ซิลเวอร์แชร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Silverchair)

ซิลเวอร์แชร์
บนเวทีเมื่อ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2006
ข้อมูลพื้นฐาน
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อก, กรันจ์, อาร์ตร็อก
ช่วงปี1992–2011
ค่ายเพลงเมอร์เมอร์,อีพิก,อีเลฟเวน
สมาชิกดาเนียล จอห์นส
คริส โจนนาว
เบน จิลลีส์
เว็บไซต์http://www.chairpage.com/

ซิลเวอร์แชร์ (อังกฤษ: Silverchair) เป็นวงอัลเทอร์เนทีฟร็อกจากออสเตรเลีย แรกเริ่มรวมตัวกันในชื่อวง อินโนเซนต์คริมินอลส์ (Innocent Criminals) ที่นิวคาสเซิล นิวเซาธ์เวลส์ ในปี ค.ศ. 1992 โดยมีสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อนตั้งวงคือ ดาเนียล จอห์นส (ร้องนำและกีตาร์) , คริส โจนนาว (กีตาร์เบส) และ เบน จิลลีส์ (กลอง) วงประสบความสำเร็จกลางปี ค.ศ. 1994 เพลงแรกคือ "Tomorrow" ที่ชนะการประกวดระดับท้องถิ่นจากเครือข่ายสถานีโทรทัศน์เอสบีเอส จากนั้นวงก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลง เมอร์เมอร์ และมีผลงานประสบความสำเร็จดีในออสเตรเลียและระดับนานาชาติ

จากข้อมูลปี ค.ศ. 2011 ซิลเวอร์แชร์ได้รับรางวัล รางวัลอาเรีย ถึง 21 ครั้ง จากการเสนอชื่อ 49 ครั้ง[1] และยังได้รับ 6 รางวัลเอพรา[2][3] โดยจอห์นส ได้รับ 3 รางวัลสาขานักเขียนในปี ค.ศ. 2008 พวกเขามีผลงานสตูดิโออัลบั้ม 5 ชุดที่ล้วนแต่ขึ้นอันดับ 1 บนอาเรียอัลบั้มส์ชาร์ต ได้แก่ Frogstomp (1995), Freak Show (1997), Neon Ballroom (1999), Diorama (2002) และ Young Modern (2007) นอกจากนั้น 3 ซิงเกิลติดอันดับ 1 บน อาเรียซิงเกิลส์ชาร์ต คือเพลง "Tomorrow" (1994), "Freak" (1997) และ "Straight Lines" (2007)

แนวเพลงของซิลเวอร์แชร์ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป มีความแตกต่างกันไปในแต่ละอัลบั้ม มีการเติบโตไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากแนว กรันจ์/โพสต์-กรันจ์ ในอัลบั้มชุดแรก ไปจนถึงชุดล่าสุดที่ผสมผสานไม่ว่าจะเป็นออร์เคสตราไปจนถึงอาร์ตร็อก ทางด้านนักเขียนเพลงของวงอย่างดาเนียล จอห์นสก็พยายามพัฒนาในการเขียนเพลง และทางวงก็พัฒนาลูกเล่นใหม่ ๆ ที่ซับซ้อนขึ้นในงานชิ้นต่อไป ในปี ค.ศ. 2003 หลังออกอัลบั้มชุด Diorama วงประกาศพักวง ในช่วงนั้นเองสมาชิกแต่ละคนก็ออกไปมีผลงานเพลงของตนเอง คือวง เดอะดิซโซซิเอทีฟส์ ,เดอะเมสส์ฮอลล์ และ แทมบาเลน จนกระทั่งซิลเวอร์แชร์ได้รวมตัวกันอีกครั้งในคอนเสิร์ต 2005 เวฟเอด และออกผลงานเพลงชุด Young Modern และได้ร่วมทัวร์กับวงอย่าง พาวเดอร์ฟิงเกอร์ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ออกมาประกาศจำศีลอย่างไม่มีกำหนด ในเดือนนั้นเอง วงมียอดขายอัลบั้มมากกว่า 6 ล้านชุด

ประวัติ[แก้]

การรวมตัวและผลงานช่วงแรก (1992–1996)[แก้]

จุดกำเนิดของ ซิลเวอร์แชร์ เริ่มตั้งแต่ปี 1992 โดยดาเนียล จอห์นส (ร้องนำและกีตาร์) และเบน จิลลีส์ (กลอง) เริ่มเล่นดนตรีด้วยกันมาตั้งแต่สมัยชั้นประถมศึกษา จนเมื่อขึ้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนนิวคาสเซิลไฮสคูล ก็ได้ชักชวนคริส โจนนาว (กีตาร์เบส) เข้ามาเล่นดนตรีด้วยกัน ในนาม ชอร์ตเอลวิส (Short Elvis) จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น อินโนเซนต์คริมินอลส์ (Innocent Criminals)[4][5] พวกเขาได้แสดงโชว์อยู่หลายครั้งในแถบฮันเตอร์วัลเลย์ ในช่วงวัยรุ่นของพวกเขา ซึ่งพวกเขาก็ได้ลงแข่งขันในงานยูธร็อกในปี 1994 (ซึ่งตอนนั้นยังไม่โด่งดัง) เป็นการแข่งขันวงดนตรีที่มาจากโรงเรียน[6] จนกระทั่งวงได้มีชื่อเสียงจากการเป็นวงชนะเลิศการแข่งขันระดับประเทศที่ชื่อ "Pick Me" เป็นรายการทางสถานีโทรทัศน์เอสบีเอสร่วมกับสถานีวิทยุแนวอัลเทอร์เนทีฟที่ชื่อ ทริปเปิลเจ กับเพลงของเขาเองที่ชื่อ "Tomorrow" และส่วนหนึ่งของรางวัลก็คือ สังกัดเพลงทริปเปิลเจ ได้ช่วยบันทึกเพลงและเอสบีเอสทำมิวสิกวิดีโอให้พวกเขา[5] วงอินโนเซนต์คริมินอลส์ในขณะนั้นก็ได้โอกาสเปลี่ยนชื่อวงก่อนที่จะออกซิงเกิลแรกในชีวิต "Tomorrow"[7] โดยทางวงได้เลือกชื่อว่า ซิลเวอร์แชร์ ซึ่งมาจากการเพี้ยนคำของเพลงหนึ่งของวงเนอร์วานาที่ชื่อว่า Sliver กับชื่อของวงเบอร์ลินแชร์[8]

