The Money Drop Thailand

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The Money Drop Thailand
ประเภทเกมโชว์, ควิซโชว์
พัฒนาโดยบริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
กลุ่มเอนเดโมลชายน์
เสนอโดยวราวุธ เจนธนากุล
2 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2563
5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 อนุวัต เฟื่องทองแดง
4 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2563
5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ผู้ประพันธ์เพลงธีมMarc Sylvan
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตวราวุธ เจนธนากุล
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอเวสวูท
ความยาวตอน30 นาที
(2 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)
60 นาที
(4 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2563)
45 นาที
(5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564)
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7 เอชดี
ระบบภาพ1080 ไอ (คมชัดสูงสุด)
ระบบเสียงstereo 2.0
ออกอากาศครั้งแรกThe Money Drop Thailand
2 สิงหาคม พ.ศ. 2557
เกมแจกเงิน The Money Drop Thailand
4 สิงหาคม 2562 – 29 มีนาคม 2563
5 ตุลาคม 2563 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ออกอากาศThe Money Drop Thailand
2 สิงหาคม พ.ศ. 2557 –
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เกมแจกเงิน The Money Drop Thailand
4 สิงหาคม 2562 – 29 มีนาคม 2563
5 ตุลาคม 2563 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เดอะมันนี่ดรอปไทยแลนด์ (อังกฤษ: The Money Drop Thailand) เป็นรายการเกมโชว์แนวควิซโชว์ที่ทดสอบความรู้รอบตัวของผู้เข้าแข่งขัน ผ่านคำถามทั้งหมด 7 ข้อ เพื่อรักษาเงินสดที่มีอยู่กลับไปให้ได้มากที่สุด เกมโชว์นี้มีต้นแบบมาจากรายการ The Money Drop (เดิมใช้ชื่อว่า The Million Pound Drop) (ปัจจุบันเป็น £100K Drop) ซึ่งผลิตโดย Remarkable Television และกลุ่มเอนเดโมลชายน์ (ปัจจุบันถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มแบนิเจย์) ในประเทศอังกฤษ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ประเทศอังกฤษ และบริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้ทำการซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ปัจจุบันออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 17.30 - 18.00 น. (จากเดิม เคยออกอากาศครั้งแรกทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 18.30 น.) โดยมี วราวุธ เจนธนากุล เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557[1] และออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และกลับมาออกอากาศอีกครั้งในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ในชื่อ เกมแจกเงิน The Money Drop Thailand พร้อมทั้งได้เพิ่มพิธีกรอีกหนึ่งคนคือ อนุวัต เฟื่องทองแดง ทำหน้าที่พิธีกรในช่วง เงินด่วน และ เงินทวีคูณ โดยออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.20 - 18.20 น. ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้เปลี่ยนเวลาออกอากาศ เป็น 17.00 - 18.00 น. สิ้นสุดการออกอากาศวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563 แล้วถูกแทนที่ด้วยรายการ อาทิตย์ติดข่าว ในวันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลาเดียวกัน แล้วถูกแทนที่ด้วยรายการร้องต้องรอด ในวันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 รายการ เกมแจกเงิน The Money Drop Thailand ยุติการออกอากาศในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ข้อมูลการออกอากาศ[แก้]

ช่องสถานีโทรทัศน์ ชื่อรายการ วันออกอากาศ เวลาออกอากาศ

(รอบปฐมทัศน์)

ระยะเวลาออกอากาศ หมายเหตุ
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 The Money Drop Thailand วันเสาร์ - อาทิตย์
18.15 น. - 18.45 น.
17.30 - 18.00 น.
2 สิงหาคม 2557 - 25 กันยายน 2559
18.20 น. - 18.50 น
1 ตุลาคม 2559 - 28 พฤษภาคม 2560
วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 งดออกอากาศ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จสวรรคต
17.30 - 18.00 น.
3 มิถุนายน 2560 - 25 กุมภาพันธ์ 2561
14 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560 งดออกอากาศ (แทนที่ด้วยรายการ ใจบันดาลแรง)
ช่อง 7 เอชดี เกมแจกเงิน The Money Drop Thailand อาทิตย์
17.20 - 18.20 น.
4 สิงหาคม 2562 - 26 มกราคม 2563
[2]

[3]

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562 งดออกอากาศเนื่องจากถ่ายทอดสดเสนอให้ชมรอบปฐมทัศน์เวลา 16.50 น. (เวลาประเทศไทย)

