กองทัพบกสหราชอาณาจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพบกสหราชอาณาจักร
British Army
ประจำการ1660[1][2][nb 1]
ประเทศ สหราชอาณาจักร[nb 2]
รูปแบบกองทัพบก
บทบาทกองกำลังภาคสนาม
กำลังรบประจำการ 81,500 คน [nb 3]
กองกำลังสำรอง 27,000 คน[nb 4]
ขึ้นกับกองทัพสหราชอาณาจักร
เว็บไซต์www.army.mod.uk
ผู้บังคับบัญชา
จอมทัพสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
เสนาธิการทหารบกพลเอก เซอร์ แพทริก แซนเดอร์
รองเสนาธิการทหารบกพลโท ชารอน เนสมิธ
ผู้บังคับหมู่กองทัพบกพันจ่าเอก พอล คาร์นีย์
เครื่องหมายสังกัด
ธงศึก[nb 5]
ธงไม่เป็นทางการ

กองทัพบกสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: British Army) เป็นกองกำลังภาคพื้นดินที่สำคัญของสหราชอาณาจักรซึ่งดูแลและควบคุมโดยกองทัพสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2561 มีบุคลากรในกองทัพที่ประจำการอยู่ (เวลาเต็ม) มากถึง 81,000 คน และมีบุคลากรที่ไม่ประจำการ (ทำเป็นกะ) 27,000 คน[4]

กองทัพบกสหราชอาณาจักรในยุคสมัยใหม่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2250 โดยยุคแรกเริ่มกองทัพบกอยู่ในชื่อว่า กองทัพอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2203 คำว่า "กองทัพบกสหราชอาณาจักร" ได้รับแต่งตั้งชื่อในปี พ.ศ. 2250 หลังจากมีพระราชบัญญัติสหภาพ ระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์[5][6] บุคลากรในกองทัพบกสหราชอาณาจักรทุกคนจะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร ในฐานะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพ[7] ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689 ได้กล่าวว่า กองกำลังที่จะรักษาพระองค์นั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากมกุฎราชกุมาร ดังนั้น กองทัพบกสหราชอาณาจักรจึงไม่มีคำว่า "กองทัพในสมเด็จฯ"[8] อย่างไรก็ตาม รัฐสภาได้มีการให้อนุมัติให้กองทัพออกพระราชบัญญัติกองกำลังทางทหาร ทุกๆ 5 ปี กองทัพบกสหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารของกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร และต้องอยู่ใต้บัญชาการของเสนาธิการทหารบก[9]

กองทัพบกสหราชอาณาจักรได้เคยเข้าร่วมมหาสงครามครั้งใหญ่ระดับโลกมาแล้วหลายสงคราม อาทิเช่น สงครามเจ็ดปี, สงครามนโปเลียน, สงครามไครเมีย และสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง การที่สหราชอาณาจักรชนะในมหาสงครามที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบนโลกนั้น ทำให้สหราชอาณาจักรมีความเป็นผู้นำทางด้านทหารและเสรษฐกิจอยู่ในระดับสูง[10][11] หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็นนั้น กองทัพบกสหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมรบกับพื้นที่ที่ยังมีความขัดแย้งอยู่ร่วมกับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร หรือไม่ก็ช่วยเหลือทางด้านทหารกับกองกำลังสหประชาชาติ[12]

เชิงอรรถ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. English/Scottish parliamentary control 1689, British parliamentary control 1707.[3]
  2. Figure current as of 1 May 2018. Includes approx. 4000 soldiers who have completed basic Phase 1 training, but who have not completed trade-specific Phase 2 training
  3. Figure current as of 1 May 2018.
  4. 1707–1800

อ้างอิง[แก้]

  1. Clifford Walton (1894). History of the British Standing Army. A.D. 1660 to 1700. pp. 1–2.
  2. Noel T. St. John Williams (1994). Redcoats and courtesans: the birth of the British Army (1660–1690). Brassey's. p. 16.
  3. Chandler, David (2003). The Oxford history of the British Army. Oxford University Press. p. xv. ISBN 978-0-19-280311-5. It is generally accepted that the regular standing army in Britain was officially created – in the sense of being fully accommodated within parliamentary control in 1689, although it is, strictly speaking, only correct to refer to the British army from the Act of Union with Scotland in 1707.
  4. "UK Armed Forces Monthly Personnel Report – Jan 2018" (PDF).
  5. Williams, Noel T. St John (1 January 1994). Redcoats and courtesans: the birth of the British Army (1660–1690) (ภาษาอังกฤษ). Brassey's (UK). pp. 1–2.
  6. Walton, Clifford (1 January 1894). History of the British Standing Army. A.D. 1660 to 1700 (ภาษาอังกฤษ). Harrison and Sons. p. 16.
  7. "Commanding Officers Guide. Manual of Service Law (JSP 830, Volume 1, Chapter 18)" (PDF).
  8. "Bill of Rights 1689". UK Parliament (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 March 2017.
  9. cgsmediacomma-amc-dig-shared@mod.uk, The British Army,. "The British Army – Higher Command". www.army.mod.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 March 2017.{{cite web}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  10. Louis, William Roger; Low, Alaine M.; Porter, Andrew (1 January 2001). The Oxford History of the British Empire: The nineteenth century (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 332. ISBN 978-0-19-924678-6.
  11. Johnston, Douglas; Reisman, W. Michael (26 December 2007). The Historical Foundations of World Order: The Tower and the Arena (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 508. ISBN 978-90-474-2393-5.
  12. cgsmediacomma-amc-dig-shared@mod.uk, The British Army,. "The British Army – Operations and Deployments". www.army.mod.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 March 2017.{{cite web}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]