ตาเหล่ออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Walleye)
ตาเหล่ออก
(Exotropia)
ตาขวาที่เหล่ออก
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10H50.1, H50.3
ICD-9378.1, 37815
DiseasesDB33268
MeSHD005099

ตาเหล่ออก[1] (อังกฤษ: Exotropia) เป็นรูปแบบหนึ่งของอาการตาเหล่ที่ตาเบนออกด้านข้าง โดยเป็นอาการตรงข้ามกับตาเหล่เข้า (esotropia) คนที่ตาเหล่ออกมักจะเห็นภาพซ้อน (diplopia) ตาเหล่ออกเป็นบางครั้งบางคราวมักจะเป็นเรื่องสามัญ โดยอาการ Sensory exotropia (ตาเหล่ออกเหตุระบบรับความรู้สึก) จะเกิดเพราะสายตาไม่ดี ส่วนอาการตาเหล่เข้าในวัยทารก (Infantile exotropia, congenital exotropia) จะเห็นได้ตั้งแต่ปีแรกของชีวิต และมีคนไข้จำนวนน้อยกว่าอาการอีกแบบที่เรียกว่า essential exotropia ซึ่งปกติจะปรากฏอย่างชัดเจนหลายปีต่อมา

สมรรถภาพของสมองในการเห็นวัตถุเป็น 3 มิติ จะขึ้นอยู่กับแนวตาที่ถูกต้อง เมื่อตาทั้งสองอยู่ในแนวที่ถูกต้องและมองไปทีเป้าหมายเดียวกัน สมองซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นจะรวมภาพจากทั้งสองตาเป็นภาพเดียวกัน เมื่อตาข้างหนึ่งเหล่เข้า เหล่ออก เหล่ขึ้น หรือเหล่ลง สมองอาจเห็นเป็นสองภาพ ซึ่งทำให้ไม่สามารถรู้ใกล้ไกลและเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

คำภาษาอังกฤษมาจากคำภาษากรีก exo ซึ่งแปลว่า "ออกข้างนอก" และ trope ซึ่งแปลว่า "การหัน"[2]

อาการ[แก้]

อาการแรกสุดที่เห็นได้ปกติจะเป็นการเหล่ออกของตา ซึ่งตอนแรกอาจเป็นบางครั้งบางคราว เกิดเมื่อเด็กกำลังฝันกลางวัน รู้สึกไม่สบาย หรือเหนื่อย และอาจจะมองเห็นได้ง่ายเมื่อกำลังมองอะไรไกล ๆ การหรี่ตาหรือการถู/ขยี้ตาบ่อย ๆ ก็เป็นอาการที่สามัญด้วย เด็กอาจจะไม่พูดถึงการเห็นภาพซ้อน และอาจปิดตาข้างหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา

โดยทั่วไปแล้ว ความตาเหล่ออกจะเป็นมากขึ้นและเป็นนานขึ้น เมื่อปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตาจะเหล่ออกทั้งเมื่อมองวัตถุใกล้ ๆ หรือไกล ๆ และถ้าไม่รักษา ตาจะเหล่ออกอยู่ตลอด ซึ่งทำให้เสียการเห็นใกล้ไกล

ในเด็กเล็ก ๆ ที่มีตาเหล่ทุกประเภท สมองจะเรียนรู้ไม่สนใจภาพที่มาจากตาซึ่งเข โดยเห็นแต่ภาพที่มาจากตาซึ่งดีกว่า นี่เป็นอาการของตามัว/ตาขี้เกียจ และเป็นผลจากการเสียการเห็นภาพเดียวด้วยสองตา ซึ่งทำการรับรู้ใกล้ไกลให้พิการ ในผู้ใหญ่ที่เกิดตาเหล่ การเห็นภาพซ้อนบางครั้งจะเกิดขึ้น เพราะสมองได้ฝึกรับรู้ภาพจากทั้งสองตาและไม่สามารถทิ้งข้อมูลจากตาที่ไม่ดีได้ นอกจากนั้นแล้ว ผู้ใหญ่ที่มีตาเหล่ออกตั้งแต่วัยเด็ก สมองอาจจะได้ภาพจากทั้งสองตา แต่จะใช้ข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งจากตาที่ไม่ดี และดังนั้น จึงไม่เห็นภาพซ้อนและกลับเห็นภาพส่วนรอบนอกที่ดีขึ้นในตาข้างที่ไม่ดี

