ยูนิลีเวอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Unilever)

Unilever plc
ประเภทบริษัทจำกัดมหาชน
การซื้อขาย
ยูโรเน็กซต์UNA
LSEULVR
NYSE: UN, NYSE: UL
ISINGB00B10RZP78 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมสินค้าผู้บริโภค
ก่อนหน้า
ก่อตั้ง1929; 95 ปีที่แล้ว (1929) (by merger)[1]
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่
Unilever House, ลอนดอน
,
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์อาหาร, เครื่องดื่ม, ผงซักฟอก และ สินค้าเพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
รายได้เพิ่มขึ้น 51.980 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2019)[2]
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง 8.708 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2019)[2]
รายได้สุทธิ
ลดลง 6.026 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2019)[2]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 64.806 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2019)[2]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 13.886 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2019)[2]
พนักงาน
ลดลง 155,000 คน (ค.ศ. 2019)[3]
เว็บไซต์www.unilever.com

ยูนิลีเวอร์ (Unilever) เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ผงซักฟอก และสินค้าเพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคล เป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียอดขายสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก มียอดขาย 2 ล้านล้าน บาท จำหน่ายอยู่ใน 190 ประเทศทั่วโลก และมีสินค้ากว่า 400 ตราสินค้า ผู้บริโภคใช้สินค้ายูนิลีเวอร์ ทุกวัน 2.5 พันล้านคน/วัน

ยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทข้ามชาติของสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ โดยเกิดจากการควบรวมกิจการของบริษัทลีเวอร์บราเธอร์ ผู้ผลิตสบู่ของสหราชอาณาจักร และบริษัทมาร์การีน ยูนี ผู้ผลิตเนยเทียมของเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1929 ปัจจุบันยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบสองตลาด โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ใช้ชื่อว่า ยูนิลีเวอร์ พีแอลซี (Unilever PLC) และสำนักงานใหญ่ที่รอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้ชื่อว่า ยูนิลีเวอร์ เอ็น. วี. (Unilever N.V.)

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2020 บริษัทได้กลายเป็นบริษัทของสหราชอาณาจักรที่ถือหุ้นทั้งหมด[4]

นโยบายสวัสดิภาพสัตว์[แก้]

ยูนิลีเวอร์เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่เริ่มทำงานกับผู้ผลิตไข่ไก่เพื่อเริ่มจัดหาไข่ไก่มาใช้ในผลิตภัณฑ์  ยูนิลีเวอร์กล่าวว่าทางบริษัทได้เริ่มใช้ไก่จากฟาร์มปลอดกรงแล้ว(cage-free) 100% ในทวีปยุโรปตั้งแต่ พ.ศ. 2552  ยูนิลีเวอร์กล่าวว่ามุ่งมั่นที่จะขยายความสำเร็จในการใช้ไข่ไก่จากฟาร์มปลอดกรง(cage-free)  100% (สำหรับผลิตภัณฑ์ไข่ทุกชนิด) ไปทั้งยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือภายใน พ.ศ. 2563 และทั่วโลกภายใน พ.ศ. 2568[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Geoffrey Jones. "Unilver: a case study". hbs.edu. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Annual Results 2019" (PDF). Unilever. pp. 13, 15. สืบค้นเมื่อ 28 February 2020.
  3. "Who we are". Unilever. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 February 2020. สืบค้นเมื่อ 28 February 2020.[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง]
  4. Unilever is now formally a British company
  5. https://www.unilever.com/sustainable-living/what-matters-to-you/farm-animal-welfare.html

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]