เซลมัน แวกส์มัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Selman Waksman)
เซลมัน แวกส์มัน
เกิดเซลมัน อับราฮัม แวกส์มัน
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1888(1888-07-22)
โนวาไพรลูกา เขตเคียฟ จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต16 สิงหาคม ค.ศ. 1973(1973-08-16) (85 ปี)
วูดส์โฮล รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
พลเมืองอเมริกัน (หลัง ค.ศ. 1916)
ศิษย์เก่า
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี, จุลชีววิทยา

เซลมัน อับราฮัม แวกส์มัน (อังกฤษ: Selman Abraham Waksman; 22 กรกฎาคม ค.ศ. 188816 สิงหาคม ค.ศ. 1973) เป็นนักชีวเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวอเมริกันเชื้อสายยิว เกิดที่เขตเคียฟ จักรวรรดิรัสเซีย[1] (ปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน) เป็นบุตรของยาคอบ แวกส์มันและเฟรเดีย ลอนดอน[2] แวกส์มันย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1910 และได้รับสัญชาติอเมริกันในอีก 6 ปีต่อมา เขาเรียนปริญญาตรีสาขาเกษตรศาสตร์และปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ที่วิทยาลัยรัตเกอส์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยรัตเกอส์) ระหว่างเรียนปริญญาโท แวกส์มันทำงานเป็นผู้ช่วยยาคอบ กูเดล ลิปมันที่สถานีทดลองการเกษตรนิวเจอร์ซีย์ ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ แวกส์มันเรียนจบปริญญาเอกสาขาชีวเคมีที่นั่นในปี ค.ศ. 1918

ต่อมาแวกส์มันกลับไปทำงานที่ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยรัตเกอส์ ที่นั่นทีมของเขาค้นพบยาปฏิชีวนะหลายชนิด เช่น สเตรปโตมัยซิน, นีโอมัยซิน, แด็กทิโนมัยซิน, แคนซิซิดิน โดยเฉพาะสเตรปโตมัยซินและนีโอมัยซินที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อหลายชนิด สเตรปโตมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ใช้รักษาวัณโรค ในปี ค.ศ. 1942 แวกส์มันคิดคำว่า antibiotic เพื่อใช้อธิบายสารที่ได้จากเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้[3][4] ในปี ค.ศ. 1951 เขาจัดตั้งมูลนิธิด้านจุลชีววิทยาและจัดตั้งสถาบันจุลชีววิทยาแวกส์มัน ปีต่อมาแวกส์มันได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์สำหรับการค้นพบสเตรปโตมัยซิน[5] โดยได้รับการประท้วงจากอัลเบิร์ต ชวาตซ์ ผู้ร่วมค้นพบแต่ไม่ได้รับรางวัลด้วย อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการรางวัลโนเบลแจ้งว่าชวาตซ์ในตอนนั้นเป็นเพียงผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการ ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานโดดเด่น[6] ปัญหาการเป็นผู้ค้นพบสเตรปโตมัยซินระหว่างแวกส์มันและชวาตซ์นำไปสู่การฟ้องร้องในเวลาต่อมา[7] แวกส์มันยอมตกลงกับชวาตซ์ โดยให้ค่าชดเชยต่าง ๆ และสิทธิ์เป็นผู้ร่วมค้นพบสเตรปโตมัยซินแก่ชวาตซ์[8][9]

ด้านชีวิตส่วนตัว แวกส์มันแต่งงานกับเดบอราห์ บี. มิตนิกในปี ค.ศ. 1916[10] มีบุตรด้วยกัน 1 คน แวกส์มันเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1973 ที่เมืองวูดส์โฮล ประเทศสหรัฐอเมริกา[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Foundation and Its History". waksman-foundation.org (No further authorship information available). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ January 11, 2007.
  2. "Selman A. Waksman - Biographical". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 20 November 2016.
  3. Sanjai Saxena, Applied Microbiology
  4. SA Waksman (1947). "What Is an Antibiotic or an Antibiotic Substance?". Mycologia. 39 (5): 565–569. doi:10.2307/3755196. JSTOR 3755196. PMID 20264541.
  5. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1952". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 20 November 2016.
  6. Pringle, Peter (June 11, 2012). "Notebooks Shed Light on a Discovery, and a Mentor's Betrayal". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 11, 2012.
  7. "The Schatz v. Waksman Lawsuit – 1950". scc.rutgers.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-14. สืบค้นเมื่อ 2016-11-20.
  8. Veronique Mistiaen (2 November 2002). "Time, and the great healer". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
  9. "Dr. Schatz Wins 3% of Royalty; Named Co-Finder of Streptomycin; Key Figures in Streptomycin Discovery Suit". New York Times. 30 December 1950. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
  10. "Selman Abraham Waksman". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 20 November 2016.
  11. "Selman A. Waksman". NNDB.com. สืบค้นเมื่อ 20 November 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]