เหตุ[แก้]

เหตุของตาเหล่ออกยังไม่ชัดเจน ลูกตามีกล้ามเนื้อ 6 มัดที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหว โดย 4 มัดขยับตาขึ้นและลง และ 2 มัดขยับตาไปทางซ้ายขวา กล้ามเนื้อเหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกันอย่างถูกต้องเพื่อสมองจะเห็นเป็นภาพเดียวจากทั้งสองตา ถ้ามีกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งทำงานได้ไม่สมบูรณ์ อาจจะมีอาการตาเหล่แบบใดแบบหนึ่งเกิดขึ้น ตาเหล่จะสามัญมากกว่าในเด็กผู้มีโรคที่มีผลต่อสมอง เช่น อัมพาตสมองใหญ่ กลุ่มอาการดาวน์ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ และเนื้องอกในสมอง งานศึกษาหนึ่งพบว่า เด็กที่ตาเหล่ออกมีโอกาสเกิดโรคทางจิตเวชสามเท่ามากกว่าปกติ[3][4][5]

การรักษา[แก้]

การตรวจตาอย่างละเอียดรวมทั้งโครงสร้างภายในและการเคลื่อนไหวของตา จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการตาเหล่ออกอย่างถูกต้อง แม้แว่นตา ผ้าปิดตา การฝึกตา หรือปริซึม อาจลดหรือช่วยลดการตาเหล่ออกของเด็กบางคน แต่บ่อยครั้งก็ยังต้องผ่าตัด

มีรูปแบบสามัญของตาเหล่ออกที่รู้จักว่า convergence insufficiency ซึ่งตอบสนองได้ดีต่อการบำบัดสายตารวมทั้งการฝึกตา เป็นอาการที่ตาทั้งสองไม่ทำงานร่วมกันเมื่อมองใกล้ ๆ เช่น เมื่ออ่านหนังสือ แทนที่ตาจะเล็งไปที่วัตถุใกล้ ๆ ร่วมกัน ข้างหนึ่งกลับเหล่ออก

ส่วนอาการตาเหล่ออกต่อมา (Consecutive exotropia) เป็นตาเหล่ออกทีเกิดหลังจากตาเหล่เข้าที่เกิดก่อน บ่อยที่สุดเกิดจากการผ่าตัดแก้ปัญหาตาเหล่เข้าที่ทำมากเกิน ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยการผ่าตัดอีกหรือการบำบัดสายตา โดยการบำบัดสายตาจะดีที่สุดเมื่ออาการตาเหล่ต่อมาเป็นเพียงบางครั้งบางคราว สลับข้าง และเป็นเพียงเล็กน้อย[6] (แต่ตาเหล่ออกต่อมาก็สามารถเกิดเองจากตาเหล่เข้า โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือรักษาด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน[7])

เพราะความเสี่ยงของการผ่าตัด และเพราะคนไข้ 35% จะต้องผ่าตัดอีก คนไข้จึงมักจะเลือกบำบัดสายตา (vision therapy) ก่อน ซึ่งจะมีการบริหารฝึกตา

