ประกาศก้องจอมราชา
ประกาศก้องจอมราชา | |
---|---|
![]() โปสเตอร์โฆษณาภาพยนตร์ | |
กำกับ | ทอม ฮูปเปอร์ |
อำนวยการสร้าง | Iain Canning Emile Sherman Gareth Unwin Geoffrey Rush |
เขียนบท | David Seidler |
นักแสดงนำ | Colin Firth Geoffrey Rush Helena Bonham Carter Guy Pearce Timothy Spall Derek Jacobi Jennifer Ehle Michael Gambon |
ดนตรีประกอบ | Alexandre Desplat |
กำกับภาพ | Danny Cohen |
ตัดต่อ | Tariq Anwar |
บริษัทผู้สร้าง | See-Saw Films Bedlam Productions |
ผู้จัดจำหน่าย | พาราเมาต์พิกเจอส์ (ออสเตรเลีย) The Weinstein Company (สหรัฐอเมริกา) Momentum Pictures (สหราชอาณาจักร) |
วันฉาย | 23 ธันวาคม ค.ศ. 2010 (ออสเตรเลีย) 24 พฤศจิกายน 2010 (สหรัฐอเมริกา) 7 มกราคม 2010 (สหราชอาณาจักร) |
ความยาว | 118 นาที |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 8 ล้านปอนด์[1] |
รายได้ | 235,468,702 ดอลลาร์สหรัฐ[2] |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ประกาศก้องจอมราชา[3] (อังกฤษ: The King's Speech) เป็นเรื่องราวของบุรุษผู้ต่อมาขึ้นครองบัลลังก์เป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระบิดาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ภายหลังพระเชษฐาของพระองค์สละราชสมบัติ จอร์จต้องขึ้นครองราชย์แทนอย่างไม่ได้เตรียมใจนัก แต่ด้วยปัญหาอาการพูดติดอ่างซึ่งนำมาสู่ความกังวลว่าจะไม่เหมาะสมที่จะเป็น กษัตริย์ที่ดี จอร์จได้รับความช่วยเหลือจากไลโอเนล ลอจ นักบำบัดอาการบกพร่องทางการพูด จนเกิดเป็นมิตรภาพ และทำให้จอร์จเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ต่อมา
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าจอร์จที่ 5 (ไมเคิล แกมบอน) ผู้เป็นพระบิดา พร้อมกับการสละโอกาสครองราชย์บัลลังก์ของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด (กาย เพียร์ซ) ส่งผลให้เบอร์ตี (โคลิน เฟริร์ธ) ผู้มีปัญหาทางการพูด ต้องขึ้นครองราชย์แทนในนามพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งอังกฤษ ด้วยเหตุที่ประเทศตกอยู่ในสถานการณ์จวนเจียนเข้าสู่สงครามและจำเป็นต้องมี ผู้นำที่เข้มแข็ง เอลิซาเบธ (เฮเลนน่า บอนแฮม คาร์เตอร์) ภรรยาของเบอร์ตี และอนาคตราชินี จึงจัดแจงให้สามีของเธอได้พบกับไลโอเนล ล็อก (เจฟฟรีย์ รัช) ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคผิดปกติทางการพูด
จากการเริ่มต้นที่แสนลำบาก ผู้รักษาและผู้รับการรักษาต่างร่วมกันแสวงหาวิธีบำบัดใหม่ ๆ ซึ่งก่อกำเนิดมิตรภาพอันลึกซึ้งระหว่างชายทั้งคู่ ด้วยความช่วยเหลือของล็อก รวมทั้งครอบครัว, รัฐบาล และวินสตัน เชอร์ชิลล์ (ทิโมธี สปอลล์) กษัตริย์จอร์จที่ 6 จะต้องเอาชนะอาการพูดติดอ่างให้ได้ เพื่อกล่าวปลุกปลอบพสกนิกรของพระองค์ให้ลุกขึ้นยืนหยัดเคียงข้างประเทศชาติ ในภาวะสงคราม
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ชนะเลิศรางวัลจากสถาบันทางภาพยนตร์ต่างๆ รวมทั้งสิ้น 75 รางวัล โดยมีรางวัลที่สำคัญ คือการชนะเลิศรางวัลออสการ์ ใน 4 รางวัล ได้แก่
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากการแสดงของโคลิน เฟิร์ธ ในบท พระเจ้าจอร์จที่ 6
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการกำกับของ ทอม ฮูเปอร์
- บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.guardian.co.uk/film/2011/feb/11/baftas-the-kings-speech-riches
- ↑ http://www.boxofficemojo.com/movies/?id=kingsspeech.htm
- ↑ "ประกาศก้องจอมราชา". สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help)