17.00 - 18.00 น.
2 กุมภาพันธ์ 2563 - 29 มีนาคม 2563
จันทร์ - อังคาร
18.00 - 18.45 น.
5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
วันอังคาร - วันพุธ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

รูปแบบและกติกาของรายการ[แก้]

กติการอบปกติ[แก้]

ในการแข่งขันแต่ละครั้งจะผู้แข่งขัน 1 ทีม แต่ละทีมมี 2 คน ก่อนเริ่มเกมจะได้รับธนบัตรดอลลาร์เป็นมูลค่า 2,000,000 บาทไทย ซึ่งเงินทั้งหมดจะถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 50 ก้อน ก้อนละ 40,000 บาท แต่ละก้อนเป็นเงินธนบัตรมูลค่าใบละ 2 ดอลลาร์ จำนวน 600 ใบ (เงินรางวัลสนับสนุนโดย เคเอฟซี) จนถึงปี พ.ศ. 2561) และกุญแจรถยนต์อีก 1 ดอก เป็นสัญลักษณ์แทนรางวัลพิเศษคือรถยนต์ 1 คัน (รางวัลรถยนต์คือ Toyota Vios มูลค่า 830,000 บาท) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา ผู้เข้าแข่งขันจะเริ่มเล่นเกมที่ “The Drop” เป็นแผงควบคุมขนาดใหญ่ที่มีประตูกล 4 ช่อง สำหรับวางเงินในคำตอบที่ผู้เล่นคิดว่าน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งด้านบนของแต่ละช่องมีจอมอนิเตอร์ผู้สนับสนุนแสดงตัวเลือกคำตอบ (ผู้สนับสนุนจอคำตอบคือ รถยนต์เอ็มจีต่อมาเป็นโอวัลตินและโทรศัพท์มือถือหัวเว่ย P9 Series โทรศัพท์มือถือหัวเว่ย P10, P10 Plus ต่อมาเป็นยูโร่เค้ก และยูโร่ ช็อคโกพาย (ในยุคเกมแจกเงิน The Money Drop ไทยแลนด์) ก่อนเล่นคำถามแต่ละข้อ จะให้ผู้เล่นเลือกหมวดคำถามจากผู้สนับสนุนที่คิดว่าจะตอบได้ 1 จาก 2 หมวด ที่มีให้ เช่น ภูมิศาสตร์ กับ กีฬา เป็นต้น (ผู้สนับสนุนหมวดคำถามคือ น้ำดื่มสิงห์ น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอย ต่อมาเป็นเครื่องสำอางมูนช็อต) เมื่อผู้เล่นเลือกหมวดคำถามแล้ว พิธีกรจะทำการอ่านตัวเลือกที่ให้มาในหมวดนั้นทั้งหมดก่อนแล้วตามด้วยคำถาม เมื่ออ่านคำถามจบ ผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลา 60 วินาทีในการคิด วิเคราะห์ ถกเถียงเพื่อให้ได้คำตอบ จากนั้นจึงนำเงินไปวางไว้ในช่องของคำตอบที่คิดว่าถูกต้อง โดยในการตอบแต่ละข้อผู้เข้าแข่งขันจะต้องวางเงินที่มีอยู่ทั้งหมด ห้ามเหลืออยู่บริเวณด้านนอกประตูกลโดยเด็ดขาด และต้องวางภายในเวลา 60 วินาทีนั้นด้วย ถ้าไม่แน่ใจในคำตอบ สามารถจะกระจายความเสี่ยงโดยการแบ่งเงินไปวางไว้ในคำตอบอื่น ๆ ก็ได้ แต่ห้ามวางครบทุกคำตอบ จะต้องเหลือไว้อย่างน้อย 1 คำตอบที่ไม่มีการวางเงินเสมอ (ในกรณีที่เหลือเงินก้อนสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกวางเงินลงบนคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงช่องเดียว) ส่วนกุญแจรถยนต์นั้น จะต้องวางพร้อมกับเงินจำนวนเท่าใดก็ได้ในคำตอบใดคำตอบหนึ่ง ห้ามแยกวางเดี่ยวเด็ดขาด

หากผู้เข้าแข่งขันคู่ใดทำผิดกติกา เช่น วางเงินครบทุกคำตอบ วางกุญแจรถยนต์แบบแยกเดี่ยว จะถือว่าฟาวล์และ Game Over ทันทีและไม่ได้รับรางวัลใด ๆ แม้ว่าจะมีเงินรางวัลเหลืออยู่ก็ตาม