การผ่าตัดรักษาตาเหล่บ่อยครั้งจะแนะนำถ้าตาเหล่ออกมากกว่าครึ่งตลอดทั้งวัน หรือถ้าเป็นบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ และก็แนะนำด้วยถ้าเด็กตาเหล่ออกมากเมื่ออ่านหนังสือหรือดูวัตถุใกล้ ๆ หรือถ้ามีหลักฐานว่า ตาทั้งสองเสียสมรรถภาพในการมองเห็นเป็นภาพเดียว ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้ อาจจะเลื่อนการผ่าตัดเพื่อสังเกตการณ์ต่อไปโดยใส่หรือไม่ใส่แว่น และ/หรือให้ปิดผ้า ในกรณีที่เป็นน้อยมาก มีโอกาสด้วยว่า อาจจะหายไปเองโดยให้เวลา ผลสำเร็จในระยะยาวของการผ่าตัดรักษาอาการตาเหล่หลายอย่าง รวมทั้งตาเหล่ออกที่เป็นชั่วครั้งชั่วคราว ยังมีหลักฐานไม่ชัดเจน และการผ่าตัดบ่อยครั้งมีผลเป็นอาการหนักขึ้นเนื่องจากทำเกิน หลักฐานจากวรรณกรรมทางการแพทย์บอกนัยว่า การผ่าตัดที่ตาข้างเดียวมีผลดีกว่าการผ่าตัดทั้งสองข้าง สำหรับคนไข้ที่มีตาเหล่ออกเป็นบางครั้งบางคราว[8]

การผ่าตัดแก้ตาเหล่ออกจะต้องผ่าเนื้อเยื่อที่ปกปิดตาเพื่อให้เข้าถึงกล้ามเนื้อตา หลังจากนั้นก็จะจัดการกล้ามเนื้อที่เป็นเป้าหมายเพื่อให้ตาสามารถขยับได้อย่างสมควร การผ่าตัดจะทำโดยให้ยาสลบ คนไข้จะฟื้นสภาพได้อย่างรวดเร็ว และโดยมากจะสามารถทำกิจกรรมปกติได้ภายในไม่กี่วัน หลังจากผ่าตัด อาจจะต้องใส่แว่นสายตา และในกรณีจำนวนมาก จะต้องผ่าตัดเพิ่มเพื่อรักษาตาให้ตรง

ถ้าจำเป็นต้องผ่าตัดเด็ก ก็มักจะทำก่อนเข้าโรงเรียน เพราะจะง่ายกว่าสำหรับเด็ก และให้โอกาสตาทำงานร่วมกันได้ดีมากกว่า เหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ ทั้งหมด ก็มีความเสี่ยงบ้าง แต่การผ่าตัดรักษาตาเหล่ปกติจะปลอดภัยและได้ผล

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "exotropia", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) ๑. ตาเหล่ออก = strabismus, divergent; strabismus, external และ walleye ๒. ตาเหล่ปรากฏออกนอก = strabismus, manifest divergent
  2. "Exotropia Origin". dictionary.com. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
  3. Mohney, BG; McKenzie, JA; Capo, JA; Nusz, KJ; Mrazek, D; Diehl, NN (Nov 2008). "Mental illness in young adults who had strabismus as children". Pediatrics. 122 (5): 1033-8 เ. doi:10.1542/peds.2007-3484. PMC 2762944. PMID 18977984.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. "Eye Divergence In Children Triples Risk Of Mental Illness". Mayo Clinic. 2008-11-28.
  5. McKenzie, J และคณะ (2009). "Prevalence and sex differences of psychiatric disorders in young adults who had intermittent exotropia as children". Arch Ophthalmol. 127: 743–47.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. B. Chorn; A. Steiner. "Optometric Vision Therapy in the Management of Consecutive Intermittent Exotropia with Dissociated Vertical Deviation and Anomalous Correspondence - A Case Study". Journal of Behavioral Optometry (JBO). Vol. 18 no. 6. (abstract เก็บถาวร 2014-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, full text เก็บถาวร 2014-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  7. Senior, JD; Chandna, A; O'Connor, AR. "Spontaneous consecutive exotropia in childhood". Strabismus. 17: 33–6. doi:10.1080/09273970802678818. PMID 19301191.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. Hatt, SR; Gnanaraj, L (2013). "Interventions for intermittent exotropia". Cochrane Database Syst Rev. 5: CD003737. doi:10.1002/14651858.CD003737.pub3. PMC 4307390. PMID 23728647.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]