ความนิยมในซิลเวอร์แชร์ทำให้พวกเขาได้เซ็นสัญญาการทำอัลบั้มกับสังกัดโซนีมิวสิก 3 อัลบั้ม และในส่วนสังกัดทริปเปิลเจได้ออกซิงเกิลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1994 ที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทอาเรีย ซิงเกิลชาร์ท เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์[9] ต่อมาในปี 1995 พวกเขาได้ทำการบันทึกเสียงเพลง "Tomorrow" อีกครั้ง (รวมถึงทำมิวสิกวิดีโอใหม่) สำหรับตลาดในอเมริกา และได้กลายเป็นเพลงที่เล่นบ่อยที่สุดสำหรับสถานีวิทยุโมเดิร์นร็อกในปีนั้น[5] อัลบั้มแรกของพวกเขา Frogstomp ใช้เวลาบันทึกเสียงเพียง 9 วัน และออกวางขายในปี ค.ศ. 1995 ซึ่งในเวลาที่บันทึกเสียงอัลบั้มนี้ สมาชิกแต่ละคนมีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น และยังศึกษาในระดับไฮสคูลอยู่[5][10] แนวความคิดในการเขียนเนื้อร้องสำหรับเพลงในอัลบั้ม Frogstomp ได้มาจากนิยาย ภาพเขียนทางโทรทัศน์ โศกนาฏกรรมในแถบที่เขาอยู่อาศัย ความเจ็บปวดของเหล่าเพื่อนพ้องของเขา อัลบั้มนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดี All Music Guide และ นิตยสารโรลลิงสโตน ให้คะแนนไว้ที่ 4 ดาว และ 4 ดาวครึ่ง ตามลำดับ ให้คำชมต่อความเอาจริงเอาจังสำหรับอัลบั้มนี้โดยเฉพาะกับเพลง "Tomorrow"[11][10] และอัลบั้ม Frogstomp ก็ขึ้นอันดับ 1 ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และสามารถขึ้นไปใน 10 อันดับแรกของนิตยสารบิลบอร์ดในส่วนของชาร์ทบิลบอร์ด 200 และทำให้พวกเขาเป็นวงออสเตรเลียวงแรกตั้งแต่วง อินเอ็กเซส สามารถทำได้ อัลบั้มนี้มียอดขาย 2.5 ล้านชุดทั่วโลก[5] ทั้งอัลบั้ม Frogstomp และเพลง "Tomorrow" ก็ยังคงรับรับความนิยมในปีนั้น พวกเขายังได้ทัวร์ร่วมกับวงอย่างเรดฮ็อตชิลิเป็ปเปอร์ส และร่วมแสดงบนชั้นหลังคาของเรดิโอซิตีมิวสิกฮอลล์ ขณะที่พวกเขาก็ยังคงศึกษาต่อในนิวคาสเซิลด้วย[12] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1996 เกิดเหตุฆาตกรรมขึ้น จำเลยที่ชื่อว่า ไบรอัน บาสเซ็ตต์ อายุ 16 ปี และนิโคลัส แม็กโดนัลด์ อายุ 18 ปี ทั้งคู่ได้อ้างว่าฟังเพลงที่ชื่อ "Israel's Son" จากอัลบั้ม Frogstomp เป็นเหตุจูงใจในการฆาตกรรมผู้ปกครองของบาสเซ็ตต์และพี่ชาย ทนายฝ่ายจำเลยพยายามโยนความผิดให้วง ทางวงได้ออกมาปฏิเสธว่าเพลงของพวกเขาไม่ได้สร้างความรุนแรงดังกล่าว และทางวงพ้นข้อกล่าวหานี้[13]

เสียงวิจารณ์และความสำเร็จ (1997–2001)[แก้]

ขณะที่พวกเขากำลังประสบความสำเร็จจากผลงานอัลบั้มชุด Frogstomp ทั้งในออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ซิลเวอร์แชร์เริ่มบันทึกเสียงผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 Freak Show ออกวางขายในปี 1997 อัลบั้มนี้มีเพลงติดใน 10 อันดับแรกบนชาร์ทซิงเกิลของออสเตรเลียคือเพลง "Freak", "Abuse Me" และ "Cemetery" ซิงเกิลที่ 4 "The Door" ติดชาร์ทที่อันดับ 25[9] หลายเพลงในอัลบั้มนี้สื่อถึงอารมณ์โกรธ ปฏิกิริยาอันรุนแรงที่คาดหวังในอัลบั้ม Frogstomp ของวงซิลเวอร์แชร์เอง[14] Freak Show ทำยอดขายระดับแผ่นเสียงทองคำในสหรัฐอเมริกา[15] และมียอดขายอัลบั้มชุดนี้เกินกว่า 1.5 ล้านชุดทั่วโลก[16]

หลังจากที่เรียนจบจากโรงเรียน ทางวงสามารถที่จะมีเวลามากพอที่จะสร้างสรรค์ผลงานอัลบั้มชุดใหม่ Neon Ballroom ซึ่งออกวางขายในปี ค.ศ. 1999 เดิมทีทางวงตั้งใจไว้ว่าจะหยุดพักเป็นเวลา 12 เดือนแต่สุดท้ายก็ใช้เวลาทำงานเพลงชุดนี้[17] Neon Ballroom มีซิงเกิลอยู่ 4 ซิงเกิลคือ "Anthem for the Year 2000", "Ana's Song (Open Fire) ", "Miss You Love" และ "Paint Pastel Princess" ซึ่งมี 3 ซิงเกิลที่สามารถขึ้นชาร์ทใน 50 อันดับแรกของ ชาร์ทอาเรีย[9]

