ทางออกสองรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Two-state solution)

ทางออกสองรัฐของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์คำนึงถึงรัฐเอกราชสองรัฐ คือ รัฐปาเลสไตน์คู่กับรัฐอิสราเอล ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ทั้งนี้ เขตแดนระหว่างสองรัฐยังเป็นหัวข้อพิพาทและเจรจากันอยู่ โดยผู้นำปาเลสไตน์และอาหรับยืนกราน "เขตแดน ค.ศ. 1967" ซึ่งอิสราเอลไม่ยอมรับ ดินแดนของอดีตปาเลสไตน์ในอาณัติ (รวมทั้งนครเยรูซาเล็ม) ซึ่งมิได้ประกอบขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์จะเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอลต่อไป

ใน ค.ศ. 1947 สหประชาชาติเสนอแผนแบ่งปาเลสไตน์ซึ่งยิวยอมรับ แต่ฝ่ายอาหรับปฏิเสธการแบ่งดินแดนและไม่ยอมให้ยิวอยู่ในพื้นที่ เกิดสงครามระหว่าง ค.ศ. 1947–49 ซึ่งยุติลงด้วยการหยุดยิงและปัญหาผู้ลี้ภัยมาจนถึงปัจจุบัน[1] ใน ค.ศ. 1974 ข้อมติสหประชาชาติว่าด้วย "การระงับปัญหาอย่างสันติซึ่งปัญหาปาเลสไตน์" เรียกร้องให้มีรัฐสองรัฐคู่กันโดยมีเขตแดนที่ปลอดภัยและรับรอง ร่วมกันกับ "ข้อมติอย่างยุติธรรมของปัญหาผู้ลี้ภัยโดยสอดคล้องกับข้อมติยูเอ็นที่ 194"[2][3][4] เขตแดนของรัฐปาเลสไตน์จะ "ยึดเขตแดนก่อน ค.ศ. 1967" สำหรับข้อมติล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2013 ซึ่งผ่านด้วยคะแนนเสียง 165 ต่อ 6[5] โดยอิสราเอลและสหรัฐออกเสียงคัดค้าน[6]

ผู้นำปาเลสไตน์น้อมรับมโนทัศน์ดังกล่าวตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาหรับ ค.ศ. 1982 ในเฟซ[7] ส่วนอิสราเอลมองท่าทีดังกล่าวที่ต้องการแสวงหาการรับรองรัฐปาเลสไตน์จากต่างประเทศว่าเป็นการกระทำฝ่ายเดียว และไม่สอดคล้องกับทางออกสองรัฐที่มีการเจรจากัน มีความพยายามในการทำให้ทางออกสองรัฐดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมาหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่การประชุมมาดริด ค.ศ. 1991 ตามด้วยข้อตกลงกรุงออสโล ค.ศ. 1993 และการประชุมสุดยอดแคมป์เดวิด ค.ศ. 2000 ที่ล้มเหลว ตามด้วยการเจรจาตาบาในต้น ค.ศ. 2001 ใน ค.ศ. 2002 สันนิบาตอาหรับเสนอข้อริเริ่มสันติภาพอาหรับ และข้อริเริ่มล่าสุดได้แก่การเจรจาสันติภาพ ค.ศ. 2013–14

มีรายงานใน ค.ศ. 2009 ว่า แม้ผลสำรวจยังแสดงออกมาอยู่เรื่อย ๆ ว่าอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบกับทางออกสองรัฐที่มีการเจรจา แต่มี "การตื่นขึ้นจากภาพลวงเพิ่มขึ้น" กับทางออกดังกล่าว[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. United Nations General Assembly (23 สิงหาคม 1951). "General Progress Report and Supplementary Report of the United Nations Conciliation Commission for Palestine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (OpenDocument)เมื่อ 22 August 2011. สืบค้นเมื่อ 3 May 2007.
  2. "Question of Palestine – General Assembly". The United Nations – Question of Palestine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2010. สืบค้นเมื่อ 30 September 2016.
  3. "A/RES/3236 (XXIX) Question of Palestine". The United Nations – General Assembly. 22 November 1974. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2010. สืบค้นเมื่อ 30 September 2016.
  4. "A/PV.2296 Question of Palestine (concluded)". The United Nations – General Assembly. 22 November 1974. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2011. สืบค้นเมื่อ 30 September 2016.
  5. "A/RES/65/16. Peaceful settlement of the question of Palestine, United Nations General Assembly". The United Nations – General Assembly. 25 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2011. สืบค้นเมื่อ 30 September 2016.
  6. "Wrapping up annual consideration of Question of Palestine, situation in Middle East, adopts six resoloutions by recorded vote". The United Nations – General Assembly (GA/11460). 26 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2014. สืบค้นเมื่อ 30 September 2016.
  7. Mark A. Tessler. A History of the Israeli-Palestinian conflict. 1994, p. 718
  8. "How Not to Make Peace in the Middle East", Hussein Agha and Robert Malley, The New York Review of Books. Retrieved Jan. 9, 2009