หลังจากหมดเวลา 60 วินาทีแล้ว จะเข้าสู่ช่วงเวลาการเฉลยคำตอบ คำตอบข้อไหนที่ผิด ประตูกลจะเปิดออกพร้อมกับเปลี่ยนสีประตูกลจากสีขาวเป็นสีแดงซึ่งหมายถึงข้อนั้นเป็นคำตอบที่ผิดและเงินทั้งหมดที่วางไว้ในคำตอบนั้นก็จะหล่นลงไปข้างล่างแบบต่อหน้าต่อตา แต่จะไม่เฉลยทีเดียวอย่างแน่นอนในบางครั้ง และเงินที่เหลืออยู่ในช่องคำตอบที่ถูกต้องซึ่งประตูกลยังคงอยู่นิ่ง ๆ ไม่ถูกเปิดและมีไฟสีขาวจะถูกนำไปเล่นต่อในข้อต่อไป แต่ถ้าตอบผิดจนกระทั่งเงินหล่นลงข้างล่างครบ 2,000,000 บาทและทำกล่องกุญแจรถยนต์หล่นลงไปด้วยที่คำถามใด ๆ ก็ตาม Game Over ที่คำถามข้อนั้นแล้วตกรอบไปในที่สุดและไม่ได้รางวัล แต่ในกรณีที่ทำกุญแจรถยนต์หล่นลงไปจะถือว่าหมดสิทธิ์ลุ้นรับรถยนต์ทันที แต่ถ้ายังมีเงินเหลืออยู่ก็มีสิทธิ์เล่นต่อในข้อต่อไปเหมือนเดิม

แต่มีบางคู่ที่ได้รับรางวัลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่ผู้แข่งขันต้องการแทนหรือได้รับสิทธิ์เล่น 1 ข้อฟรี ๆ (ซึ่งมี 2 ตัวเลือกเหมือนกับข้อสุดท้าย) (แล้วแต่ทางทีมงานจะจัดสรร) ทั้ง ๆ ที่ Game Over ไปแล้ว อันเนื่องมาจากความเป็นห่วงของผู้แข่งขันหรือญาติของผู้แข่งขันที่เดือดร้อน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การดำรงชีวิตของคนนั้นอยู่กับสังคมได้อย่างปกติสุข

ผู้เล่นต้องเล่นจนครบทั้ง 7 ข้อ โดยคำถามจะยิ่งยากขึ้นเรื่อย ๆ และตัวเลือกในแต่ละคำถามก็จะน้อยลงตามลำดับดังนี้ คือ ข้อ 1 – 3 มี 4 ตัวเลือก, ข้อ 4 – 6 มี 3 ตัวเลือก, ข้อ 7 มี 2 ตัวเลือก

หลังจากตอบถูกครบ 7 ข้อแล้ว ผู้เข้าแข่งขันเหลือเงินรางวัลเท่าไหร่ เอากลับไปได้เลย แต่ในกรณีที่สามารถรักษาได้ทั้งเงินและกุญแจรถยนต์ ก็จะรับเงินรางวัลที่รักษาและรถยนต์กลับไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามตั้งแต่เริ่มการแข่งขัน เล่นเป็นหมู่ ในทีมแรก รางวัลรถยนต์ 1 คันได้ถูกยกเลิกไปในเดือนมีนาคม 2560

มีบางตอนที่ไม่ได้มีการแข่งขันรอบปกติในเทปปกติ (ที่ไม่ใช่เทปประมวลภาพในรายการประจำปี) ดังนี้

  • วันที่ 15-16 เมษายน 2560 เป็นการแข่งขันของผู้เข้าแข่งขันรอบ Fast Track ภายใต้กติกาใหม่ หลังจากเล่นคำถามเสร็จแล้ว จะได้รับรูปถ่ายผู้เข้าแข่งขันคู่กับพิธีกรไปด้วย (ไม่ว่าจะได้เงินกลับไปหรือไม่ก็ตาม)