ทั้งอัลบั้ม Freak Show และ Neon Ballroom ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทอาเรีย อัลบั้มส์ชาร์ท[18] อีกทั้ง Freak Show ยังสามารถขึ้นชาร์ทอัลบั้มในแคนาดาที่อันดับ 2 และ Neon Ballroom ที่อันดับ 5[19] ซิงเกิล "Freak", "Abuse Me" และ "Cemetery" ติดใน 10 อันดับแรกของชาร์ทซิงเกิลในออสเตรเลีย[9] และ "Abuse Me" ติดอันดับ 4 ในชาร์ทฮ็อตโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ และ ชาร์ทเมนสตรีมร็อกแทร็กส์ ของอเมริกา[20] ซิงเกิล "Anthem for the Year 2000" สามารถขึ้นชาร์ทได้สูงจากซิงเกิลทั้งหมดในอัลบั้ม Neon Ballroom สูงสุดที่อันดับ 3[9] ขณะที่ซิงเกิล "Ana's Song (Open Fire) " สูงสุดที่อันดับ 10 บนชาร์ทโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ ในอเมริกา[19]

ในปี 1999 จอห์นสออกมาประกาศว่าเขารักษาโรคความผิดปกติในการกินอันเนื่องจากความเครียด จอห์นเผยว่า เนื้อเพลง "Ana's Song (Open Fire) " เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติตัว โดยเขากล่าวว่า "กินเพื่ออยู่"[21] จอห์นออกมาเปิดเผยว่า เพลงดังกล่าว เขาเขียนในขณะที่เขากำลังป่วยเป็นโรคความผิดปกติในการกิน เขารู้สึกไม่อยากกินอะไร เขาเกือบฆ่าตัวตาย เขาเกลียดทุกอย่างในช่วงนั้น แม้กระทั่งดนตรี แต่กระนั้นเขาก็เขียนเพลงออกมาได้[22]

ซิลเวอร์แชร์ขยายการทัวร์ออกไปสำหรับอัลบั้ม Neon Ballroom สามารถเพิ่มยอดขายประสบความสำเร็จมากกว่าอัลบั้ม Freak Show นิตยสารโรลลิงสโตนกล่าวถึงความสำเร็จนี้ว่า "มีดนตรีที่โตขึ้น"[23] ในยุโรปและอเมริกาใต้ อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จมากที่สุดของวงจนปัจจุบัน ซิลเวอร์แชร์ออกทัวร์และแสดงสด ในงานแสดงดนตรี รีดดิงเฟสติวัล และ เอ็ดจ์เฟสต์ และ อื่น ๆ[24] ส่วนในปี 2000 ซิลเวอร์แชร์ได้แสดงสดที่ฟอลส์เฟสติวัลเพียงแห่งเดียวในช่วงวันปีใหม่ และในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2001 ได้แสดงต่อหน้าคน 250,000 คนในงานร็อกอินริโอ ถือเป็นหนึ่งในแสดงโชว์ที่น่าจดจำของอาชีพนักดนตรีของพวกเขา[25] หลังจากการทัวร์ทั่วโลก ทางวงประกาศว่าจะหยุดพักเป็นเวลา 12 เดือน[25]

หลังจากออกอัลบั้ม Neon Ballroom เงื่อนไขสัญญา 3 อัลบั้มก็หมดลง มีหลายค่ายเพลงที่ยื่นข้อเสนอมาให้ แต่ก็ลงเอยเมื่อเขาเซ็นสัญญาบค่ายแอตแลนติกเรคคอร์ดส ในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ อีกทั้งพวกเขาก็ได้ตั้งค่ายเพลงของตนเองขึ้นใหม่ในชื่อ อีเลฟเวน: อะ มิวสิก คอมพานี สำหรับในออสเตรเลียและเอเชีย หลังจากที่พวกเขาประกาศ บริษัทโซนีก็ออกอัลบั้มรวมฮิตที่ชื่อว่า The Best of Volume 1 โดยปราศจากการอนุญาตจากทางวง[25]

Diorama (2002–2003)[แก้]

ตัวอย่างเสียงของ ซิลเวอร์แชร์ เพลง "Luv Your Life"
    "Luv Your Life" (จาก en:)
    220px|noicon
    "Luv Your Life" เพลงที่จอห์นสใช้วิธีเขียนเพลงแบบใหม่ด้วยเปียโน และมีการเรียบเรียงออสเครสตราโดยแวน ไดค์ พาร์กส
  • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2001 ซิลเวอร์แชร์เข้าสตูดิโอในซิดนีย์กับโปรดิวเซอร์ เดวิด บ็อททริลล์ (เคยทำงานร่วมกับ ทูล ,ปีเตอร์ แกเบรียล, คิง คริมสัน) เริ่มทำงานอัลบั้มชุดที่ 4 Diorama โดยหนนี้ ดาเนียล จอห์นส รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ร่วม[26] อัลบั้มนี้จอห์นสอธิบายไว้ว่า "เป็นโลกในอีกโลก""[27] มาจากการค้นพบการเขียนเพลงวิธีใหม่ ที่มาจากการใช้เปียโน เป็นเทคนิกที่เขาพัฒนาระหว่างช่วงพัก[28] และยังมีนักดนตรีหลายคนร่วมได้มาทำงานร่วมในอัลบั้ม Diorama ไม่ว่าจะเป็น แวน ไดค์ พาร์กส ที่เรียบเรียงออร์เครสตราให้กับเพลง "Tuna in the Brine", "Luv Your Life" และ "Across the Night"[29] และยังมีพอล แม็ก จิม โมจินี และ ยอน การ์เฟียส ก็ร่วมงานกับวงด้วย[30] ขณะที่บันทึกเสียงอัลบั้ม Diorama จอห์นสกล่าวว่าเขาเหมือนเป็นศิลปินคนหนึ่ง มากกว่าสมาชิกวงร็อกวงหนึ่ง และหลังจากอัลบั้มออก คำวิจารณ์ต่ออัลบั้มมีว่าเป็นอัลบั้มที่มีศิลปะมากกว่างานชิ้นก่อน ๆ[31][32]

ซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม Diorama คือ "The Greatest View" ออกอากาศทางเครือข่ายสถานีวิทยุในออสเตรเลียในช่วงต้นเดือนธันวาคม หลังจากนั้นซิงเกิลก็ออกวางขายในช่วงเวลาใกลกับที่วงปรากฏตัวในการทัวร์ บิ๊กเดย์เอาท์ทัวร์[33] ในช่วงออกทัวร์ จอห์นสประสบปัญหากับอาการข้อต่ออักเสบ ทำให้เป็นการยากต่อการเล่นกีตาร์[34][35]

Diorama ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทอัลบั้มของชาร์ทอาเรีย และอยู่ในอันดับนาน 50 สัปดาห์ใน 50 อันดับแรก[9] 5 ซิงเกิลจากอัลบั้มนี้คือ "The Greatest View", "Without You", "Luv Your Life", "Across the Night" และ "After All These Years" ซิงเกิลที่ขึ้นอันดับสูงสุดคือ "The Greatest View" ที่สามารถขึ้นอันดับ 3 บนชาร์ทซิงเกิลของอาเรีย[9] Diorama ยังประสบความสำเร็จในงาน 2002 อาเรียอวอร์ดส รับรางวัล 5 สาขา รวมถึงอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม และ ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม[1] ซิลเวอร์แชร์เล่นเพลง "The Greatest View" ในงานประกาศรางวัลครั้งนี้ และเพลงนี้ก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลวิดีโอยอดเยี่ยมอีกด้วย[36] หลังจากงานครั้งนี้ทางวงได้ออกมาประกาศการแยกวง จอห์นสออกมาเปิดเผยว่า "ตามความจริงวงได้อยู่ร่วมกันมานานกว่า 10 ปี ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ"[5][37]

ช่วงพักและโครงการอื่น (2004–2005)[แก้]

ในปี 2000 ขณะที่ยังทำงานร่วมวงซิลเวอร์แชร์ จอห์นและพอล แม็ก ออกอีพี ที่มีเฉพาะอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ชื่อชุดว่า I Can't Believe It's Not Rock และหลังจากการประกาศแยกวงซิลเวอร์แชร์ ทั้งจอห์นสและพอลก่อตั้งวงที่ชื่อ เดอะดิซโซซิเอทีฟส์ ออกอัลบั้มแรก The Dissociatives ในปี 2004[38] จอห์นยังได้ทำงานร่วมกับนาตาลี อิมบรูกเลีย ภรรยาของเขา (ในขณะนั้น) ในอัลบั้มของเธอ Counting Down the Days ออกเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2005[39] ขณะที่โจนนาวทำงานในโปรเจกต์อื่นในนามวง เดอะเมสส์ฮอลล์ ทำเพลงอัลบั้มที่สองของพวกเขาที่ชื่อ Feeling Sideways[40] อัลบั้มนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงอาเรียอวอร์ดส สาขาผลงานจากค่ายอิสระยอดเยี่ยม ในปี 2003[41] จิลลีส์ก็มีงานโปรเจกต์อื่นในนามวง แทมบาเลน กับอัลบั้ม Tambalane และได้ทัวร์คอนเสิร์ตทั่วออสเตรเลีย[42]

หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2004 ซิลเวอร์แชร์รวมตัวสำหรับงานเวฟเอด เพื่อหาเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย งานจัดขึ้นในซิดนีย์ในปี 2005 และเพื่อหาเงินช่วยเหลือกับองค์การสำหรับภัยพิบัติครั้งนี้ เป็นเวลาเดียวกันกับที่ทางวงตัดสินใจที่จะรวมตัวกันใหม่[43] จิลลีส์ได้พูดถึงปฏิกิริยาการรวมตัวของสมาชิกในวงนี้ในรายการเดอะซิดนีย์มอร์นิงเฮอร์รัลด์ว่า "มันเป็นเวลา 15 ปีของพวกเรา แต่ตอนนี้พวกเราก็ตระหนักดีว่า เรามีสิ่งพิเศษและจะต้องทำมัน"[44]

กลับมาอีกครั้ง (2006–2010)[แก้]

หลังจากแสดงในงานเวฟเอด ซิลเวอร์แชร์รวมตัวกันอีกครั้งและเริ่มเตรียมการทำงานสำหรับอัลบั้มถัดไป ในปี 2006 ทางวงได้ทำเดโมอัลบั้ม Young Modern ในฮันเตอร์วัลเลย์ และบันทึกเสียงในลอสแอนเจลิส ที่ซีนีอันเดอร์เบลลีสตูดิโอ ร่วมกับโปรดิวเซอร์ นิก ลอเนย์[45] แวน ไดค์ พาร์กส ได้มาร่วมงานอีกครั้ง โดยเดินทางไปที่ปราก เพื่อบันทึกเสียงออร์เครสตรากับวงเชคฟิลฮาร์โมนิก[46] ซิลเวอร์แชร์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยอิสระ ผิดจากอัลบั้มก่อนที่ต้องทำงานร่วมกับค่ายเพลงต้นสังกัด[5]

ซิลเวอร์แชร์แสดงได้ อะครอสเดอะเกรตดีไวด์ทัวร์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007

