การขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถสองแถวในเชียงใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ รถแดง

การขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยระบบขนส่งหลายรูปแบบในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งทางบก ทางรถไฟ และทางอากาศ อันเป็นระบบสาธารณูปโภคหนึ่งที่สำคัญสำหรับการตั้งถิ่นฐาน จังหวัดเชียงใหม่เป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญแห่งหนึ่งสำหรับการคมนาคมทางบกและทางอากาศ เนื่องด้วยเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคเหนือทั้งด้านการพาณิชย์ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การศึกษาและการขนส่ง เชียงใหม่ประกอบด้วยท่าอากาศยานนานาชาติ 1 แห่ง สถานีรถไฟกลาง 1 แห่ง และสถานีรถโดยสารประจำทางที่สำคัญ 3 แห่ง

ทางถนน[แก้]

แผนที่โครงข่ายเส้นทางหลักในจังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก

สำหรับวิธีการเดินทางภายในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วนสีแดง-เหลืองเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ "สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1" (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัดคือ "สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2" และ "สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3" (สถานีขนส่งอาเขต)

ถนนระหว่างจังหวัด[แก้]

การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดเชียงใหม่โดยทางรถยนต์ เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้าย ผ่านจังหวัดลำพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่

เส้นทางหลักเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงมีดังนี้

สำหรับจังหวัดตากไม่มีเส้นทางหลักเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างจังหวัด

ถนนระหว่างอำเภอ[แก้]

การคมนาคมทางรถยนต์ภายในตัวจังหวัด ระหว่างอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ระยะทางระหว่างอำเภอที่ไกลที่สุดจากอำเภอเมืองคือ อำเภออมก๋อย ระยะทาง 179 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางราว 4 ชั่วโมง ส่วนอำเภอที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอสารภี 9 กิโลเมตร โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เรียงจากอำเภอใกล้ที่สุด ไปถึงไกลที่สุด[1] ดังนี้

ถนนในเมืองเชียงใหม่[แก้]

แผนที่โครงข่ายถนนหลักบริเวณคูเมืองเชียงใหม่และชุมชนทางทิศตะวันออก
การจราจรบนถนนสุเทพ อำเภอเมือง มองไปทางทิศตะวันตกซึ่งมีฉากหลังเป็นดอยสุเทพ

เส้นทางหลักสำหรับการคมนาคมในตัวเมืองเชียงใหม่ประกอบด้วย ถนนในเขตคูเมืองเก่า ส่วนใหญ่วางตัวในทิศเหนือ–ใต้ และทิศตะวันออก–ตะวันตก ตัดกันเป็นตาราง ถนนรอบคูเมือง มีทั้งฝั่งในและฝั่งนอก แต่ละฝั่งจะเดินรถทางเดียว และทั้งสองฝั่งเดินรถสวนทางกัน ถนนชุมชนนอกคูเมือง และถนนที่เชื่อมต่อกับชานเมืองและอำเภอใกล้เคียง การกระจายตัวของถนนในเขตเมืองเชียงใหม่มีแนวโน้มแผ่ขยายออกทุกทิศทาง ยกเว้นทิศตะวันตกซึ่งมีดอยสุเทพขวางไว้และยังเป็นเขตอุทยานแห่งชาติทำให้ไม่สามารถขยายชุมชนและถนนไปทางทิศดังกล่าวได้ ถนนหลักสำหรับการสัญจรภายในเมืองเชียงใหม่ อาทิเช่น

ถนนรอบและในคูเมือง
ถนนนอกคูเมือง
ถนนวงแหวน

ถนนหลักที่รองรับการคมนาคมระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับเขตชานเมือง อำเภอใกล้เคียง และจังหวัดใกล้เคียง ประกอบด้วยถนนสายหลักที่นำไปยังเขตชานเมืองหรืออำเภอใกล้เคียง และถนนวงแหวนที่เชื่อมต่อถนนสายหลักข้างต้นเข้าด้วยกัน ซึ่งถนนวงแหวนมีจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่

  1. วงแหวนรอบที่หนึ่ง ประกอบด้วยถนนสองสาย ได้แก่
  2. วงแหวนรอบที่สอง หรือวงแหวนรอบกลาง คือ ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
  3. วงแหวนรอบที่สาม หรือวงแหวนรอบนอก คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121 (วงแหวนรอบที่สาม, วงแหวนรอบนอก–คลองชลประทาน)

ส่วนถนนสายหลักระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับอำเภออื่น ๆ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่

ทางรถไฟ[แก้]

สถานีรถไฟเชียงใหม่

สถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในจังหวัดเชียงใหม่ คือสถานีรถไฟเชียงใหม่ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง และลำพูน เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมวันละ 14 ขบวน (ไป 7 กลับ 7) และนครสวรรค์-เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวน (ไป-กลับ) ขบวนรถที่เข้า-ออกเชียงใหม่ มีดังนี้

  • รถด่วนพิเศษ
    • ข.9/10 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ (รถด่วนพิเศษอุตราวิถี)
    • ข.7/8 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ ใช้รถดีเซลรางปรับอากาศ ชั้น 2 รุ่น แดวู ทำขบวนนี้
    • ข.13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ มีเฉพาะรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 (บนอ.ป.) และชั้นที่ 2 (บนท.ป.)
  • รถด่วน
    • ข.51/52 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
  • รถเร็ว
    • ข.109/102 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
  • รถท้องถิ่น
  • ขบวนรถในอดีต
    • ขบวนรถด่วนพิเศษนครพิงค์ 1/2 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ (ให้บริการถึงวันที่ 10-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559)
    • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 11/12 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
    • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 11/10 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
    • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 9/12 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ (เปลี่ยนเลขขบวนเป็น ข.7/8)
    • ขบวนรถพิเศษโดยสารที่ 963/964 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ (ด่วนพิเศษราชพฤกษ์) ให้บริการในช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - 31 มกราคม พ.ศ. 2550

ทางอากาศ[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่มีท่าอากาศยานเชียงใหม่ ที่มีความหนาแน่นของผู้ใช้บริการเป็นอันดับ4ของประเทศรองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ตามลำดับ โดยมีเที่ยวบินไป-กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ โดยสายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินในแถบเอเชียมีเที่ยวบินโดยตรงจากเชียงใหม่ไปยังหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลีใต้ ลาว เมียนมาร์ ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเก๊า เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]