กระวานเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระวานเทศ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae
สกุล: Elettaria
สปีชีส์: E.  cardamomum
ชื่อทวินาม
Elettaria cardamomum
(L.) Maton
ชื่อพ้อง
  • Amomum cardamomum L.
  • Amomum repens Sonn., illegitimate superfluous name
  • Amomum racemosum Lam., illegitimate superfluous name
  • Alpinia cardamomum (L.) Roxb.
  • Cardamomum officinale Salisb.
  • Zingiber cardamomum (L.) Stokes
  • Matonia cardamomum (L.) Stephenson & J.M.Churchill
  • Cardamomum verum Oken, illegitimate superfluous name
  • Elettaria repens Baill., illegitimate superfluous name
  • Elettaria cardamomum var. minor Watt, not validly published
  • Cardamomum elletari Garsault, rejected name
  • Zingiber minus Gaertn.
  • Amomum ensal Raeusch.
  • Amomum uncinatum Stokes
  • Cardamomum malabaricum Pritz.
  • Cardamomum minus (Gaertn.) Kuntze
  • Elettaria cardamomum var. minuscula Burkill, without description

กระวานเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Elettaria cardamomum) เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Zingiberaceae ชื่ออื่น ๆ เช่น กระวานแท้ เอลา ลูกเอ็ล ลูกเอ็น กระวานขาว กะวาน ส่วนของต้นเกิดมาจากการรวมตัวกันของกาบใบที่เจริญขึ้นมาเหนือดิน จนมีลักษณะเป็นกอ ใบรูปหอกเรียงสลับกัน ใบด้านหลังมีสีเข้มกว่าและเป็นมัน ผลมีลักษณะยาวรี รูปไข่ หัวท้ายแหลม ขนาดผลเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลแก่แห้งสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นเฉพาะตัว ภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง เมื่อนำผลตัดขวาง รอยตัดจะเป็นแบบสามเหลี่ยม ส่วนปลายผลจะงอนเหมือนจะงอยปากนก เมื่อแก่จะแตกตามยาวเป็น 3 ส่วน ภายในมีเมล็ดมาก แต่ละผลมี 15-20 เมล็ด มีสีน้ำตาลอมดำ อัดแน่นเป็นกลุ่ม รูปร่างเป็นสามเหลี่ยมแบน แข็ง ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร มีเยื่อหุ้มเมล็ด เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อน ภายในผลมีน้ำมันหอมระเหย ส่วนใหญ่อยู่ที่เมล็ด [1]

กระวานเทศมีสรรพคุณเป็นยา ตำรายาไทย ใช้ ผล บำรุงธาตุ กระจายโลหิต เสมหะ ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้อาการเกร็งของลำไส้ ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นยาขับลม ในจีนและอินเดีย ใช้เป็นยาขับลม และรักษาอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ แต่พบว่าเป็นพิษในหนู โดยหนูที่รับประทานสารสกัดเอทานอลของกระวานเทศ ในขนาด 0.3 มก/กก. เป็นเวลา 7 วัน ทำให้น้ำหนักของหนูลดลง[1]

กระวานเทศเป็นหนึ่งในเครื่องเทศที่ราคาแพงที่สุด เป็นรองเพียงวานิลลาและหญ้าฝรั่น ประเทศผู้ส่งออกหลักได้แก่ กัวเตมาลา อินเดีย​ ศรีลังกา เนปาล ปาปัวนิวกีนี แทนซาเนีย[2]

อ้างอิง[แก้]