กฎหมายไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎหมายไทยเป็นแบบซีวิลลอว์ แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากคอมมอนลอว์ (ดูระบบกฎหมายโลก)

บ่อเกิดแห่งกฎหมาย[แก้]

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์และสี่ราชอาณาจักรก่อนหน้าซึ่งนับตามแบบ ที่เรียกรวม ๆ ว่าสยามนั้น มีรัฐธรรมนูญซึ่งมิได้จัดทำประมวลกฎหมายเป็นส่วนใหญ่จนปี 2475 ในคำปรารถถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2451 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน พระมหากษัตริย์ตรัสว่า "ในสมัยโบราณ พระมหากษัตริย์แห่งชาติสยามปกครองราษฎรของพระองค์ด้วยกฎหมายซึ่งเดิมมาจากมนูธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นกฎหมายที่ใช้ทั่วไปในหมู่ชาวอินเดียและประเทศเพื่อนบ้าน"

บ่อเกิดหลักของกฎหมายไทยมีดังนี้

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญที่ใช้ฉบับปัจจุบันมิได้
  • พระราชบัญญัติและบทกฎหมาย ซึ่งหลายฉบับสร้างและแก้ไขเพิ่มเติม เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายที่ดิน ประมวลรัษฎากร กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายแพ่งแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล กฎหมายแรงงาน และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นต้น

ฐานเกี่ยวกับการศาลในประเทศไทยไม่ผูกพัน ศาลไม่ถูกผูกพันให้ยึดคำวินิจฉัยของศาลเอง ศาลระดับล่างไม่ถูกผูกพันให้ยึดบรรทัดฐานที่ศาลระดับสูงกว่ากำหนด ทว่า กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากบรรทัดฐานคอมมอนลอว์ ฉะนั้น ศาลจึงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากคำวินิจฉัยก่อน ๆ หรือคำวินิจฉัยของศาลระดับสูงกว่า ศาลฎีกาจัดพิมพ์คำวินิจฉัยของศาลเอง เรียก "คำพิพากษาศาลฎีกา" ซึ่งมักใช้เป็นอำนาจชั้นรองและกำหนดเลขตามปีที่ออก ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ

กฎหมายแพ่ง[แก้]

ในปัจจุบัน กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก

เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัด

กฎหมายมหาชน[แก้]

รัฐธรรมนูญ[แก้]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยซึ่งอยู่เหนือกว่ากฎหมายที่รัฐสภาออก รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดความชอบต่อรัฐธรรมนูญ (constitutionality) ของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ร่างกฎหมาย การแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการของรัฐ และประเด็นเกี่ยวกับพรรคการเมือง

กฎหมายอาญา[แก้]

ความผิดอาญาระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ตลอดจนบทกฎหมายอื่นอีกมาก มีการวางเค้าโครงวิธีพิจารณาความอาญาในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  • มีบทกฎหมายหลายฉบับว่าด้วยความผิดอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 นิยามยาเสพติด จำแนกเป็นประเภท ให้รายละเอียดความผิดและวางกรอบการลงโทษ การลงโทษสำหรับการผลิต นำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดอยู่ในมาตรา 65–102 ซึ่งรวมโทษปรับ จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต กฎหมายยาเสพติดอื่นมีพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519

กฎหมายอาญาไทยมีบทลงโทษ 5 สถาน ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเป็นมาตราที่มีการใช้กฎหมายผิดหลัก เช่น ในคำพิพากษาฎีกาที่ 6374/2556 ขัดต่อหลักกฎหมายอาญา "ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย" และข้อห้ามใช้กฎหมายโดยเทียบเคียง [1]

กฎหมายปกครอง[แก้]

คดีปกครองอย่างการพิจารณาทบทวนในศาลอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เขตอำนาจของศาลมีการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ (เช่น เกินอำนาจ แย้งกันกับกฎหมาย ไม่สุจริต เป็นต้น) ละเลยหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าอย่างไม่มีเหตุผลอันสมควร การละเมิดหรือความรับผิดอื่นของหน่วยงานของรัฐ สัญญาทางปกครอง สั่งให้บุคคลกระทำบางสิ่งหรือคำสั่งห้ามหรือคุ้มครองชั่วคราว

กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง[แก้]

การตรวจลงตรา (visa) และกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมีในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และการแก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของตำรวจเป็นผู้ปฏิบัติกฎหมาย ขณะที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งการอย่างให้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่

การบังคับใช้กฎหมาย[แก้]

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้อำนาจทหารกักขังบุคคลได้โดยไม่ตั้งข้อหาหรือการพิจารณาคดีไม่เกินเจ็ดวัน[2] นอกจากนี้ ยังมีประกาศ คสช. ให้อำนาจทหารยศร้อยโทขึ้นไปมีอำนาจของตำรวจในคดีอาญา 27 ชนิด[2]

กระบวนการยุติธรรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รวมความเห็นนักวิชาการ คดีหมิ่นฯ ร.4
  2. 2.0 2.1 "Country Reports on Human Rights Practices for 2016: Thailand". US Department of State. US Department of State. 2016. สืบค้นเมื่อ 3-3-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)