้จะถูกทำให้เป็นท่อนกลมหนานุ่มเพื่อที่จะนำไปหั่นเป็นชิ้นบางๆ แล้วนำไปทอดหรือใส่ลงในซุป วิธีการปรุงที่ต่างกันจะทำให้ขนมเข่งเกิดความแตกต่างตั้งแต่นุ่มไปจนถึงเหนียว เมื่อนำมาเสิร์ฟ วิธีที่นิยมทั่วไปคือการนำมาทอด เรียกว่า เฉ่าเหนียนเกา โดยทั่วไปแล้วมีสามประเภท ประเภทแรก สำหรับเสิร์ฟเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยมีรสชาติเผ็ดและเค็ม ประกอบด้วย หอม เนื้อวัว เนื้อหมู กะหล่ำปลี เป็นต้น ประเภทที่สองเป็นอาหารหวาน ใช้น้ำตาลทรายขาวเป็นส่วนประกอบ และประเภทสุดท้ายคือแบบไม่มีรสชาติ ใช้เคี้ยวเพื่อให้รู้สึกถึงพื้นผิวเท่านั้น

แบบอย่างกวางตุ้ง[แก้]

ในภาษากวางตุ้งเรียกขนมเข่งว่า เหนียนเกา เช่นเดียวกัน ขนมเข่งแบบอย่างกวางตุ้งมีสีเหลืองเข้ม และมีรสหวานจากน้ำตาลทรายแดง ขนมเข่งจะถูกตีให้เป็นแผ่น แล้วอบด้วยไอน้ำอีกครั้งเพื่อปรุงส่วนผสม แป้งที่ถูกนวดจะถูกนำมานึ่งจนกระทั่งแข็งตัว แล้วนำมาเสิร์ฟเป็นแผ่นหนา ซึ่งอาจจะนำมารับประทานได้เลย ขนมเข่งจะยืดหยุ่นและเหนียวมาก สามารถนำมาเสิร์ฟเป็นพุดดิ้งราดด้วยกลิ่นกุหลาบหรือถั่วแดงบด

ขั้นตอนต่อไปซึ่งเป็นทางเลือกในการทำขนมเข่งคือการนำไปทอด แล้วใส่ไข่ เพื่อที่จะทำ เจียน เหนียน เกา (jian nian gao, ภาษาจีนกลาง) เมื่อนำไปทอดจะทำให้เนื้อกรอบนอกนุ่มใน ในช่วงเทศกาลตรุษจีนจะถูกนำไปหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมและเสิร์ฟกับเค้กติ่มซำอื่นๆ เช่น เค้กเผือก และ เค้กเกาลัด

ขนมเข่งในวัฒนธรรมอื่น[แก้]

ญี่ปุ่นและเกาหลีก็มีอาหารที่ทำมาจากข้าวเหนียว เรียกว่า โมจิ (moji) และ ซัลต๊อก (chaltteok) ตามลำดับ ต๊อกสามารถทำจากข้าวเจ้าได้เช่นกัน ขนมเข่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในช่วงเทศกาลตรุษจีนในประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากประชากรจำนวนมากเป็นชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งเรียกว่า ทิกอย (tikoy) หรือ ตีโก้ย 甜粿 (tikoe เรียกในหมู่ชาวฮกเกี้ยนใน มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ภูเก็ต) และเรียกว่า ทิเค (tikay) ในภาษาพม่าส่วนในภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า ตีก้วย

ส่วนผสมของขนมเข่งในแต่ละพื้นที่[แก้]

ขนมเข่งจะมีส่วนผสมที่ต่างกันไปในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศในแถบเอเชีย เช่น รับประทานกับถั่วแดงบดหรือเม็ดบัว ซึ่งไม่ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของขนมเข่ง