ทอง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ท็อฺง, ท่อง, ท้อง, และ ท๋อง

ภาษาไทย[แก้ไข]

ทองคำ

รากศัพท์[แก้ไข]

จากภาษาจีนเก่า (OC *doːŋ, “ทองแดง”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ທອງ (ทอง), ภาษาเขมร ទង់ (ทง̍), ថង (ถง) และ ទង (ทง), ภาษาเวียดนาม đồng

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ทอง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtɔɔng
ราชบัณฑิตยสภาthong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰɔːŋ˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

ทอง

  1. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า, เรียกเต็มว่า ทองคำ
  2. เรียกสิ่งที่ทำด้วยทองเหลือง ว่า ทอง ก็มี
    กระทะทอง
    หม้อทอง
  3. ใช้ประกอบสิ่งต่างบางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ
    ขนมทอง
    ขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีน้ำตาลหยอดข้างบน
    ปลาทอง
    ปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลืองหรือแดงส้ม
  4. (ภาษาปาก, สแลง) ขี้

คำพ้องความ[แก้ไข]

ดูที่ อรรถาภิธาน:ทอง

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ทอง

  1. สีเหลืองที่มีความแวววาวอย่างโลหะทอง
  2. สีคล้ายเหลือง
    เนื้อทอง
    ผมทอง
    แสงทอง

ภาษากฺ๋อง[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาไทย ทอง

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ทอง

  1. ทองคำ

คำพ้องความ[แก้ไข]

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ทอง

  1. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง ลงรักแล้วปิดทองคำเปลว นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า

ภาษาเลอเวือะตะวันตก[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ทอง

  1. ย่าม

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ทอง

  1. ทองแดง