การออกกำลังกายใช้ออกซิเจน
การออกกำลังกายใช้ออกซิเจน หรือ คาร์ดิโอ หรือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อังกฤษ: aerobic exercise, cardio) เป็นการออกกำลังกายตั้งแต่เบาจนถึงหนักซึ่งใช้ออกซิเจนในกระบวนการสร้างพลังงาน[1] แอโรบิก ในภาษาอังกฤษหมายถึง "สัมพันธ์กับ เกี่ยวกับ หรือต้องใช้ออกซิเจนอิสระ"[2] และหมายถึงการใช้ออกซิเจนเพื่อให้ได้พลังงานพอระหว่างออกกำลังกายผ่านเมแทบอลิซึมที่ใช้ออกซิเจน[3] ทั่วไปแล้วกิจกรรมตั้งแต่เบาจนถึงปานกลางที่สามารถรองรับได้อย่างเพียงพอด้วยเมแทบอลิซึมซึ่งใช้ออกซิเจน จะทำได้เป็นเวลานาน ๆ[1] ตัวอย่างรวมทั้งการวิ่งทางไกล (คือ จ๊อกกิ้ง) การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน และการเดิน
ประวัติชาวตะวันตก
[แก้]แพทย์สรีรวิทยาชาวอังกฤษ อาร์คิบอลด์ ฮิลล์ (Archibald Hill) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรับออกซิเจนเข้าเซลล์สูงสุด (maximal oxygen uptake, VO2 max) ในปี 1922[4][5] ต่อมาฮิลล์และแพทย์ชาวเยอรมันอีกท่านหนึ่ง (Otto Meyerhof) ได้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ปี 1922 เพราะงานที่ทำต่างหาก ๆ ในเรื่องเมแทบอลิซึมของพลังงานในกล้ามเนื้อ[6] อาศัยงานนี้ นักวิทยาศาสตร์ต่อมาจึงเริ่มวัดการใช้ออกซิเจนเมื่อออกกำลังกาย[7][8]
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง กิจกรรมเพื่อสุขภาพและเพื่อหย่อนใจแบบรายบุคคล (ไม่ได้รวมกลุ่ม) เช่น จ๊อกกิ้ง ก็เริ่มได้ความนิยม[9] แผนการออกกำลังกายของกองทัพอากาศแคนาดาที่พิมพ์ในปี 1961 ได้ช่วยตั้งวัฒนธรรมการออกกำลังกายดังที่มีในปัจจุบัน[10][11] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 การวิ่งจึงได้ความนิยมมากขึ้นโดยได้แรงดลใจจากกีฬาโอลิมปิก[12]
ในคริสต์ทศวรรษ 1960 นาวาอากาศเอก นพ. เค็นเน็ท คูเปอร์ แห่งกองทัพอากาศสหรัฐได้สนับสนุนแนวคิดเรื่องการออกกำลังกายแบบแอโรบิก โดยได้ทำงานวิจัยขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกกับบุคลากรของกองทัพอากาศกว่า 5,000 คน[13][14] หลังจากได้ไอเดียจากความเชื่อว่า การออกกำลังกายอาจช่วยรักษาสุขภาพ ซึ่งต่อมาเขาได้พิมพ์ในหนังสือปี 1968 คือ "Aerobics" ในปี 1970 หมอจึงได้ตั้งสถาบันไม่แสวงหาผลกำไรของตนเอง (Cooper Institute) เพื่อทำงานวิจัยและให้การศึกษาในเรื่องเวชกรรมป้องกัน (preventive medicine) แล้วตีพิมพ์หนังสือสำหรับมวลชนคือ "The New Aerobics" ในปี 1979 หมอส่งเสริมให้คนเป็นล้าน ๆ ออกกำลังกาย ดังนั้น ปัจจุบันจึงได้ชื่อว่า "บิดาของแอโรบิก"[15][16]
การเต้นแอโรบิกได้พัฒนาขึ้นเป็นรูปแแบบการออกกำลังกายในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 แล้วได้รับความนิยมทั่วโลกในคริสต์ทศวรรษ 1980 หลังนักแสดงหญิงคือ เจน ฟอนดาได้ออกวิดีโอแอโรบิกในปี 1982[17][18]
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกและแบบอะแนโลบิก
[แก้]การออกกำลังกายแบบแอโรบิกกับสมรรถภาพทางกายมักเปรียบกับการออกกำลังกายแบบอะแนโรบิก ซึ่งมีการฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและการวิ่งระยะสั้นเป็นตัวอย่างเด่นที่สุด การออกกำลังกายทั้งสองแบบต่างกันโดยช่วงเวลาและความเข้มของการใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง และโดยปริมาณพลังงานที่สร้างขึ้นในกล้ามเนื้อ[19]