ในการกลับมาของเกมแจกเงิน The Money Drop Thailand รายการได้ปรับกติกาใหม่ เพื่อให้ผู้แข่งขันลุ้นเงินรางวัลได้ง่ายขึ้น โดยทางรายการจะให้เงินจำนวน 1,000,000 บาท ไว้ใช้ในการตอบคำถามทั้ง 7 ข้อ ซึ่งเงินจะถูกแบ่งเป็น 50 ก้อน ๆ ละ 20,000 บาท โดยระหว่างทาง ผู้แข่งขันมีสิทธิ์ใช้ตัวช่วยได้ โดยสามารถใช้ได้ในคำถาม 3 ข้อแรก ซึ่งในการใช้ตัวช่วยนั้น หลังจากพิธีกรเปิดเผยตัวเลือกทั้ง 4 ตัวเลือกของคำถามข้อนั้นแล้ว ผู้แข่งขันจะมีเวลา 5 วินาทีในการตัดสินใจว่าจะใช้ตัวช่วยหรือไม่ โดยตัวช่วยในรายการจะมีทั้งหมด 2 ตัวช่วย ได้แก่

  • เปลี่ยนคำถาม ทางรายการจะเปลี่ยนคำถามไปเล่นอีกหมวดหนึ่งที่ไม่ได้เลือกไว้ในตอนแรก ซึ่งหากเปลี่ยนคำถามแล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับมาเล่นในหมวดก่อนหน้าได้ แต่อย่างไรก็ดี หากมีตัวช่วยเหลืออยู่ ผู้แข่งขันสามารถใช้ตัวช่วยเพิ่มเติมได้เมื่อไม่มั่นใจ
  • ตัดตัวเลือกที่ผิด ทางรายการจะตัดหนึ่งคำตอบที่ผิดออกไป โดยคำตอบที่ถูกตัดนั้น ประตูกลของคำตอบนั้นจะเปิดออก และผู้แข่งขันจะต้องเล่นคำถามนี้ทันทีโดยไม่มีสิทธิ์ใช้ตัวช่วย โดยผู้แข่งขันมีสิทธิ์วางเงินได้สูงสุดเพียง 2 ช่องเท่านั้น

เมื่อใช้ตัวช่วย "ตัดตัวเลือก" แล้ว หรือไม่ใช้ตัวช่วยเลย ผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลา 1 นาที ในการวางเงินลงบนตัวเลือกที่คิดว่าถูกต้องให้ครบตามจำนวนเงินที่มีอยู่ ตอบถูกรักษาเงินได้เท่าไหร่ เงินที่รักษามาได้ก็จะนำไปเล่นในข้อต่อไปโดยทันที

เมื่อผู้แข่งขันผ่านมาถึงคำถามข้อที่ 4 ได้ ผู้แข่งขันมีสิทธิ์ที่จะประกันเงินรางวัลได้เป็นจำนวน 20,000 บาท โดยหากต้องการจะประกันเงินรางวัล ผู้แข่งขันจะต้องนำเงิน 40,000 บาท ให้กับทางรายการ และจะต้องเล่นเกมต่อด้วยเงินที่เหลืออยู่ ซึ่งหากเงินหล่นลงไปจนหมด ทางรายการจะนำเงินประกัน 20,000 บาท กลับมาให้กับผู้แข่งขันเพื่อใช้ในการเล่นเกมต่อไป และจะได้ตอบคำถามข้อต่อไปโดยอัตโนมัติ (ยกเว้นในกรณีที่สามารถรักษาเงินรางวัลได้จนถึงข้อสุดท้าย เงินประกันที่ทำไว้ก่อนหน้าจะถูกริบคืนทั้งหมด และจะต้องเล่นในคำถามข้อสุดท้ายด้วยเงินที่เหลืออยู่ ซึ่งหากผู้แข่งขันตอบผิด จะไม่ได้รับเงินรางวัลใด ๆ เลย)

หากผู้แข่งขันสามารถรักษาเงินรางวัลได้ครบทั้ง 7 ข้อ ผู้แข่งขันจะได้รับเงินรางวัลที่เหลืออยู่กลับบ้านไปเลย

ผู้เข้าแข่งขันในรอบนี้จะเป็นได้ทั้งดารา นักแสดง นักร้องด้วยกัน หรือดารา นักแสดง นักร้องคู่กับพ่อแม่ เพื่อน หรือญาติพี่น้องร่วมกัน รวมทั้งผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านที่สมัครเข้าร่วมเล่นเกมในรอบนี้ และผ่านการคัดเลือกจากทางทีมงานแล้ว

กติการอบ Fast Track[แก้]