วงได้ออกทัวร์ก่อนที่จะออกวางขายอัลบั้ม การแสดงที่ โฮมเบกและอีกหลายที่ พวกเขาได้นำเพลงเก่าของวงมิดไนต์ออย มาทำใหม่ในเพลง "Don't Wanna Be the One" และได้แสดงที่งาน 2006 อาเรียอวอร์ดส ที่เป็นส่วนหนึ่งของรางวัลยกย่องในอาเรียฮอลล์ออฟเฟรม ระหว่างการแสดง จอห์นสพ่นสเปรย์เป็นคำว่า PG4PM ซึ่งย่อมาจาก Peter Garrett for Prime Minister (ปีเตอร์ การ์เร็ตต์ สำหรับนายกรัฐมนตรี) เพื่อเป็นการสนับสนุนเขา ซึ่งการ์เร็ตต์ก็ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคแรงงานออสเตรเลีย[47] และในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ซิลเวอร์แชร์และวงพาวเดอร์ฟิงเกอร์ประกาศทัวร์ด้วยกันในอะครอสเดอะเกรตดีไวด์ทัวร์ โดยจุดประสงค์ของทัวร์เพื่อหารายได้ให้โครงการรีคอนซิลิเอชันออสเตรเลียในการลดช่องว่างระหว่างเด็กชาวอะบอริจินและที่ไม่ใช่ชาวอะบอริจิน[48][49]

อัลบั้ม Young Modern ออกวางขายในปี 2007 มีซิงเกิลแรกคือ "Straight Lines" และซิงเกิลถัดมาคือ "Reflections of a Sound", "If You Keep Losing Sleep" และ "Mind Reader" ซึ่ง Young Modern เป็นอัลบั้มที่ 5 ของวงซิลเวอร์แชร์ที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทอัลบั้มของชาร์ทอาเรีย[50] ซิงเกิล "Straight Lines" เป็นซิงเกิลที่สามของวงที่สามารถขึ้นอันดับ 1 ในออสเตรเลียได้[9] ทั้งอัลบั้มและเพลงได้รับ 3 รางวัลจากเวที 2007 อาเรียอวอร์ดส ทำให้ซิลเวอร์แชร์ได้รับรางวัลรวมจากเวทีนี้ 20 รางวัล[1] วงยังได้รับ 3 รางวัลเอพรา จากเพลง "Straight Lines" รวมถึงสาขานักเขียนแห่งปีสำหรับจอห์นส ที่ได้รับรางวัลนี้เป็นครั้งที่ 3 ในงานแจกรางวัลอาเรีย 2008 ทั้งซิลเวอร์แชร์และพาวเดอร์ฟิงเกอร์ ได้รับรางวัล ดีวีดีประเภทดนตรียอดเยี่ยม จากผลงานชุด Across the Great Divide สำหรับซิลเวอร์แชร์แล้ว การเสนอชื่อครั้งนี้เป็นการได้รับรางวัล 21 ครั้ง จากการเสนอชื่อ 49 ครั้ง[1][51]

ซิลเวอร์แชร์ในงานเบนดิโกเมย์ ในปี ค.ศ. 2010

จากเว็บไซต์ของซิลเวอร์แชร์ เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 วงเริ่มทำงานผลงานอัลบั้มชุดใหม่หลังจากอัลบั้ม Young Modern พวกเขาใช้เวลา 3 สัปดาห์ในออสเตรเลียสำหรับการบันทึกเสียง ที่คาดว่าจะออกปลายปีนั้น แต่ก็ไม่ได้กำหนดวันออกขาย แต่วงก็ได้อัปโหลดวิดีโอการทำงานในสตูดิโอ ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวง ในเดือนธันวาคม จอห์นสเรียกผลงานนี้ในรายการวิทยุทริปเปิลเจ ว่า Robbie, Marieke and The Doctor และสนทนาว่าพวกเขากำลังทำงานอยู่ในนิวคาสเซิล โดยบอกว่า "ความแตกต่างคือ ได้ทดลองเรื่องการใช้เครื่องดนตรีและดนตรีสังเคราะห์"[52] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 โจนนาวออกมาประกาศทางเว็บไซต์ของเขาว่า จะเล่นเพลงใหม่ 2 เพลงที่ชื่อ "16" และ "Machina Collecta" ที่งานเทศกาลดนตรีกรูฟวิลเดอะมู ในเดือนพฤษภาคม เขาบอกว่างานกำลังเป็นไปได้ด้วยดีและยังไม่มีชื่ออัลบั้ม โดยพวกเขาจะเรียกชื่อลำลองอัลบั้มนี้ว่า Album #6[53] คอนเสิร์ตสุดท้ายในเทศกาลดนตรีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่บันบูรี[53] และในปลายปีนี้พวกเขาจะหยุดทำผลงานอัลบั้ม เหตุเพราะสมาชิกแต่ละคนกำลังสนใจในงานอื่นอยู่[5]

การจำศีลอย่างไม่มีกำหนด[แก้]

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 วงออกมาประกาศว่าจำศีลอย่างไม่มีกำหนด

พวกเราก่อตั้งวงซิลเวอร์แชร์มาเกือบ 20 ปี เมื่อพวกเราอายุแค่ 12 ปี ณ วันนี้พวกเราได้ยืนอยู่บนกฎเดิม ๆ ที่ตอนนี้ก็กลับมาอีกครั้ง ถ้าวงไม่สนุกและหมดความคิดสร้างสรรค์ พวกเราก็ต้องหยุดไป ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราได้มาจะดีที่สุดในปีที่ผ่านมา หรือทำให้รู้แจ้งเพิ่มขึ้นว่า ความมีชีวิตชีวานั้นไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างเราทั้ง 3 คนเท่านั้น ดังนั้นหลังจากที่เราค้นหาจิตวิญญาณอย่างมาก เราต้องการให้พวกคุณรู้ว่าซิลเวอร์แชร์ "จะจำศีลอย่างไม่มีกำหนด" และเราตัดสินใจว่าจะทำให้สิ่งที่แต่ละคนต้องการ ที่จะเห็นในอนาคตไม่ไกลนี้