งานวิจัยปี 2013 เรื่องความเป็นอวัยวะหลั่งสารของกล้ามเนื้อได้แสดงว่า การออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและอะแนโรบิกโปรโหมตการหลั่งไมโอคีน (myokine) ซึ่งมีประโยชน์รวมทั้งทำให้เนื้อเยื่อใหม่งอก ซ่อมแซมเนื่อเยื่อ มีบทบาทต่าง ๆ ในการต้านการอักเสบ และดังนั้น จึงลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ เนื่องกับการอักเสบ การหลั่งไมโอคีนขึ้นอยู่กับปริมาณ ช่วงเวลา และความเข้มที่ใช้กล้ามเนื้อ ดังนั้น การออกกำลังกายทั้งสองแบบจึงมีประโยชน์เยี่ยงนี้[20]
อนึ่ง ในสถานการณ์เกือบทุกอย่าง การออกกกำลังกายแบบอะแนโรบิกจะเกิดพร้อมกับแบบแอโรบิก เพราะเมแทบอลิซึมแบบอะแนโรบิกที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าจะต้องใช้เสริมเพราะต้องใช้พลังงานเกินศักยภาพของระบบแอโรบิก ดังนั้น ที่เรียกว่าการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนอาจเรียกได้อย่างแม่นยำมากกว่าเป็นแบบ "ใช้ออกซิเจนโดยส่วนเดียว" เพราะออกกำลังไม่หนักพอสร้างแล็กเตต (lactate) ผ่านกระบวนการหมักไพรูเวต (pyruvate fermentation) ดังนั้น จึงเป็นการแปรพลังงานที่ได้ทั้งหมดจากคาร์โบไฮเดรตโดยใช้ออกซิเจน
เบื้องต้นเมื่อเริ่มออกแรง ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อจะสลายเป็นกลูโคส ที่จะผ่านไกลโคไลซิสแล้วสร้างไพรูเวต ซึ่งก็จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (วัฏจักรกรดซิตริก, Chemiosmosis) แล้วสร้างคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำขณะที่ปล่อยพลังงาน แต่ถ้าขาดออกซิเจน (เช่น ในการออกกำลังกายแบบอะแนโรบิก เมื่อต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว) คาร์โบไฮเดรตจะหมดเร็วขึ้นเพราะ pyruvate จะหมักให้เป็นแล็กเตต ด้งนั้น ถ้าการออกกำลังกายเข้มเกินอัตราที่ระบบหัวใจร่วมหลอดเลือดจะสามารถจัดส่งออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อได้ ผลก็คือการสะสมแล็กเตตอย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้ออกกำลังกายต่อไปไม่ได้ ผลไม่พึงประสงค์ของการสะสมแล็กเตตเบื้องต้นรวมทั้งการความรู้สึกร้อนที่กล้ามเนื้อ และในที่สุดอาจรวมความคลื่นไส้หรือแม้แต่อาเจียน ถ้าออกกำลังกายต่อไปโดยไม่พักพอให้กำจัดแล็กเตตออกจากเลือด
เมื่อระดับไกลโคเจนในกล้ามเนื้อเริ่มหมดลง ตับก็จะปล่อยกลูโคสเข้าในเลือด และก็จะเกิดเมแทบอลิซึมอาศัยไขมันมากขึ้นเพื่อให้เชื้อเพลิงแก่วิถีเมแทบอลิซึมที่ใช้ออกซิเจน ดังนั้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอาจได้เชื้อเพลิงจากไกลโคเจนสำรอง ไขมันสำรอง หรือจากทั้งสอง ขึ้นอยู่กับความหนักเบา การออกกำลังกายแบบแอโรบิกหนักกลาง ๆ ที่ 65% VO2 max (หัวใจเต้น 150 ครั้งต่อนาทีสำหรับผู้มีอายุ 30 ปี) จะทำให้ใช้ไขมันเป็นพลังงานมากที่สุด ในระดับนี้ ไขมันอาจให้พลังงาน 40-60% ทั้งหมดโดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาการออกกำลังกาย ส่วนการออกกำลังกายหนักกว่า 75% VO2max (หัวใจเต้น 160 ครั้งต่อนาที) โดยหลักจะใช้ไกลโคเจนเป็นพลังงาน[21][22]
ในมนุษย์ผู้ไม่ใช่นักกีฬาเมื่อพัก กล้ามเนื้อหลัก ๆ ในร่างกายปกติจะมีพลังงานพอให้ออกกำลังกายอย่างกระฉับกระเฉงเป็นเวลา 2 ชม. การหมดไกลโคเจนเป็นเหตุให้หมดแรงอย่างฉับพลัน แต่ถ้าฝึก หรือออกกำลังหนักน้อยกว่า หรือทานคาร์โบไฮเดรตให้มากในวันก่อนแข่งกีฬา อาจยืดจุดหมดแรงออกไปเกิน 4 ชม.[22]