รอบนี้จะมาเพียงบางโอกาสเท่านั้น กติการอบนี้จะเหมือนกับรอบปกติในข้อสุดท้ายทุกประการ เพียงแต่มีเพียงคำถามเดียวและมี 2 ตัวเลือกเหมือนกับข้อสุดท้ายในรอบปกติเงินรางวัลที่ได้เมื่อตอบคำถามรอบนี้ถูกต้องจะได้ 10,000 บาทเท่านั้น โดยเริ่มใช้รอบนี้ตั้งแต่ประมาณกลาง พ.ศ. 2558 เป็นต้นไปสลับกับรอบปกติ (ผู้สนับสนุนรอบนี้คือ ไส้กรอกไก่ตราบีเคพีมาจากเคเอฟซี ใน พ.ศ. 2559 จนถึงมีนาคม พ.ศ. 2560)

อย่างไรก็ตามตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2560 เป็นต้นไป ทางรายการได้ปรับเปลี่ยนกติกาคือ จำนวนตัวเลือกคำตอบได้ถูกเพิ่มเป็น 3 ตัวเลือก และแบ่งเงินรางวัล 10,000 บาทเป็น 2 ก้อน ก้อนละ 5,000 บาท เงินก้อนไหนที่วางอยู่บนคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียวไม่ว่าจะมีอยู่กี่ก้อนก็ตาม ผู้เข้าแข่งขันก็จะได้รับเงินรางวัลนั้น ๆ

และตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป เกมรอบ Fast Track ได้ถูกยกเลิกแล้วแทนที่ด้วยช่วง The Money Drop Thailand เงินด่วน แล้วเปลี่ยนมาเล่นทุกวันเสาร์-อาทิตย์ในเบรกสุดท้ายของรายการ

The Money Drop Thailand เงินด่วน[แก้]

The Money Drop Thailand เงินด่วน เป็นเกมตอบคำถามที่ทดแทนช่วง Fast Track ที่ยกเลิกใช้ไป กติกาในเกมนี้จะเหมือนกับรอบ Fast Track แบบที่ 2 ทุกประการ คือ คำถาม 1 ข้อ 3 ตัวเลือก เงิน 10,000 ถูกแบ่งเป็น 2 ก้อน ๆ ละ 5,000 บาท เพียงแต่ผู้ที่สนใจเล่นเกมสามารถถ่ายรูปเซลฟี่กับหน้าจอรายการที่มีสัญลักษณ์ "เงินด่วน" อยู่บริเวณล่างซ้ายของจอ โดยมีเวลาถ่ายกับหน้าจอ 10 วินาทีก่อนที่สัญลักษณ์นี้จะหายไป (วิธีสมัครเล่นเกมรอบนี้เริ่มในเดือนมิถุนายน 2560) แล้วส่งมายังเฟสบุ๊คแฟนเพจของรายการ และเปลี่ยนมาเล่นเกมนี้ในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ในเบรกสุดท้ายของรายการ

อย่างไรก็ตามเกมนี้หากผู้เข้าแข่งขันแพ้เกมรอบนี้ ทางรายการจะมีค่าพาหนะปลอบใจมอบให้ 2,000 บาท แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันรอนนี้ชนะเกม (ได้เงินรางวัล) ก็จะได้รับเงินรางวัลจำนวนนั้นไปเลย

ภายหลังการกลับมาของเกมแจกเงิน The Money Drop ไทยแลนด์ ได้มีผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ (ผู้สนับสนุนหลัก คือ รถยนต์มิตซูบิชิ) และยกเลิกค่าพาหนะ 2,000 บาทในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันแพ้เกมรอบนี้ พร้อมกับเปลี่ยนวิธีรับสมัครมากเป็นการถ่ายรูปเซลฟี่คู่กับหน้าจอรายการที่กำลังออกอากาศ ส่งชื่อ-ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับพร้อมกับเลือกรูปแบบเกมที่อยากจะเล่น มายังเฟซบุ๊ค หรือที่อยู่ทางไปรษณีย์ และย้ายมาเล่นก่อนเกมรอบ "เงินล้าน"

The Money Drop Thailand เงินทวีคูณ[แก้]

