สหภาพแรงงาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Trade union)

สหภาพแรงงาน (Labour Union หรือ Labor Union) คือการรวมตัวกันของกลุ่มลูกจ้างโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการดำเนินการตาม หรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

เมื่อประมาณหลายปีที่แล้ว สหภาพแรงงานได้ถือกำเนิดขึ้นและได้พัฒนาไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน เนื่องจากบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดังนี้จึงส่งผลให้วัตถุประสงค์ และกิจกรรมหลักของสหภาพแรงงานจึงแตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ตามอาจสรุปหน้าที่หลักของสหภาพแรงงานได้ดังนี้

  • การจัดเตรียมสิ่งอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกสหภาพแรงงาน: สหภาพแรงงานในระยะเริ่มแรกนี้ มีลักษณะคล้ายกับสังคมที่เป็นมิตร (Friendly Society) ที่มีหน้าที่ตระเตรียมผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้สมาชิกสหภาพแรงงานมีความมั่นใจในกรณีถูกเลิกจ้าง เจ็บป่วย เกษียณอายุ และค่าใช้จ่ายในการทำศพ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ หน้าที่ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่อย่างไรก็ตามการจัดเตรียมการฝึกอาชีพ การให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย และบทบาทในการเป็นตัวแทนของสมาชิกสหภาพก็ยังคงเป็นผลประโยชน์ที่สำคัญของสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น
  • สร้างพลังต่อรอง: สหภาพแรงงานสามารถดำเนินการได้อย่างเปิดเผย และเป็นที่รับรู้ของนายจ้าง/กลุ่มนายจ้าง ดังนั้นสหภาพแรงงานสามารถเจรจากับนายจ้างได้ทั้งในเรื่องของค่าจ้าง และสภาพการทำงาน
  • การกระทำทางแรงงาน: สหภาพแรงงานอาจจัดให้มีการนัดหยุดงาน หรือ การต่อต้านการปิดงาน เพื่อผลักดันเป้าหมายบางประการ
  • กิจกรรมทางการเมือง: สหภาพแรงงานอาจเรียกร้องให้มีการบัญญัติกฎหมายที่เป็นประโยชน์โดยรวมแก่สมาชิกสหภาพแรงงาน ลูกจ้าง ดังนี้สหภาพแรงงานอาจดำเนินการโดยการจัดการรณรงค์ ชักชวนให้สมาชิกรัฐสภาสนับสนุนการออกกฎหมายฉบับหนึ่ง (lobbying) หรือให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือผู้สมัครอิสระ (เช่น พรรคแรงงาน (Labour Party) ในสหราชอาณาจักร)

ประวัติศาสตร์[แก้]

สมาคมการค้า[แก้]

หลังจากการรวมตัวกันของรัฐในเมืองในอัสซีเรียและสุเมเรียนโดย Sargon of Akkad ให้เป็นอาณาจักรเดียวที่ปกครองจากเมืองบ้านเกิดของเขาประมาณ 2334 ปีก่อนคริสตกาล มาตรฐานเมโสโปเตเมียทั่วไปสำหรับความยาว พื้นที่ ปริมาณ น้ำหนัก และเวลาที่ใช้โดยสมาคมช่างฝีมือในแต่ละเมือง ถูกประกาศใช้โดย Naram-Sin of Akkad (c. 2254–2218 BC) หลานชายของ Sargon รวมทั้ง Shekels Codex Hammurabi Law 234 (c. 1755–1750 BC) กำหนดค่าจ้าง 2 เชเขลสำหรับเรือ 60-gur (300 บุชเชล) แต่ละลำที่สร้างขึ้นในสัญญาจ้างงานระหว่างผู้ต่อเรือกับเจ้าของเรือ กฎหมายข้อ 275 กำหนดอัตราเรือข้ามฟาก 3 เกราห์ต่อวันในหมู่เช่าเหมาลำระหว่างผู้เช่าเรือกับนายเรือ กฎข้อ 276 กำหนดอัตราค่าระวาง 2⁄2-gerah ต่อวันในสัญญาการขนส่งระหว่างผู้เช่าเหมาลำและนายเรือ ในขณะที่กฎหมาย 277 กำหนดอัตราค่าระวาง 1⁄6 เชเขลต่อวันสำหรับเรือขนาด 60 กูร์ ในปี ค.ศ. 1816 การขุดค้นทางโบราณคดีในมินยา ประเทศอียิปต์ (ภายใต้ Eyalet ของจักรวรรดิออตโตมัน) ได้ผลิตแผ่นจารึกยุคราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตเนียน จากซากปรักหักพังของวิหาร Antinous ในเมือง Antinoöpolis ประเทศอียิปต์ ซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์และค่าสมาชิกในการฝังศพ วิทยาลัยสังคมที่จัดตั้งขึ้นในลานูเวียม ประเทศอิตาลี ราว ค.ศ. 133 ในรัชสมัยของจักรพรรดิฮาดริอานุส (117–138) แห่งจักรวรรดิโรมัน

