ข้ามไปเนื้อหา

กเษเมนทระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กเษเมนทระ (กฺเษเมนฺทฺร, IAST: Kṣemendra; ป. ค.ศ. 990 –  1070) เป็นผู้รอบรู้, กวี, นักเขียนเชิงเสียดสี, นักปรัชญา, นักประวัติศาสตร์,[1] ผู้นิพนธ์บทละคร, นักแปล[2] และ นักวิจารณ์ศิลปะ[3] ที่มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในกัศมีร์ โดยมีผลงานเป็นภาษาสันสกฤต[4]

ชีวประวัติ

[แก้]

กเษเมนทระเกิดมาในครอบครัวเก่าแก่ที่มีความมั่งคั่งและเป็นครอบครัวที่มีอารยะ[5] บิดานามว่า ประกาเศนทระ (Prakashendra) ผู้สืบทอดจากนเรนทระ (Narendra) ขุนนางในราชสำนักของชยปีฑะ (Jayapida)[6] แห่งจักรวรรดิการโกฏ กเษเมนทระได้รับการศึกษาและศึกษาวรรณกรรมที่หลากหลายแขนง เขาได้เรียนวิชาวรรณกรรมจาก "อาจารย์ระดับแนวหน้าที่สุดในสมัยนั้น นักปรัชญาและผู้ชำนาญด้านวรรณกรรมชาวไศวะ อภินวคุปตะ"[5] กเษเมนทระเติบโตมาในฐานะชาวไศวะ และต่อมาได้เปลี่ยนไปนับถือลัทธิไวษณวะ[6] เขาได้ร่ำเรียนและมีผลงานประพันธ์ทั้งเชิงลัทธิไวษณวะ และ ศาสนาพุทธ[7] บุตรของเขา โสเมนทระ (Somendra) บรรยายถึงบิดาของเขาไว้ในบทนำของ อวทานกลฺปลตา (अवदानकल्पलता) และชิ้นงานอื่น ๆ กเษเมนทระกล่าวถึงตนเองในผลงานของตนด้วยชื่อ วยาสทาส (IAST: Vyāsadāsa; ทาสของฤาษีวยาสะ) ชื่อนี้ได้มาหรือเริ่มนำมาใช้หลังประพันธ์ชิ้นงาน ภารตมัญชรี (Bhāratamañjari) เสร็จ[6]

กเษเมนทระเป็นที่ต้องการในฐานะผู้ประพันธ์บทย่อ (abridger) สำหรับงานเขียนชิ้นยาว[6] เขามีผลงานประพันธ์ย้อนกลับไปถึงปี 1037 เป็นอย่างน้อย (ผลงานชิ้นที่เก่าแก่ที่สุดของเขาที่ได้รับการระบุอายุคือ พฤหัตกถามัญชรี, Brihatkathāmanjari ซึ่งเป็นบทสรุปย่อของ พฤหัตกถา “ตะวันตกเฉียงเหนือ”; "Northwestern" Bṛhatkathā ที่สูญหายไปแล้วและเป็นฉบับปรับปรุง (recension) อีกทีหนึ่งของ พฤหัตกถา หรือ “เรื่องเล่ายิ่งใหญ่” ของคุณาฒยะ ซึ่งก็สูญหายไปแล้วเช่นกัน) จนถึงปี 1066 (ผลงานชิ้นใหม่ที่สุดของเขาที่ได้รับการระบุอายุคือ ทศาวาตารจริต; Daśavataracharita หรือ บันทึกว่าด้วยสิบอวตารของพระวิษณุ)[8]

ผลงานที่ยังอยู่

[แก้]

มีผลงานโดยกเษเมนทระราวสิบแปดชิ้นที่ยังอยู่มาถึงปัจจุบัน และมีอย่างน้อยอีกสิบสี่ชิ้นงานที่ปรากฏเฉพาะจากการอ้างถึงในชิ้นงานอื่นเท่านั้น[6] นอกจากรายการด้านล่างนี้แล้ว เขายังประพันธ์บทละคร, กวีเชิงสาธยาย, นิยายเสียดสี, บันทึกประวัติศาสตร์ และอาจมีบทวิจารณ์กามสูตรด้วย[9]

บทย่อ

[แก้]

กวีนิพนธ์

[แก้]
  • เอาจิตยะ วิจาระ จรรจา (Auchitya Vichāra Charchā)
  • กวิกัณฐาภรณะ (Kavikanthābharaṇa)
  • สุวฤตติลัก (Suvrittatilaka)

เรื่องเสียดสี

[แก้]
  • กลาวิลสา (Kalāvilasā) — "บทเกี้ยวพาราสีกับความหลอกลวง"
  • สมยมาตฤกา — "ผู้ดูแลนางสนม" (สันสกฤต)
  • นรรมมาลา (Narmamālā) — "มาลัยแห่งความรื่นเริง"
  • เทโศปเทศะ (Deśopadeśa) — "คำเทศนาจากชนบท"

บทเทศนา

[แก้]
  • นีติกัลปตรุ (Nitikalpataru)
  • ทรรปทลนะ (Darpadalana)
  • จตุรวรรคสังคฤหะ (Chaturvargasaṃgraha)
  • จารุจรรยา (Chārucharya)
  • เสวยเสวโกปเทศะ (Sevyasevakopadeśa)
  • โลกประกาศะ (Lokaprakāśa)
  • สถูปาวทานา (Stūpāvadāna)

บทสรรเสริญ

[แก้]
  • อวทานกัลปลตา (Avadānakalpalatā) — ภพชาติในอดีตและบุญของพระพุทธเจ้า (อังกฤษ)
  • ทศาวาตารจริต (Daśavataracharita) — พระวิษณุสิบอวตาร (สันสกฤต)

งานเขียนเชิงประวัติศาสตา์

[แก้]
  • นฤปวลี (Nrpavali)[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. www.wisdomlib.org (2014-08-29). "Kshemendra, Kṣemendra, Kshema-indra: 10 definitions". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
  2. Choudhuri, Indra Nath (2010). "Towards an Indian Theory of Translation". Indian Literature. 54 (5): 113–123. JSTOR 23348221.
  3. "Kshemendra's Views on Aptness in Art". University of Hyderabad Herald (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Oct 30, 2015. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
  4. "Kshemendra". Penguin Random House India (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
  5. 5.0 5.1 Haksar 2011, p. xv.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Warder 1992, p. 365.
  7. Haksar 2011, pp. xv–xvi.
  8. Haksar 2011, pp. xvii–xviii.
  9. Haksar 2011, pp. xvii, 153–154.
  10. Nagarajan, k s (1970). Contribution Of Kashmir To Sanskrit Literature. p. 540.

บรรณานุกรม

[แก้]