เป็นการแข่งขันรอบพิเศษที่มาพร้อมกับการกลับมาของ เกมแจกเงิน The Money Drop Thailand ซึ่งจะทำการแข่งขันในเบรกสุดท้ายของรายการ โดยกติกาก็คือ ทางรายการจะมีแท่งอะคริลิค 10 แท่ง ซึ่งแทนที่จำนวนเงินรางวัลแท่งละ 1,000 บาท รวมเป็น 10,000 บาท โดยเล่นแค่คำถามข้อเดียวเช่นเดียวกันกับรอบ เงินด่วนซึ่งทางรายการจะให้ดูตัวเลือกทั้งหมด 4 ตัวเลือก และจะมีเวลา 20 วินาทีที่จะตัดสินใจว่า จะเล่น 4 ตัวเลือกหรือไม่ ถ้าเล่น ทางรายการจะเปิดเผยคำถาม และจะมีเวลา 60 วินาทีในการวางเงินลงบนคำตอบที่ถูกต้อง ถ้าตอบถูก เงินรางวัลจะ X3 ตามที่วางไว้ นั่นหมายความว่า แท่งใดวางคำตอบที่ถูกต้องจะถูก X3 ตามจำนวนที่วางไป (สูงสุด 30,000 บาท) แต่ถ้าผู้เข้าแข่งเลือกไม่เล่น หรือว่า ไม่ตัดสินใจภายใน 20 วินาที จะถือว่าไม่เล่นข้อ X3 โดยทางรายการจะตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ 1 ตัวเลือก แล้วมีสิทธิ์ตัดสินใจว่า จะเล่นหรือไม่ใน 10 วินาที ถ้าเล่นแล้วตอบถูก เงินรางวัลจะ X2 ตามที่วางไว้ นั่นหมายความว่า แท่งใดวางคำตอบที่ถูกต้องจะถูก X2 ตามจำนวนที่วางไป (สูงสุด 20,000 บาท) ซึ่ง ทั้ง 2 ข้อเสนอต้องห้ามวางครบทุกช่อง (เช่นเดียวกันกับรอบปกติ) แต่ถ้าหากว่าไม่เล่น หรือหมดเวลา 10 วินาทีแล้วไม่ตัดสินใจ จะถือว่าไม่เล่นข้อ X2 ทางรายการ จะตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่อีก 1 ตัวเลือก เหลือ 2 ตัวเลือก แล้วผู้เข้าแข่งขันจะถูกบังคับให้ตอบคำถามข้อนั้นทันที โดยต้องวางทั้ง 10 แท่ง ลงบนตัวเลือกเพียงช่องเดียวเท่านั้น ห้ามกระจาย ถ้าตอบถูกจะได้เงินรางวัล 10,000 บาททันที แต่จะไม่ถูกทวีคูณ อย่างไรก็ดี ถ้าตอบผิดจนแท่งอะคริลิคตกลงไปข้างล่างทั้ง 10 แท่ง ก็จะกลับบ้านไปพร้อมกับเงินรางวัล 0 บาททันที ไม่ว่าจะเล่นเพื่อตัวคูณเงินรางวัลใด ๆ ก็ตาม

สิ่งที่แตกต่างกันในเกมนี้ คือ จะไม่มีหมวดหมู่คำถามให้ผู้เข้าแข่งขันเลือก โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องบังคับตอบคำถามที่ทางรายการจัดเตรียมไว้

เกมนี้เริ่มเล่นตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และเล่นไปจนถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563

Zense เคลียร์ให้[แก้]

เป็นการแข่งขันรอบพิเศษใหม่ล่าสุดของ เกมแจกเงิน The Money Drop Thailand โดยเปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันจากทางบ้านที่ประสบปัญหาเรื่องของหนี้สิน เข้ามาร่วมแข่งขันในรายการ โดยเริ่มต้นนั้น ผู้แข่งขันจะนำเอกสารการเป็นหนี้มอบให้กับพิธีกร เพื่อยืนยันการเป็นหนี้จริง แล้วจากนั้นจึงจะเข้าสู่การแข่งขัน โดยทางรายการจะให้เงินจำนวน 200,000 บาท ไว้ใช้ในการตอบคำถามทั้ง 5 ข้อ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 40 ก้อน ๆ ละ 5,000 บาท โดยกติกาการแข่งขันจะคล้ายคลึงกับรอบปกติแทบทุกอย่าง เพียงแต่จะไม่มีตัวช่วยให้ใช้เหมือนรอบปกติ โดยในข้อ 1-3 มี 4 ตัวเลือก, ข้อ 4 มี 3 ตัวเลือก และข้อ 5 มี 2 ตัวเลือก ซึ่งเริ่มต้นในทุกข้อจะมีหมวดคำถามให้เลือก 2 หมวดเช่นเดียวกันกับรอบปกติ และการวางเงินในแต่ละข้อจะต้องเหลือช่องว่างไว้อย่างน้อย 1 คำตอบเสมอ เช่นเดียวกับรอบปกติเช่นกัน ซึ่งหากผู้แข่งขันสามารถรักษาเงินรางวัลได้ครบทั้ง 5 ข้อ ผู้แข่งขันจะได้รับเงินรางวัลที่เหลืออยู่กลับบ้านไปเลย