วิทยาลัยคือสมาคมใดๆ ในกรุงโรมโบราณที่ทำหน้าที่เป็นนิติบุคคล ตามพระราชดำรัสของ Lex Julia ในรัชสมัยของจูเลียส ซีซาร์ ในฐานะกงสุลและเผด็จการแห่งสาธารณรัฐโรมัน (49–44 ปีก่อนคริสตกาล) และการยืนยันอีกครั้งในรัชสมัยของจักรพรรดิเอากุสตุส ในฐานะ Princeps senatus และ Imperator of the Roman Army (27 ปีก่อนคริสตกาล– 14 AD) วิทยาลัยจำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากวุฒิสภาโรมันหรือจักรพรรดิเพื่อที่จะได้รับอนุญาตให้เป็นหน่วยงานทางกฎหมาย ซากปรักหักพังที่ Lambaesis ก่อตั้งสมาคมฝังศพในหมู่ทหารกองทัพโรมันและกะลาสีเรือโรมันจนถึงรัชสมัยของ Septimius Severus (193–211) ในปี 198 AD ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 การสืบสวนทางโบราณคดีที่ทำขึ้นที่บริเวณท่าเรือเทียมปอร์ตุสในกรุงโรมเผยให้เห็นคำจารึกในอู่ต่อเรือที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของทราจัน (98–117) ซึ่งระบุถึงการมีอยู่ของสมาคมช่างต่อเรือ ท่าเรือ La Ostia ของกรุงโรมเป็นที่ตั้งของศาลากลางสำหรับ corpus naviculariorum ซึ่งเป็นวิทยาลัยของพ่อค้ากะลาสีเรือ Collegium ยังรวมถึงภราดรภาพของบาทหลวงชาวโรมันที่ดูแลพิธีบูชายัญ ฝึกการศีกษา รักษาพระคัมภีร์ จัดเทศกาล และดูแลรักษาลัทธิทางศาสนาที่เฉพาะเจาะจง

สหภาพแรงงานในปัจจุบัน[แก้]

จากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทั้ง ด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นเสรี กฎหมาย และหลักการด้านสิทธิแรงงานสากล ที่ได้รับอิทธิพลจาก องค์การแรงงานสากล (International Labor Organization) ที่แรงงานเสรีที่เคลื่อนย้ายจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง จะได้รับความคุ้มครองและปฏิบัติทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม ทั้งจากกฎหมายสากล และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ภายในประเทศ สหภาพแรงงานโดยทั่วไปจึงมีจุดยืนที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน ที่ต้องเป็นไปโดยชอบ ในกรอบของกฎหมาย

ปัจจุบันแนวความคิดในการรวมตัวกันเพื่อต่อรองผลประโยชน์ของพนักงาน ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงานโดยตรง เริ่มมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก เมื่อมีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศหนึ่ง ไปยังอีกประเทศหนึ่ง จะส่งผลกระทบเบื้องต้นที่ชัดเจน คือ อุปสรรคด้านภาษา และวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่ง เมื่อเกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง และมีการโต้ตอบกัน จนเกิดความรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน จึงต้องมีการรวมตัวกันของฝ่ายลูกจ้าง เพื่อค้นหาความยุติธรรม ที่จะได้รับจากฝ่ายนายจ้าง ซึ่งนายจ้างอาจมีทางเลือกในการโต้ตอบ เช่น การตั้งสหพันธ์นายจ้าง เพื่อโต้ตอบไปมาอีก ทั้งที่สาเหตุมาจากความไม่ยุติธรรมในองค์กรที่ต่างฝ่ายต่างไม่สนใจ และให้ความสำคัญ ที่เกิดจากความไม่เข้าใจถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย

และสหภาพถูกครอบงำโดยคนเพียงบางกลุ่ม ไม่มีการคุ้มครองแรงงานในภาคอื่นๆ อย่างทั่วถึง และสหภาพแรงงานไม่เคยเรียกร้องช่วยเหลือให้กับแรงงานที่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ ทำให้สหภาพแรงงานในประเทศไม่เกิดความครอบคลุมในการคุ้มครองแรงงานในประเทศอย่างถ้วนทั่ว ซึ่งต่างจากสหภาพแรงงานในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานด้านใด ทำมานานเท่าไร อยู่ในระบบหรือไม่ หากเกิดปัญหา สหภาพแรงงานจะมาคุ้มครอง ไกล่เกลี่ย หรือออกหน้าเรียกร้องความยุติธรรมให้กับแรงงานนั้นโดยทันที

สหภาพแรงงานในแต่ละภูมิภาค และประเทศ[แก้]

ผลกระทบจากสหภาพแรงงาน[แก้]

หากสหภาพแรงงานดำเนินการเพียงเพื่อผลประโยชน์ของสหภาพแรงงานเองเท่านั้นก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่สหภาพแรงงานปฏิบัติงานอยู่ อย่างเช่นการประท้วงหยุดงานเพียงเพื่อต่อรองเงินโบนัสประจำปีและการเพิ่มสวัสดิการอื่นๆ โดยมิได้คำนึงถึงผลประกอบการในปีนั้นๆ หรือผลกระทบอื่นๆที่ตามมาจากการจ่ายโบนัสจำนวนมหาศาล ซึ่งย่อมส่งผลกระทบอย่างแน่นอนต่อการดำเนินงานของบริษัท และสังคมโดยรวม กล่าวคือ การตั้งข้อเรียกร้องฝ่ายเดียว ซึ่งปราศจากพื้นฐานของการทำความเข้าใจ ให้แต่ละฝ่ายได้หารือ สร้างความเข้าใจถึงปัญหา ย่อมส่งผลกระทบ ทั้งฝ่ายนายจ้าง และผลประโยชน์ของลูกจ้างเอง

ข้อวิจารณ์[แก้]