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกมีมากมายหลายอย่าง โดยทั่วไป จะทำในระดับหนักปานกลางโดยเป็นระยะเวลาค่อนข้างยาว ยกตัวอย่างเช่น การวิ่งทางไกลที่เร็วปานกลางเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก แต่การวิ่งระยะสั้นไม่ใช่ การเล่นเทนนิสเดี่ยวที่ต้องขยับตัวอยู่เกือบตลอดโดยทั่วไปจัดเป็นกิจกรรมแบบแอโรบิก แต่การเล่นกอล์ฟหรือเทนนิสคู่ ที่ขยับตัวระยะสั้น ๆ สลับกับพักที่มีมากกว่า อาจไม่ใช่การออกกำลังกายแบบแอโรบิกโดยหลัก ดังนั้น กีฬาบางชนิดจึงเป็นแบบแอโรบิกโดยธรรมชาติ เทียบกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกโดยเฉพาะ เช่น การเต้นแอโรบิก ที่ออกแบบเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางแอโรบิกและสมรรถภาพทางกาย และมักรวมการใช้กล้ามเนื้อขาโดยหลักหรือโดยส่วนเดียว แม้จะมีข้อยกเว้นบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การพายเรือ 2,000 เมตรหรือยิ่งกว่าเป็นกีฬาแอโรบิกซึ่งออกกำลังกล้ามเนื้อหลายกลุ่มรวมทั้งขา ท้อง หน้าอก และแขน
ประโยชน์
[แก้]ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอรวมทั้ง[23]
- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทางการหายใจ อำนวยให้หายใจเข้าออกได้สะดวก
- เพิ่มความแข็งแรงและขนาดของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มประสิทธิภาพการสูบเลือดและลดอัตราการเต้นหัวใจเมื่อพัก เป็นกระบวนการที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า aerobic conditioning
- เพิ่มประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนและลดความดันโลหิต
- เพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกาย ซึ่งอำนวยการขนส่งออกซิเจน
- ปรับสุขภาพทางใจ ลดความเครียดและการเกิดความซึมเศร้า พร้อมกับเพิ่มสมรรถภาพทางความคิดอ่าน/ทางประชาน[24]
- ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน
งานวิเคราะห์อภิมานงานหนึ่งสำรวจงานศึกษาหลายงานแล้วแสดงว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกช่วยลดระดับ Hb A1C ของคนไข้เบาหวานชนิด 2[25] ดังนั้น การออกกำลังกายแบบนี้จึงลดความเสี่ยงตายเพราะปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือด อนึ่ง กิจกรรมแบบแอโรบิกที่มีระดับการกระทบกระทั่งสูง เช่น จ๊อกกิ้งหรือกระโดดเชือก อาจกระตุ้นให้กระดูกงอก และลดความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนสำหรับทั้งชายหญิง
นอกเหนือประโยชน์ทางสุขภาพ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกยังทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมทั้ง
- เพิ่มโมเลกุลเก็บพลังงาน เช่น ไขมันและคาร์โบไฮเดรตภายในกล้ามเนื้อ ทำให้อดทนยิ่งขึ้น
- การเกิดเส้นเลือดใหม่ที่หน่วยพื้นฐานของกล้ามเนื้อลาย คือ sarcomere ทำให้เลือดไหลผ่านกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
- ทำให้เมแทบอลิซึมที่ใช้ออกซิเจนในกล้ามเนื้อทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้เมื่อออกกำลังอย่างหนัก พลังงานที่ใช้ออกซิเจนจะมีอัตราส่วนสูงขึ้น
- เพิ่มสมรรถภาพใช้ไขมันเป็นพลังงานในช่วงออกกำลังกาย ซึ่งช่วยสงวนไกลโคเจนภายในกล้ามเนื้อ
- เพิ่มความเร็วที่กล้ามเนื้อคืนสภาพหลังจากออกกำลังอย่างหนัก
- มีผลดีทางประสาทชีวภาพ ปรับปรุงการเชื่อมต่อกันของโครงสร้างในสมอง เพิ่มความหนาแน่นของเนื้อเทา เพิ่มกำเนิดประสาท ทำให้คิดอ่านได้ดีขึ้น/ปรับปรุงการทำงานทางประชาน (รวมทั้งการควบคุมพฤติกรรมอาศัยประชานและความจำแบบต่าง ๆ) ปรับปรุงหรือดำรงสุขภาพจิต
ข้อเสียของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกรวมทั้ง
