กระทงลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทงลาย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Celastrales
วงศ์: Celastraceae
สกุล: Celastrus
สปีชีส์: C.  paniculatus
ชื่อทวินาม
Celastrus paniculatus
Willd.
ชื่อพ้อง

Celastrus dependens Wall.

เมล็ดกระทงลาย

กระทงลาย หรือกระทุงลาย หรือหมากแตก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Celastrus paniculatus; ภาษาสันสกฤต: jyotishmati ज्योतीष्मती, ภาษาฮินดี: Mal-kangani माल-कांगनी, ภาษาจีน: deng you teng 灯油藤)[1][2][3] เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae เป็นพืชที่พบในอินเดีย[1][4] และในประเทศไทย เป็นไม้เลื้อย ใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ดอกแยกเพศ แยกต้น ดอกตัวผู้มีฐานรองดอกรูปถ้วย กลีบดอกสีเขียว ผลกลม แห้งแตก เมล็ดมีเยื่อสีน้ำตาลแดงหรือแดงสด ยอดอ่อนลวกรับประทานกับน้ำพริก ลำต้นใช้เป็นส่วนผสมในยารักษาโรคมาลาเรีย โรคบิด หรือใช้เป็นยากระตุ้นประสาท เมล็ดมีน้ำมัน คั้นมาทำน้ำมันใส่ตะเกียง หรือใช้นวดให้กล้ามเนื้อคลายตัว ในอินเดียใช้น้ำมันของพืชนี้เป็นยา[1][5] สารสกัดด้วยน้ำจากเมล็ดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความจำ[6] เมล็ดรับประทานไม่ได้ ทำให้ระคายคอ

อ้างอิง[แก้]

  • สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2544 หน้า 83
  1. 1.0 1.1 1.2 Premila, M. S. (2006). Ayurvedic Herbs: A Clinical Guide to the Healing Plants of Traditional Indian Medicine. New York: Haworth Press. ISBN 0-7890-1768-7.
  2. H. F. Macmillan (1989). Handbook of Tropical Plants. Columbia, Mo: South Asia Books. ISBN 81-7041-177-7.
  3. Putz, Francis E.; Mooney, Harold A. (1991). The Biology of vines. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-39250-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Zhixiang Zhang, Michele Funston: Celastrus, in Flora of China, Vol. 11
  5. Chopra, R. N. Indigenous Drugs of india. Kolkata: Academic Publishers. ISBN 978-81-85086-80-4.
  6. Bhanumathy M. Harish MS. Shivaprasad HN. Sushma G."Nootropic activity of Celastrus paniculatus seed.Pharmaceutical Biology. 48(3):324-7, 2010 Mar.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]