เวงกเฏศวรมนเทียร (ติรุปติ)

พิกัด: 13°40′59.7″N 79°20′49.9″E / 13.683250°N 79.347194°E / 13.683250; 79.347194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Venkateswara Temple, Tirumala)
ศรีเวงกเฏศวรมนเทียร
శ్రీ వేంకటేశ్వర స్వామి వారి ఆలయం
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตจุตตูร์
เทพพระเวงกเฏศวร (พระวิษณุ)
เทศกาลพรหโมตสวัม, ไวกูณฐเอกทาสี, รถสัปตมี
หน่วยงานกำกับดูแลติรุมลาติรุปตีเทวัสถานัม
ที่ตั้ง
ที่ตั้งติรุปติ
รัฐรัฐอานธรประเทศ
ประเทศอินเดีย
เวงกเฏศวรมนเทียร (ติรุปติ)ตั้งอยู่ในรัฐอานธรประเทศ
เวงกเฏศวรมนเทียร (ติรุปติ)
ที่ตั้งในรัฐอานธรประเทศ
พิกัดภูมิศาสตร์13°40′59.7″N 79°20′49.9″E / 13.683250°N 79.347194°E / 13.683250; 79.347194
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมทราวิฑ
ผู้สร้างวีระ นรสิงเทวะ ยาทวรายะ (Veera Narasingadeva Yadavaraya)
วีระ รากษสะ ยาทวรายะ (Veera Rakshasa Yadavaraya)
รังคนาถ ยาทวรายะ (Ranganatha Yadavaraya)[1]
ลักษณะจำเพาะ
วัด1
จารึกภาษาทราวิฑและภาษาสันสกฤต[2]
ระดับความสูง853 m (2,799 ft)
เว็บไซต์
www.tirumala.org

เวงกเฏศวรมนเทียร (Venkateswara Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ตั้งอยู่ในเมืองหุบเขาติรุมลา นครติรุปติ อำเภอจิตตูร์ รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระเวงกเฏศวร ปางหนึ่งของพระวิษณุที่เชื่อว่าอวตารลงมา ณ สถานที่นี้เพื่อปกป้องมนุษย์จากปัญหาทั้งปวงในกลียุค จึงทำให้ที่นี่มีอีกชื่อว่า กาลียุคไวกูณฐ์ หรือ กาลียุควิษณุโลก และองค์เทพก็มีอีกพระนามว่า กลียุคปรัถยักษไทวัม (Kaliyuga Prathyaksha Daivam)[3] คณะกรรมการผู้บริหารมนเทียรนี้คือติรุมลาติรุปตีเทวัสถานัม (TTD) ซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาลรัฐอานธประเทศโดยตรง และรายได้จากมนเทียรก็เข้าสู่รัฐบาลรัฐอานธรประเทศเช่นกัน[4]

หุบเขาติรุมาละเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเศษจลัม และมีความสูง 853 เมตร (2,799 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล หุบเขานี้ประกอบด้วยยอดเขาเจ็ดยอด (สัปตคีรี) ซึ่งสื่อถึงศีรษะทั้งเจ็ดของอาทิเศษะ มนเทียรนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาที่เจ็ดซึ่งชื่อว่า เวงกฏคีรี

มนเทียรนี้เป็นศาสนสถานที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในแง่ของเงินบริจาคและความมั่งคั่ง[5][6][7] มนเทียรมีผู้เดินทางมาแสวงบุญอยู่ที่ 50,000 ถึง 100,000 คนต่อวัน (30 ถึง 40 ล้านคนต่อปีโดยเฉลี่ย) และจำนวนนี้อาจสูงขึ้นมากเป็นพิเศษในช่วงเทศกาลสำคัญของมนเทียร เช่น พรหโมสวัมที่ซึ่งมียอดผู้เดินทางมาแสวงบุญสูงถึง 500,000 คน ส่งผลให้เป็นที่เลื่องลือว่าที่นี่อาจจะเป็นศาสนสถานที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก[8] ในปี 2016 มีรายงานจำนวนผู้เดินทางมาแสวงุญอยู่ที่ 27.3 ล้านคน[9]

มนเทียรนี้มีความเกี่ยวพันกับตำนานแห่งติรุมลาในฐานะความเกี่ยวข้องกับองค์เทพเจ้าที่อวตารลงมาในติรุมลา หนึ่งในตำนานเหล่านั้นระบุว่ามูรติของพระเวงกเฏศวรที่ประทับอยู่ที่ในมนเทียรนี้ เชื่อกันว่าจะคงอยู่ที่นี่ตราบจนสิ้นกลียุค

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Yadavas hail restoration of 'Golla Mirasi". www.thehindu.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 12 June 2020.
  2. Alexandra Mack. Spiritual Journey, Imperial City: Pilgrimage to the Temples of Vijayanagara. Vedams eBooks (P) Ltd, 2002 - Hindu pilgrims and pilgrimages - 227 pages. p. 80.
  3. "Tirumala Temple". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 September 2007.
  4. PGurus, Team (24 February 2020). "All is not well in Tirumala!". PGurus (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  5. "NDTV Report". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-22. สืบค้นเมื่อ 13 September 2007.
  6. Sivaratnam, C (1964). An Outline of the Cultural History and Principles of Hinduism (1 ed.). Colombo: Stangard Printers. OCLC 12240260. Koneswaram temple. Tiru-Kona-malai, sacred mountain of Kona or Koneser, Iswara or Siva. The date of building the original temple is given as 1580 BCE according to a Tamil poem by Kavi Raja Virothayan translated into English in 1831 by Simon Cassie Chitty ...
  7. Ramachandran, Nirmala (2004). The Hindu legacy to Sri Lanka. Pannapitiya: Stamford Lake (Pvt.) Ltd. 2004. ISBN 9789558733974. OCLC 230674424. Portuguese writer De Queyroz compares Konesvaram to the famous Hindu temples in Rameswaram, Kanchipuram, Tirupatti-Tirumalai, Jagannath and Vaijayanthi and concludes that while these latter temples were well visited by the Hindus, the former had surpassed all the latter temples by the early 1600s
  8. "Ghazal programme at Tirumala temple". The Hindu. Chennai, India. 30 September 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-10-03. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
  9. "2.73 cr devotees visited Tirumala last year: TTD". The Times of India. Hyderabad, India. 7 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-20. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]