- การบาดเจ็บเพราะออกกำลังมากเกินไป เมื่อออกกำลังที่ทำการซ้ำ ๆ หรือกระทบกระทั่งมาก เช่นวิ่งทางไกล
- ไม่ใช่วิธีสร้างกล้ามเนื้อที่มีประสิทธิภาพ
- จะกำจัดไขมันได้ก็ต่อเมื่อทำอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งประโยชน์ทางสุขภาพและทางประสิทธิภาพของร่างกายอันเป็นผลการฝึก จะได้ก็ต่อเมื่อออกกำลังกายนานพอและบ่อยพอ แหล่งอ้างอิงโดยมากแนะนำให้ทำอย่างน้อย 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์[26]
นพ. คูเปอร์เองนิยามการออกกำลังกายแบบแอโรบิกว่า เป็นสมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนในระดับสูงสุดเมื่อทำงานหนัก และได้อธิบายประโยชน์ทางสุขภาพหลัก ๆ บางอย่างรวมทั้งประสิทธิภาพของปอดเพราะเพิ่มสมรรถภาพการหายใจในระดับสูงสุด ซึ่งทำให้สามารถเวียนอากาศมากกว่าในระยะเวลาที่สั้นกว่า เมื่อศักยภาพการหายใจสูงขึ้น ก็จะสามารถดูดออกซิเจนเข้าไปในเลือดได้เร็วขึ้น และเพิ่มกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ หัวใจจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยปริมาตรเลือด, จำนวนเฮโมโกลบินและเม็ดเลือดแดงก็จะสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มสมรรถภาพการขนส่งออกซิเจนจากปอดไปยังกล้ามเนื้อ เมแทบอลิซึมจะดีขึ้น ทำให้สามารถบริโภคแคลอรีได้สูงขึ้นโดยไม่เพิ่มน้ำหนัก อาจช่วยชะลอภาวะกระดูกพรุนเพราะมีมวลกล้ามเนื้อสูงขึ้น ลดไขมัน และเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก เมื่อสิ่งเหล่านี้ดีขึ้น โอกาสเป็นเบาหวานก็จะลดลงเพราะกล้ามเนื้อเผาน้ำตาลได้ดีกว่าไขมัน ประโยชน์หลักอย่างหนึงก็คือน้ำหนักอาจลดลงอย่างช้า ๆ แต่จะลดเร็วขึ้นถ้าจำกัดแคลอรีที่ทานด้วย ดังนั้น จึงลดการเกิดโรคอ้วน[27]
สมรรถภาพการใช้ออกซิเจน
[แก้]สมรรถภาพทางแอโรบิกหมายถึงสมรรถภาพการทำงานของระบบหัวใจและการหายใจรวมทั้งหัวใจ ปอด และหลอดเลือด เป็นออกซิเจนจำนวนมากที่สุดร่างกายใช้ได้ในช่วงการออกกำลังกายอย่างหนัก ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ[28] เป็นฟังก์ชันของทั้งสมรรถภาพทางระบบหัวใจและการหายใจ และสมรรถภาพการเอาออกซิเจนมาใช้จากเลือดที่ไหลเวียน
เพื่อวัดสมรรถภาพสูงสุด แพทย์อาจตรวจ VO2 max ซึ่งคนไข้จะต้องออกกำลังกายหนักขึ้น ๆ บนสายพาน เริ่มตั้งแต่เดินสบาย ๆ จนถึงวิ่งจนหมดแรง โดยคนไข้จะใส่หน้ากากเพื่อวัดการใช้ออกซิเจน และความเร็วสายพานจะเพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ ค่าวัดยิ่งสูงเท่าไรสำหรับระดับความคงทนของระบบหัวใจและการหายใจ ก็มีออกซิเจนที่ขนส่งไปให้กล้ามเนื้อที่ออกกำลังมากขึ้นเท่านั้น และคนไข้นั้น ๆ ก็สามารถออกกำลังได้หนักมากขึ้นเท่านั้น พูดง่าย ๆ ก็คือ สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนยิ่งมากเท่าไร ก็มีสมรรถภาพทางแอโรบิกสูงขึ้นเท่านั้น การทดสอบด้วย Cooper test หรือ multi-stage fitness test สามารถใช้ประเมินสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนของบุคคลในกิจกรรรมหรืองานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ
ระดับที่สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสามารถเพิ่มได้ด้วยการออกกำลังกายต่างกันมากในประชากรมนุษย์ แม้การเพิ่ม VO2 max เฉลี่ยโดยเป็นการตอบสนองต่อการฝึกจะอยู่ที่ 17% กลุ่มประชากรแต่ละกลุ่มก็จะมีผู้ที่ตอบสนองได้ดีมาก คืออาจเพิ่มสมรรถภาพได้เป็นทวีคูณ และก็จะมีผู้ที่ตอบสนองได้ไม่ดี คือแทบไม่ได้หรือไม่ได้ประโยชน์จากการฝึกเลย[29] งานศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงว่า ประมาณ 10% ของบุคคลที่มีสุขภาพปกติจะไม่สามารถเพิ่มสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนด้วยการออกกำลังกายได้เลย[30] และระดับการตอบสนองจะสืบทอดเชื้อสายได้ ซึ่งแสดงว่าพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดลักษณะปรากฏเช่นนี้[29]
ทางเลือก
[แก้]การออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น การฝึกออกกำลังกายอย่างหนักสลับกับออกกำลังแบบพักระยะสั้น ๆ (high-intensity interval training, HIIT) เพิ่มอัตราเมแทบอลิซึมเมื่อพัก (resting metabolic rate, RMR) ภายใน 24 ชม. หลังจากออกกำลังกาย[31] ซึ่งรวม ๆ แล้วใช้แคลอรีมากกว่าการออกกำลังกายที่เบากว่านั้น ส่วนการออกกำลังแบบเบาจะใช้แคลอรีในระหว่างออกกำลังกายมากกว่า แต่หลังจากนั้นก็ลดลง
รูปแบบต่าง ๆ
[แก้]กลางแจ้ง
[แก้]ในร่มหรือกลางแจ้ง
[แก้]- การว่ายน้ำ
- มวยไทย
- กระโดดเชือก
- แอโรบิก
- จ๊อกกิ้ง
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Sharon A. Plowman; Denise L. Smith (2007-06-01). Exercise Physiology for Health, Fitness, and Performance. Lippincott Williams & Wilkins. p. 61. ISBN 978-0-7817-8406-1. สืบค้นเมื่อ 2011-10-13.
- ↑ Cooper, Kenneth H (1997). Can stress heal?. Thomas Nelson Inc. p. 40. ISBN 978-0-7852-8315-7. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ McArdle, William D; Katch, Frank I; Katch, Victor L (2006). Essentials of exercise physiology. Lippincott Williams & Wilkins. p. 204. ISBN 978-0-7817-4991-6. สืบค้นเมื่อ 2011-10-13.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Hale, Tudor (2008-02-15). "History of developments in sport and exercise physiology: A. V. Hill, maximal oxygen uptake, and oxygen debt". Journal of Sports Sciences (ภาษาอังกฤษ). 26 (4): 365–400. doi:10.1080/02640410701701016. ISSN 0264-0414. PMID 18228167.
- ↑ Bassett, D. R.; Howley, E. T. (1997). "Maximal oxygen uptake: "classical" versus "contemporary" viewpoints". Medicine and Science in Sports and Exercise. 29 (5): 591–603. ISSN 0195-9131. PMID 9140894.
- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1922". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-10-11.
- ↑ Seiler, Stephen (2011). "A Brief History of Endurance Testing in Athletes" (PDF). SportScience. 15 (5). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-12.
- ↑ "History of Exercise Physiology". Human Kinetics Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2018-10-11.
- ↑ Sassatelli, Roberta (2006). "Fit Bodies. Fitness Culture and Gym".
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ KRUCOFF, CAROL (1998-06-22). "Going Back to the Basics With Calisthenics". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0458-3035. สืบค้นเมื่อ 2018-10-08.
- ↑ "Five basic exercises for fitness in 1961". CBC Archives (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-08.
- ↑ Stracher, Cameron. "Running on Empty: An American Sports Tradition Fades" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-11.