อยากเล่น ต้องร้อง[แก้]

เป็นการแข่งขันรอบพิเศษใหม่ล่าสุดของ เกมแจกเงิน The Money Drop Thailand โดยเปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันจากทางบ้านที่มีใจรักในเสียงเพลงได้เข้ามาร่วมเล่นเกมในรายการ โดยตัวแทนของผู้แข่งขัน 1 คน จะโชว์การร้องเพลง 1 เพลง ก่อนเข้าสู่การแข่งขัน โดยในการแข่งขันนั้น ทางรายการจะมีแท่งอะคริลิค 10 แท่ง ซึ่งแทนที่จำนวนเงินรางวัลแท่งละ 1,000 บาท (แบบเดียวกับที่ใช้ในรอบเงินทวีคูณ) รวมเป็น 10,000 บาท โดยเล่นแค่คำถามข้อเดียวเช่นเดียวกันกับรอบ เงินด่วน โดยเมื่อเริ่มเกม จะมีหมวดคำถามให้เลือก 2 หมวด และในคำถามจะมี 3 ตัวเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลา 1 นาที ในการวางเงินลงบนตัวเลือกที่คิดว่าถูกต้องให้ครบตามจำนวนเงินที่มีอยู่ โดยสามารถวางได้สูงสุด 2 ช่อง ซึ่งเมื่อจบเกมแล้ว ผู้แข่งขันสามารถรักษาเงินไว้ได้เท่าไหร่ ก็รับเงินที่เหลืออยู่กลับบ้านไปเลย

รายการพิเศษ[แก้]

The Money Drop Thailand Charity[แก้]

เป็นการแข่งขันของคู่เซเลบริตี้ทั้ง 7 คู่ ที่ต้องแข่งขันเกมเพื่อคว้าเงินรางวัลไปมอบให้มูลนิธิหรือองค์กรที่คู่นั้นได้เลือกไว้ โดยมีรูปแบบกติกาจาก The Money Drop ไทยแลนด์แบบธรรมดาทุกประการ แต่สิ่งที่ต่างกันคือ คู่เซเลบริตี้ที่ตกรอบ ณ คำถามใด ๆ ก็ตามแต่ จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาทเพื่อนำไปมอบให้กับมูลนิธิที่คู่เซเลบริตี้นั้นได้เลือกไว้ เริ่มเล่น ธันวาคม 2559-กุมภาพันธ์ 2560

The Money Drop Thailand เล่นเป็นหมู่[แก้]

เป็นการแข่งขันของทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คน โดยมีหัวหน้าทีม 1 คนกับลูกทีมอีก 4 คนซึ่งหัวหน้าทีมสามารถเปลี่ยนได้เมื่อทีมผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้าไปเล่นข้อต่อไปได้ กติกาในรูปแบบนี้คือ จะมีหมวดคำถาม 1 หมวดที่ทางรายการกำหนดไว้ในแต่ละข้อ หลังจากนั้นหัวหน้าทีมจะต้องเลือกลูกทีม 1 ใน 4 คนที่คิดว่าช่วยหัวหน้าทีมเล่นข้อนี้ได้มาเล่นเกมข้อนั้น ส่วนที่ไม่ถูกเลือกนั้นก็จะถูกส่งเข้าห้องรวมหมู่ไปโดยอัตโนมัติ ในการเล่นนั้น ยังคงรูปแบบเดิมบางประการ เมื่อเข้าสู่ช่วงการวางเงินที่คำตอบ ณ คำถามใด ๆ ก็ตามนั้น ลูกทีมที่อยู่ในห้องรวมหมู่จะสามารถปรึกษาหารือ ถกเถียงร่วมกันกับผู้เข้าแข่งขันที่ยืนอยู่บนเวทีได้ (แต่ต้องอยู่ในห้องรวมหมู่เท่านั้น) เมื่อสามารถผ่านเข้าไปเล่นข้อไปได้ในแต่ละข้อ (เหลือเงินจำนวนใด ๆ ก็ตาม) ก็จะแสดงหมวดคำถามสำหรับเล่นคำถามข้อต่อไป และหัวหน้าทีมจะมีสิทธิ์ว่า จะเอาลูกทีมในขณะนี้อยู่บนเวทีต่อหรือจะเอาลูกทีมจากห้องรวมหมู่คนใหม่มายืนอยู่บนเวทีช่วยหัวหน้าทีมเล่นข้อนั้นแทนที่ลูกทีมคนเดิม แต่ถ้าเลือกลูกทีมคนใหม่แล้ว ลูกทีมคนเดิมจะถูกส่งเข้าห้องรวมหมู่และหัวหน้าทีมจะไม่สามารถเรียกขึ้นมายืนบนเวทีได้อีกต่อไป เมื่อสามารถผ่านเข้าไปเล่นข้อที่ 7 (Final) ได้ลูกทีมที่ช่วยหัวหน้าทีมข้อที่ 6 จะต้องเล่นคำถามข้อนี้โดยบังคับ จบคำถามทั้ง 7 ข้อ เหลือเงินได้เท่าไหร่ เอาเงินที่เหลืออยู่ในขณะนั้นกลับบ้านไปทั้งทีม แต่ถ้าตอบผิดจนทำเงินตกลงไปข้างล่างครบ 2,000,000 บาทที่คำถามข้อใดก็ตามแต่ Game Over ทันที ทีมนั้นจะตกรอบและไม่ได้เงินรางวัลใด ๆ ส่วนตัวเลือกของคำถามนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ยังคงรูปแบบเดิมตามปกติ อย่างไรก็ดีรูปแบบนี้จะไม่มีการแจกรถยนต์ 1 คันแต่อย่างใด เริ่มเล่นในเดือนมีนาคม-2 เมษายน 2560, 13-20 พฤษภาคม 2560, 3 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2560, การแข่งขันรายการพิเศษ "เพื่อนช่วยเพื่อน" ทีมสุดท้าย และทีมสุดท้ายของรายการจนถึงวันที่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561