เบอร์นาร์ด ซูเอล นักเขียนจาก Sydney Morning Herald พูดว่าที่วงใช้คำว่า "จำศีลอย่างไม่มีกำหนด" เพื่อที่จะให้ดูเบาลงกว่าการแตกวง เขายังหวังว่าวงจะรวมตัวกันใหม่[54] ในเดือนมิถุนายน จิลลีส์ได้ขึ้นแสดงหลังจากทำผลงานอัลบั้มเดี่ยวกว่า 12 เดือน และเขาพูดว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลงานก่อนหน้านี้กับวงแทมบาเลน[55] ในเดือนตุลาคม จอห์นส ทำงานเพลงประกอบภาพยนตร์สั้นเรื่อง My Mind's Own Melody[56]

แนวเพลง[แก้]

ตัวอย่างเสียงของ ซิลเวอร์แชร์ เพลง "Straight Lines"
    "Straight Lines" (จาก en:)
    220px|noicon
    "Straight Lines" ซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม Young Modern ที่เห็นความแตกต่างของทิศทางดนตรีของซิลเวอร์แชร์ และเป็นอัลบั้มที่พวกเขาได้ทำดนตรีและผลิตผลงานเอง เพลงนี้สามารถชนะในเวทีอาเรียอวอร์ดสาขา เพลงประจำปี ค.ศ. 2007
  • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ

ซิลเวอร์แชร์เป็นวงดนตรีแนวอัลเทอร์เนทีฟร็อก/โพสต์กรันจ์ ถึงแม้ว่าแนวเพลงจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเติบโตของพวกเขา การเริ่มต้นทำงานช่วงแรกเป็นโพสต์กรันจ์ ได้รับอิทธิพลจาก เนอร์วาน่า ,เพิร์ลแจม, ซาวด์การ์เดน และ แบล็กซับบาธ[57] จิลลีส์ยอมรับว่าวงได้รับอิทธิพลมาจากแนวเพลงแบบซีเอเทิลซาวน์ และวงอย่าง เดอะบีทเทิลส์ และ เดอะดอร์ส ที่เป็นวงที่เขาประทับใจตั้งแต่ยังเด็ก[58]

ในการเขียนงานในชุด Young Modern จอห์นสพยายามทำดนตรีให้เรียบง่าย ถึงแม้ว่าจะมีโครงสร้างทางดนตรีที่สลับซับซ้อน เนื้อเพลงเขียนหลังจากได้ดนตรีแล้ว ในบางครั้งหลังจากที่บันทึกเสียง จอห์นสจะพูดว่าเขากลัวที่จะเขียนเนื้อเพลง เขากล่าวต่อว่า วงสามารถผลิตผลงานอัลบั้มบรรเลงได้ในอนาคต[59]

โจนนาวเชื่อว่างานในอัลบั้ม Young Modern มีความเรียบง่ายกว่าอัลบั้ม Diorama แต่ "ก็ยังคงซับซ้อนภายใต้ความเรียบง่ายขององค์ประกอบดนตรีป็อป" เขาพูดว่า ความสำเร็จของเขาและวง ที่แสดงจากซิลเวอร์แชร์ ดูเหมือนพยายามชี้นำให้พวกเขาทำดนตรีและการเขียนเพลงให้หนักขึ้น ในการผลิตผลงานโดยปราศจากความกดดันของค่ายเพลง[60]

จิลลีส์กล่าวว่า "ซิลเวอร์แชร์มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียแฟนเพลง"[58] และยิ่งชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงทิศทางดนตรีในผลงานชุด Diorama และ Young Modern[58] อย่างไรก็ตามเขาก็อธิบายไว้ว่า "เราไม่ได้ซุกซ่อนความสามารถไว้ และคนหลายคนก็ไม่รู้สิ่งที่คาดหวังของตนเอง" และมันก็เป็นสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของวง ถึงแม้ว่าจะมีช่วงขึ้นและช่วงลงของความสำเร็จในช่วงแรก จิลลีส์พูดต่อว่า "เรารู้สึกพอใจสิ่งที่เราได้รับในอาชีพการงานของเรา"[58]

การตอบรับ[แก้]

ซิลเวอร์แชร์ในงานบิ๊กเดย์เอาต์ 2008 ในช่วงผลงานชุด Young Modern

นักวิจารณ์อธิบายว่า Frogstomp มีความคล้ายกับ เนอร์วาน่า และ เพิร์ลแจม โดยสตีเฟน โทมัส เออร์ลีไวน์ จากเว็บไซต์ออลมิวสิก เขียนไว้ว่า "เป็นอัลเทอร์เนทีฟร็อกแบบดั้งเดิม" ของวง[11] การเขียนเพลงดูแย่เมื่ออยู่บนเวที โดยเออร์ลีไวน์กล่าวต่อว่า "ความสามารถในการเขียนเพลงของพวกเขายังไม่แข็งแรง" เมื่อเทียบกับวงอื่น[11] นิตยสารโรลลิงสโตนกล่าวว่าซิลเวอร์แชร์ดูเหนือกว่าวงอื่นบ้าง และชมเชยจอห์นเรื่องเสียงร้อง[10] Freak Show แสดงมากกว่าแนวเพลงของพวกเขา มากกว่างานก๊อปปี้คนอื่น[61] และมีคำชมเชยเกี่ยวกับการเขียนเพลง โดยแซนดี มาซูโอ จากยาฮู! มิวสิก อธิบายเกี่ยวกับเนื้อเพลงว่า "เคลื่อนไหว" และ "เข้าถึงอารมณ์"[62]

เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี พิสูจน์ความพัฒนาในอัลบั้ม Neon Ballroom โดยเขียนเปรียบเทียบกับวงร็อกรุ่นใหญ่อย่างวง เอซี/ดีซี และวิจารณ์ว่า "ดูหรูหราบนการเรียบเรียงแบบผู้ใหญ่"[63] สิ่งที่เห็นชัดเจนในการพัฒนาด้านการเขียนเพลง จอห์นอธิบายไว้ว่า "อารมณ์ที่รุนแรง, แรงกระตุ้น และทุกอย่างโตขึ้น"[63] อย่างไรก็ตามโรลลิงสโตนพูดว่าอัลบั้มยังคงดูสับสน วิจารณ์ไว้ว่า "ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าพวกเขาต้องการจะทำอะไร" กับเพลงพวกเขา[64] ขณะเดียวกัน Diorama ถูกมองว่าเป็นส่วนขยายในความเป็นตัวเองของวง ด้วย "การเรียบเรียงดนตรีออเคสตร้าที่หนักหน่วง การเคลื่อนไหวของท่วงทำนองที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และความรู้สึกแห่งเพลงป็อปที่ดูแปลกประหลาด"[65] และ นิกกิ แทรนเตอร์จากป็อปแมตเตอร์ส กล่าวว่า "Diorama เป็นอัลบั้มแถวหน้าของตลาดวงการเพลงออสเตรเลียที่น่าเบื่อ"[66]

เคลย์ตัน โบเกอร์ จากออลมิวสิกไกด์ อธิบาย Young Modern ว่าเป็นการพัฒนาของทางวง กล่าวชมเชยว่า "มีท่อนฮุกที่ติดหู ธีมเนื้อหาที่เป็นแรงบันดาลใจ การเรียบเรียงเครื่องสายที่น่าตะลึง" เขายังกล่าวว่า "อัลบั้มนี้ถึงเป็นการพัฒนาสูงสุดของทางวง"[67] นิก แพร์สัน จากป็อปแมตเตอร์สพูดในทางตรงกันข้ามว่า "เมื่อคุณก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ที่คุณสามารถรู้ความแตกต่างระหว่าง เนื้อร้องบทกวีที่กำกวม กับ เรื่องไร้สาระ คุณก็จะดูโตเร็วกว่า ซิลเวอร์แชร์"[68] แพร์สันเรียกอัลบั้มนี้ว่า พยายามทำให้เซฟและมียอดขายที่มั่นใจได้ หลังจากงานที่ประสบความสำเร็จในอดีต และเรียกว่ามันน่าเบื่อมากกว่า[68]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 เพลง "Tomorrow" ได้รับการลงคะแนนเสียงอยู่อันดับ 33 ในหัวข้อเพลงที่ร้อนแรงที่สุดตลอดกาล 100 อันดับของทริปเปิลเจ[69] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 วงมียอดขายอัลบั้มมากกว่า 6 ล้านชุด[70][71] ในงานแจกรางวัลอาเรีย ซิลเวอร์แชร์ถือสถิติเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมากที่สุด 49 ครั้ง และได้รับรางวัลมากที่สุด 21 ครั้ง นับแตกต่างเปิดตัวในปี ค.ศ. 1995 ที่พวกเขาได้รับ 5 รางวัลจากการเสนอชื่อ 9 รางวัล รวมถึงรางวัลศิลปินหน้าใหม่ และศิลปินแจ้งเกิด ทั้งในสาขาอัลบั้มและซิงเกิล[72] ปีที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือปี ค.ศ. 2007 ที่ได้รับรางวัล 6 รางวัลจากการเสนอชื่อ 8 ครั้ง[1][73]