- ↑ Cooper, Kenneth H. (1983) [1968]. Aerobics (revised, reissue ed.). Bantam Books. ISBN 978-0553274479.
- ↑ Netburn, Deborah (2009-03-30), "Dr. Kenneth Cooper got a nation moving through aerobics", Los Angeles Times
- ↑ ""Father of Aerobics" Kenneth Cooper, MD, MPH to receive Healthy Cup Award from Harvard School of Public Health". News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 2018-10-08.
- ↑ "Dr. Kenneth Cooper and How He Became Known as the Father of Aerobics". Club Industry. 2008-09-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 2018-10-08.
- ↑ "(PDF) The Fitness Revolution. Historical Transformations in a Global Gym and Fitness Culture". ResearchGate (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-07.
- ↑ Stern, Marc (2008). "The Fitness Movement and the Fitness Center Industry, 1960-2000" (PDF). Business and Economic History On-line. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-07. สืบค้นเมื่อ 2018-10-07.
- ↑ Wayne, Jake (2011-06-14). "Aerobic Vs. Anaerobic Fitness". LIVESTRONG.COM. สืบค้นเมื่อ 2013-04-21.
- ↑ Pedersen, BK (2013). "Muscle as a secretory organ". Compr Physiol. 3: 1337–1362. PMID 23897689.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Fat vs. carbohydrate metabolism during aerobic exercise".
- ↑ 22.0 22.1 Watt, Matthew J; และคณะ (June 2002). "Intramuscular triacylglycerol, glycogen and acetyl group metabolism during 4 h of moderate exercise in man". J Physiol. 541 (Pt 3): 969–78. doi:10.1113/jphysiol.2002.018820. PMC 2290362. PMID 12068055.
- ↑ "Aerobic exercise: the health benefits". myDr. 2010-01-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2016-05-17.
- ↑ "Cardiovascular fitness is linked to intelligence".
- ↑ "Effects of Different Modes of Exercise Training on Glucose Control and Risk Factors for Complications in Type 2 Diabetic Patients A meta-analysis". 2006. doi:10.2337/dc06-1317.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Kent, Michael (1997). aerobic exercise. Food and Fitness: A Dictionary of Diet and Exercise. Oxford University Press.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Cooper, Kenneth H. (2010). "The Benefits Of Exercise In Promoting Long And Healthy Lives - My Observations". Methodist DeBakey Cardiovascular Journal. 6 (4): 10–12. doi:10.14797/mdcj-6-4-10.
- ↑ Hebestreit, Helge; Bar-Or, Oded (2008). The Young Athlete. Blackwell Publishing Ltd. p. 443. ISBN 978-1-4051-5647-9. สืบค้นเมื่อ 2014-07-29.
- ↑ 29.0 29.1 Bouchard, Claude; Ping An; Treva Rice; James S. Skinner; Jack H. Wilmore; Jacques Gagnon; Louis Perusse; Arthus S. Leon; D. C. Rao (1999-09-01). "Familial aggregation of VO(2max) response to exercise training: results from the HERITAGE Family Study". Journal of Applied Physiology. 87 (3): 1003–1008. doi:10.1152/jappl.1999.87.3.1003. PMID 10484570. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2007-07-17.
- ↑ Kolata, Gina (2002-02-12). "Why Some People Won't Be Fit Despite Exercise". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-07-17.
- ↑ "East Tennessee State University Thesis" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-03-19.
อ้างอิงอื่น ๆ
[แก้]- Cooper, Kenneth C. The New Aerobics. Eldora, Iowa: Prairie Wind.
- Donatelle, Rebecca J. Health: The Basics. 6th ed. San Francisco: Pearson Education, Inc. 2005.
- Hinkle, J. Scott. School Children and Fitness: Aerobics for Life. เก็บถาวร 2010-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ann Arbor, MI: ERIC
- Clearinghouse on Counseling and Personnel Services.
- Aberg MA, Pedersen NL, Torén K, Svartengren M, Bäckstrand B, Johnsson T, Cooper-Kuhn CM, Aberg ND, Nilsson M, & Kuhn HG. (2009) Cardiovascular fitness is associated with cognition in young adulthood. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America.
- Guiney, Hayley & Machado, Liana. Benefits of regular exercise for executive functioning in healthy populations. Psychon. Bull. Rev. 2013.
- Rendi, Maria, Szabo, Atila, Szabo, Tomas, Velenczei, Attila & Kovas, Arpad. Acute psychological benefits of aerobic exercise: A field study into the effects of exercise characteristics. Psychol, Health. Med. 2008.