Xenotilapia papilio

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การ์ตูน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: ทีทูวัน Actinopterygii
อันดับ: watch Perciformes
วงศ์: เบียร์ช้าง Cichlidae
วงศ์ย่อย: เบียร์ Pseudocrenilabrinae
เผ่า: Ectodini
สกุล: Xenotilapia
สปีชีส์: X.  papilio
ชื่อทวินาม
www. Xenotilapia papilio
Büscher, 1990

Xenotilapia papilio เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae)

X. papilio ถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1990 โดย ไฮน์ เฮินริช บุชเชอร์ ชาวเยอรมันขณะดำน้ำทางตอนใต้ของโมบา ในบริเวณที่เรียกว่า "เทมเว โด'" (Tembwe Deux) ในเขตแดนประเทศคองโก

X. papilio มีความแตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันตรงที่ มักจะพบตามบริเวณที่เป็นโชดหินน้ำลึก ไม่ได้อยู่ตามพื้นทรายเหมือนชนิดอื่น ๆ โดยจะพบอาศัยในเขตน้ำลึกราว 40 เมตร มีแหล่งหากินตามโขดหินหรือกองหินใต้น้ำ ปลาที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะจับคู่ไปไหนมาไหนด้วยกัน ไม่นิยมอยู่เป็นฝูงเหมือนตอนยังเป็นปลาวัยอ่อน มีพฤติกรรมก้าวร้าวกับปล่ชนิดเดียวกันที่บุกรุกเข้ามายังเขตของตัวเอง ปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียแยกแยะออกลำบาก เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกันมาก เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบก้นจะแหลมกว่า ขณะที่ตัวเมียจะทู่กว่า และมีช่องเพศที่ต่างกัน

X. papilio นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเหมือนปลาหมอสีชนิดอื่น ๆ โดยสามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่ตู้ขนาด 36 นิ้วขึ้นไป และสามารถขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง โดยปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์ ต้องมีความสมบูรณ์พร้อมและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปลาตัวผู้จะก่อนรังขนาดตื้น ๆ เป็นแอ่ง เรียกร้องความสนใจจากปลาตัวเมียให้เข้ามาวางไข่ เมื่อปลาปล่อยไข่ จะฟักไข่ด้วยการอมไว้ในปากของปลาตัวเมีย ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-20 วัน เมื่อลูกปลามีความสมบูรณ์จะว่ายออกจากปากแม่ปลา โดยในช่วงแรก ๆ แม่ปลาจะคอยดูแลลูกไปสักระยะ ถ้ามีอันตราย ลูกปลาจะว่ายเข้าไปหลบภัยในปากของแม่ แม่ปลาจะเลี้ยงลูกไประยะหนึ่ง และจะปล่อยให้ลูกปลาหากินเองต่อไป[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. หน้า 78-82, XENOTILAPIA PAPILO โดย ปลาบ้านโรม. "Cichild Corner". นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 39: กันยายน 2013

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Xenotilapia papilio ที่วิกิสปีชีส์