The Money Drop Thailand เพื่อนช่วยเพื่อน[แก้]

เป็นการแข่งขันของคู่ดาราใจบุญเพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้ประสบความเดือดร้อนจากเรื่องราวต่าง ๆ โดยเฉพาะ เริ่มแข่งขันเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2560 ถึงเดือนสิงหาคม 2560 กติกาเกมนี้คือ ทางรายการจะมีผู้ประสบความเดือดร้อน 1 กลุ่มมาพูดคุย บอกเล่าเรื่องราวความเดือดร้อนของเขา โดยที่ทางรายการจะมอบเงินช่วยเหลือจากทางรายการไปก่อนต่างหาก 10,000 บาท สำหรับดาราใจบุญ กติกาการเล่นเกมจะเหมือนกับรอบปกติทุกประการ แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ หากเล่นครบ 7 ข้อแล้วดาราใจบุญรักษาเงินได้เท่าไหร่ ผู้ประสบความเดือดร้อนทีมนั้นก็จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มตามจำนวนนั้นรวมกับเงิน 10,000 บาทที่ได้รับไปก่อนต่างหาก หากผลออกมาเป็น Game Over นอกจากนี้ ทีมผู้เดือดร้อนทุกคู่จะได้รับ Gift Set จากผลิตภัณฑ์กางเกงผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ไลฟ์รี่ไปด้วย ในกรณีที่ดาราใจบุญนั้นมีอยู่ในทีม 5 คน ก็จะใช้กติกาการเล่นเป็นหมู่ไปด้วย

รางวัลและการเข้าชิง[แก้]

รางวัล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน
ASIAN TELEVISION AWARDS 2017[4]
BEST GAME OR QUIZ PROGRAMME The Money Drop Thailand เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง[แก้]

  1. PRSociety (30 กรกฎาคม 2557). "เอ วราวุธ ส่งรายการควิซโชว์ "THE MONEY DROP ไทยแลนด์" เกมโชว์ระดับโลก ลงจอช่อง 7 สี กับเงินรางวัล 2 ล้านบาท แพนเค้ก – สารวัตรหมี ควงคู่โชว์หวานประเดิมรายการ กรี๊ดสนั่น-กระโดดกอด-ลุ้นระทึก เริ่ม 2 สิงหาคมนี้!!!". Prsociety.net. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. bugaboo (14 มิถุนายน พ.ศ. 2562). "เตรียมตัวให้พร้อม The Money Drop Thailand กำลังจะกลับมา". bugaboo.tv. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. bugaboo (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562). "The Money Drop Thailand เพิ่มกติกาใหม่ เสริมทัพพิธีกรใหม่ เริ่มแจกเงิน 4 ส.ค.62". bugaboo.tv. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "2017 Nominees - Asian Television Awards". Asiantvawards.com. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]