ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Sharp Corporation)
ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น
シャープ株式会社
ชื่อท้องถิ่น
シャープ株式会社
ชื่อโรมัน
Shāpu kabushiki gaisha
ชื่อเดิมHayakawa Metal Works (พ.ศ. 2467–2542)
Hayakawa Electric Industry Co., Ltd. (พ.ศ. 2485–2513)
Sharp Electric Co. (spin-off) (พ.ศ. 2499–2510)
ประเภทบริษัทมหาชน, บริษัทร่วมทุน
การซื้อขาย
TYO: 6753
ISINJP3359600008 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค
ก่อตั้ง15 กันยายน 1912; 111 ปีก่อน (1912-09-15)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[1]
ผู้ก่อตั้งโตกุจิ ฮายากาวา[1]
สำนักงานใหญ่นครซาไก จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ไต้ เจิ้งอู๋[2]
(ประธาน)
ผลิตภัณฑ์โทรทัศน์, โสตทัศนูปกรณ์, เครื่องใช้ในครัวเรือน, อุปกรณ์สารสนเทศ, วงจรรวม, โซลาร์เซลล์, โทรศัพท์มือถือ, เครื่องแฟกซ์, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องคิดเลข, แผง LCD, ยานพาหนะภาคพื้นดินไร้คนขับอัตโนมัติ (A-UGV)
รายได้ลดลง ¥2.050 ล้านล้าน (2017)[3]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น ¥34.67 พันล้าน (2017)[3]
รายได้สุทธิ
ลดลง ¥24.87 พันล้าน (2017)[3]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ¥1.773 ล้านล้าน (2017)[3]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ¥294.1 พันล้าน (2017)[3]
เจ้าของฟ็อกซ์คอนน์ (65.93%)
พนักงาน
41,898 (2018) (Foxconn 803,126)[3]
เว็บไซต์global.sharp

ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น (อังกฤษ: Sharp Corporation; ญี่ปุ่น: シャープ株式会社โรมาจิShāpu Kabushiki-gaisha) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เขตอาเบโนะ ทางใต้ของนครโอซากะ บริษัทก่อตั้งในปี ค.ศ. 1912 โดยใช้ชื่อบริษัทตามชื่อผลิตภัณฑ์ "เอเวอร์-ชาร์ป" เป็นดินสอกดที่ออกแบบโดยโทกูจิ ฮายากาวะ (早川 徳次)[4][5] ผู้ก่อตั้งบริษัท และวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 1915[6] ปัจจุบันชาร์ป คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ผลิตเครื่องรับโทรทัศน์รายใหญ่อันดับสี่ของโลก รองจากซัมซุง, แอลจี และโซนี่

ชาร์ปเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขแบบใช้ทรานซิสเตอร์เครื่องแรกของโลกในปี ค.ศ. 1964 ด้วยราคา ¥535,000 (US$1,400) และพัฒนาจนเป็นเครื่องคิดเลขแบบพกพา ที่มีราคาต่ำกว่า ¥100,000 (US$300) จนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของบริษัท [7] บริษัทยังวางจำหน่ายเครื่องคิดเลขที่ใช้จอแอลซีดีเป็นรายแรกในปี ค.ศ. 1973 โดยเทคโนโลยีแอลซีดีมีส่วนสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทตลอดมา จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน จึงขายหุ้นส่วนหนึ่งในโรงงานผลิตจอแอลซีดี ให้กับฟอกซ์คอนน์ บริษัทสัญชาติไต้หวันในปี ค.ศ. 2012 [8]

ในประเทศไทย เดิมชาร์ปทำการตลาดโดยสองบริษัท คือ บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด ทำตลาดสินค้าประเภทเครื่องใช้ในครัวเรือน และบริษัท ชาร์ป เทพนคร จำกัด ทำตลาดสินค้าประเภทเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเสียง เครื่องใช้สำนักงาน ปัจจุบันทั้งสองบริษัทรวมตัวเป็น บริษัท ชาร์ป ไทย จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2550

ในปี พ.ศ. 2559 ฟ็อกซ์คอนน์ได้ซื้อ Sharp ด้วยจำนวนเงินประมาณ 122,500 ล้านบาท (3,500 ล้านเหรียญ)[9] ต่อมาซัมซุงได้ขายหุ้นทั้งหมดที่มี โดยซัมซุงเคยถือหุ้นชาร์ปถึง 3% ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 5 เมื่อปี 2556[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "data". ns6-tmp.sharp.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 2020-09-25.
  2. "代表取締役の異動並びに執行役員退任に関するお知らせ" (PDF).
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Annual Report 2017 (PDF), Sharp Corporation, July 2017, สืบค้นเมื่อ 8 October 2014
  4. "Sharp 100th Anniversary - A Century of Sincerity and Creativity"(PDF). A Sharp Journey. สืบค้นเมื่อ 25-9-2020
  5. "Sharp History".Sharp Corporation.สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2563.
  6. "Eversharp history". Vintage Pens. สืบค้นเมื่อ 2007-07-15.
  7. Odagiri, Hiroyuki (1996). Technology and Industrial Development in Japan. Clarendon Press, Oxford. p. 170. ISBN 0-19-828802-6.
  8. "Foxconn owner Hon Hai buying 10 percent stake in Japanese electronics giant Sharp for $806M". The Washington Post. 27 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-29. สืบค้นเมื่อ 27 March 2012.
  9. "ปิดดีล! Foxconn เข้าซื้อกิจการ Sharp ที่มูลค่า 3,500 ล้านเหรียญ หรือราวๆ 122,500 ล้านบาท".สืบค้นเมื่อ 25-9-2020
  10. "Samsung เทขายหุ้น Sharp ทิ้ง หลัง Foxconn ซื้อกิจการ".สืบค้นเมื่อ 25-9-2020.