การปะทุของภูเขาไฟกรากะตัว ค.ศ. 1883

พิกัด: 6°06′07″S 5°25′23″E / 6.102°S 5.423°E / -6.102; 5.423
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปะทุของภูเขาไฟกรากะตัว ค.ศ. 1883
ภาพพิมพ์หินของการปะทุ (ประมาณ 1888)
ภูเขาไฟภูเขาไฟกรากะตัว
วันที่สิงหาคม 26-27 1883(พ.ศ. 2426)
ประเภทการปะทุแบบพลิเนียน
สถานที่หมู่เกาะกรากะตัว, ช่องแคบซุนดา, หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
6°06′07″S 5°25′23″E / 6.102°S 5.423°E / -6.102; 5.423
ระดับ6
ผลกระทบการปะทุครั้งสุดท้ายสามารถได้ยินไกลถึง 4,830 กม, ทำให้คนตายอย่างน้อย 36,417 คน; กำมะถันจำนวน 20 ล้านตันปล่อยในบรรยากาศ; ทำให้เกิดฤดูหนาวจากภูเขาไฟ (ลดอุณหภูมิทั่วโลก 1.2 degree Celsius change (2.2 degree Fahrenheit change) เป็นจำนวน 5 ปี)
แผนที่หลังการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัวในปี 1883
  บริเวณที่จมน้ำ
  บริเวณที่ยังหลงเหลืออยู่
  เกาะอื่นๆ

การปะทุของภูเขาไฟกรากะตัว ค.ศ. 1883 ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (หรือปัจจุบันคืออินโดนีเซีย) เริ่มต้นในวันอาทิตย์ 26 สิงหาคม 1883 (ซึ่งมีต้นกำเนิดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมของปีนั้น) และรุนแรงที่สุดเมื่อวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม เมื่อ 70% ของเกาะและหมู่เกาะที่อยู่รอบ ๆ ได้ถูกทำลายเป็นแอ่งยุบปากปล่อง และกิจกรรมเกี่ยวกับแผ่นดินไหวยังถูกรายงานว่าดำเนินการต่อจนถึงกุมภาพันธ์ 1884 ถึงแม้ว่าการรายงานภายหลังถูกยกเลิกโดย Rogier Verbeek หลังจากทำการสำรวจการปะทุ การปะทุครั้งนี้ถือว่าเป็นการปะทุภูเขาไฟที่มีการเสียชีวิตมากที่สุดและเป็นอันตรายที่สุดเท่าที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ อย่างน้อย 36,417 คนได้เสียชีวิตจากการปะทุและมีการเกิดสึนามิหลังจากการปะทุอีกด้วย นอกจากนี้ผลกระทบเพิ่มเติมที่สำคัญก็ยังรู้สึกรอบโลกในหลายวันและหลายสัปดาห์หลังจากการปะทุของภูเขาไฟ