ผลงาน[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Winners by artist: Silverchair". Australian Recording Industry Association (ARIA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 1 October 2011.
  2. "1996 Winners". Australasian Performing Right Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-23.
  3. "2003 Winners". Australasian Performing Right Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-02-23.
  4. อัลบั้ม Young Modern siamzone.com
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Stephen Thomas Erlewine, Andrew Leahey. "Silverchair > Biography". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  6. "Past performers". YouthRock. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-22. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  7. "Interview: Silverchair". Silent Uproar. 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "Interview with Daniel Johns". Hitkrant. 1 มิถุนายน ค.ศ. 1996. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 "Silverchair Discography". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Silverchair: Frogstomp". Rolling Stone. 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. 11.0 11.1 11.2 Stephen Thomas Erlewine. "Frogstomp > Overview". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  12. "Artist :: Silverchair". Australian Music Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-31. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  13. "Attorney wants to open teen's murder trial with rock song". Seattle Post-Intelligencer. 18 มกราคม ค.ศ. 1996. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. Simon Wooldridge (February 1997). "Freak Show Review". JUICE.
  15. "Gold and Platinum - Silverchair". RIAA. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
  16. "Silverchair". Rage. abc.net.au. 4 กันยายน ค.ศ. 1999. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. Richard Kingsmill (2000-11-29). "Daniel Johns of silverchair speaks to Richard Kingsmill". Triple J. abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 2008-02-04.
  18. F.A.Q Silverchair เก็บถาวร 2012-09-09 ที่ archive.today silverchair.nu
  19. 19.0 19.1 "Silverchair > Charts & Awards > Billboard Albums". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08.
  20. "Silverchair > Charts & Awards > Billboard Singles". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  21. Blair R. Fisher (1999-07-11). "Silverchair Frontman Reveals Battle with Anorexia". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-30. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05.
  22. Christine Sams (2004-06-06). "Anorexia almost killed me: Daniel Johns". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05.
  23. Neva Chonin (1999-03-18). "Silverchair: Neon Ballroom". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05.
  24. "Reading Festival - Reading, UK". Silverchair. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05.
  25. 25.0 25.1 25.2 "Silverchair". Long Way To The Top. abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  26. David John Farinella (1 มกราคม ค.ศ. 2003). "Silverchair interview". Mix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-15. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  27. "Diorama". RollerCoaster. abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
  28. Mark Neilsen (22 เมษายน ค.ศ. 2002). "Another Point of View". Drum Media. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  29. Nikki Tranter (6 กันยายน ค.ศ. 2002). "Silverchair: Diorama". PopMatters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-23. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  30. "Diorama > Credits". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08.
  31. Mark Kemp (8 สิงหาคม ค.ศ. 2002). "Silverchair: Diorama". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  32. "Great Australian Albums:Diorama - Silverchair". Dymocks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-15. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
  33. "Press - Sydney, Australia (Big Day Out)". Chairpage.com. 26 มกราคม ค.ศ. 2001. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  34. "Dr Kerryn Phelps, Health Editor, with Steve Leibmann, Channel Nine, 'Today'". Australian Medical Association. 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  35. "Daniel Johns wows fans with buff bod". NineMSN. 6 สิงหาคม ค.ศ. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  36. "Silverchair to bring Diorama live at ARIAs". Silverchair. 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  37. Jason MacNeil (13 กรกฎาคม ค.ศ. 2007). "Silverchair makes most of break". JAM! Music. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  38. "The Dissociatives". Triple J. abc.net.au. 2 เมษายน ค.ศ. 2004. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  39. "Counting Down the Days > Credits". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
  40. "Releases :: Feeling Sideways". Australian Music Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-08. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  41. "Awards by artist: The Mess Hall". Australian Record Industry Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
  42. "Tambalane". Australian Music Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
  43. Rod Yates (30 ตุลาคม ค.ศ. 2007). "Silverchair's Daniel Johns tells of his musical journey". PerthNow. news.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-28. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  44. Kelsey Munro (1 ธันวาคม ค.ศ. 2006). "Homecoming heroes". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2008-02-23. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  45. "Young Modern". Bigpond Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-27. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18.
  46. "Silverchair - Young Modern". Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 2008-02-10.
  47. "Obama Recruits Kanye West, Arcade Fire Let Loose". Channel V. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  48. "Across the Great Divide for Reconcile.org.au" (PDF). Reconciliation Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18.
  49. Emily Dunn (13 มิถุนายน ค.ศ. 2007). "In concert - rock and reconciliation". Brisbane Times. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  50. Rod Yates (30 ตุลาคม ค.ศ. 2007). "Silverchair's Daniel Johns tells of his musical journey". PerthNow. news.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  51. "ARIA Awards – History: Winners by Year 2008: 22nd Annual ARIA Awards". Australian Recording Industry Association (ARIA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-13. สืบค้นเมื่อ 6 October 2011.
  52. Daniel Johns (interviewee), Robbie Buck, Marieke Hardy, Lindsay "The Doctor" McDougall (interviewers) (3 December 2009). Daniel Johns on the New Silverchair Album. Robbie, Marieke and The Doctor. Triple J. Australian Broadcasting Corporation (ABC). เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 2:48. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
  53. 53.0 53.1 Ruckus, Eddie (14 May 2010). "Silverchair's Controversial New Sound". Rock News. Triple M (Triple M Network (Austereo Radio Network)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-18. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
  54. "Silverchair lose their spark, but deny split". 1233 ABC Newcastle (Australian Broadcasting Corporation (ABC)). 26 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-18. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
  55. Lau, Kristie (12 June 2011). "Silverchair drummer works on solo album". Sydney Morning Herald. Fairfax Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-18. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
  56. Halliwell, Elle (1 October 2011). "New Spice to Life for Daniel Johns". The Sunday Telegraph. News Limited (News Corporation). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-18. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
  57. "Quick Silverchair Messenger". Rolling Stone. 27 ธันวาคม ค.ศ. 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-08. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  58. 58.0 58.1 58.2 58.3 Clint Brownlee (18 กรกฎาคม ค.ศ. 2007). "Seattlest Interview: Silverchair Drummer Ben Gillies". Seattlest. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  59. Erin Broadley (16 สิงหาคม ค.ศ. 2007). "Interviews > Daniel Johns of Silverchair". SuicideGirls. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  60. Stephanie Bolling. "Silverchair: Interview with Chris Joannou". reax. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16.
  61. Stephen Thomas Erlewine. "Freak Show > Overview". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  62. Sandy Masuo (12 เมษายน ค.ศ. 1997). "Freak Show". Yahoo! Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  63. 63.0 63.1 Tom Lanham (19 มีนาคม ค.ศ. 1999). "Neon Ballroom | Music Review". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  64. Neva Chonin (18 มีนาคม ค.ศ. 1999). "Silverchair: Neon Ballroom". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  65. Mark Kemp (8 สิงหาคม ค.ศ. 2002). "Silverchair: Diorama". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  66. Nikki Tranter (6 กันยายน ค.ศ. 2002). "Silverchair: Diorama". PopMatters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-23. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  67. Clayton Bolger. "Young Modern > Review". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  68. 68.0 68.1 Nick Pearson (22 พฤษภาคม ค.ศ. 2007). "Silverchair: Young Modern". PopMatters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  69. "Countdown: Hottest 100 – Of All Time 31–40". Triple J. Australian Broadcasting Corporation (ABC). July 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 19 October 2011.
  70. Carr, Matt (26 May 2011). "Silverchair take "indefinite" Break". The Newcastle Herald. Fairfax Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 12 October 2011.
  71. "Silverchair Signs with Eleven: Eleven signs with EMI". Silverchair. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-15. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  72. "ARIA Awards – History: Winners by Year 1995: 9th Annual ARIA Awards". Australian Recording Industry Association (ARIA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 6 October 2011.
  73. "ARIA Awards – History: Winners by Year 2007: 21st Annual ARIA Awards". Australian Recording Industry Association (ARIA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-20. สืบค้นเมื่อ 6 October 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]