การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก School strike for climate)
การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ
ส่วนหนึ่งของ the climate movement
จำนวนผู้ประท้วงต่อประเทศ:
  <1000 
  1000
  10000
  100000
  1000000+
วันที่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ.2018, ส่วนใหญ่จัดในวันศุกร์ บางครั้งในวันพฤหัสบดี, วันเสาร์ หรือวันอาทิตย์
สถานที่ทั่วโลก
สาเหตุกลุ่มนักการเมืองที่ไม่จัดการกับภาวะโลกร้อน
เป้าหมายClimate change mitigation
วิธีการStudent strike
สถานะยังดำเนินต่อ
คู่ขัดแย้ง
เยาวชน
ผู้นำ
เกรียตา ทืนแบร์ย (โดยพฤตินัย)
จำนวน
1.4 ล้าน (ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.2019),[1]
4 ล้าน (ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.2019)[2]
6 ล้าน (ในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ.2019)[3]

การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ (อังกฤษ: school strike for climate) หรือเดิมชื่อ วันศุกร์เพื่ออนาคต (อังกฤษ: Fridays for Future), เยาวชนเพื่อภูมิอากาศ (อังกฤษ: Youth for Climate), การประท้วงของเยาวชนเพื่อภูมิอากาศ (อังกฤษ: Youth Strike 4 Climate) เป็นขบวนการนักเรียนนานาชาติซึ่งตัดสินใจไม่เข้าเรียนแล้วเข้าร่วมการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น ความมีชื่อเสียงและการจัดระเบียบอย่างกว้างขวางเริ่มขึ้นเมื่อนักกิจกรรมภูมิอากาศ เกรียตา ทืนแบร์ย จัดการปฏิบัติในเดือนสิงหาคม 2561 นอกรัฐสภาสวีเดน ถือป้ายเขียนว่า "การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ"[4][5]

เกรียตา ทืนแบร์ย[แก้]

วันที่ 20 สิงหาคม 2561 เกรียตา ทืนแบร์ย นักกิจกรรมภูมิอากาศชาวสวีเดน[6] ซึ่งขณะนั้นศึกษาอยู่ในชั้นเกรด 9 (เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 3) ตัดสินใจไม่เข้าเรียนจนกระทั่งการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศสวีเดนปี 2561 ในวันที่ 9 กันยายนหลังเกิดคลื่นความร้อนและไฟป่าหลายระลอกในประเทศ เธอกล่าวว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจจากนักกิจกรรมวัยรุ่น ณ ไฮสกูลมาร์จอรี สโตนแมน ดักลาสในปาร์กแลนด์ รัฐฟลอริดา ซึ่งจัดการเดินขบวนเพื่อชีวิตของเรา (March for Our Lives)[7][8] ทืนแบร์ยประท้วงโดยนั่งอยู่นอกรัฐสภาทุกวันระหว่างชั่วโมงเรียนพร้อมป้ายเขียนว่า "Skolstrejk för klimatet" (การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ)[9] ในบรรดาข้อเรียกร้องของเธอให้รัฐบาลสวีเดนลดการปล่อยคาร์บอนตามความตกลงปารีส วันที่ 7 กันยายน ก่อนการเลือกตั้งเล็กน้อย เธอประกาศว่าเธอจะนัดหยุดเรียนทุกวันศุกร์จนประเทศสวีเดนปฏิบัติตามความตกลงปารีส เธอประดิษฐ์คำขวัญ วันศุกร์เพื่ออนาคต ซึ่งได้รับความสนใจจากทั่วโลก เธอเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนทั่วโลกเข้าร่วมการนัดหยุดเรียนดังกล่าว[10]

การประท้วงเพื่อภูมิอากาศ ในเดือนกันยายน 2562[แก้]

กลุ่มขบวนการนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ (School strike for Climate) ได้ประกาศวันนัดประท้วงครั้งใหญ่ทั่วโลก 2 วัน ในเดือนกันยายน 2562 [11]

วันแรกคือ 20 กันยายน เรียกว่า Climate Strike ซึ่งเป็นสามวันก่อนการประชุมเร่งด่วนเพื่อภูมิอากาศของสหประชาชาติ (UN Climate Action Summit 2019) ที่นครนิวยอร์ก [12] และอีกวันหนึ่งคือ 27 กันยายน หรือหนึ่งสัปดาห์ถัดมา เรียกว่า Earth Strike

ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะมีการจัดงานประท้วงสำหรับวันใดวันหนึ่งหรือทั้งสองวัน โดยคาดว่าจะมีประเทศที่เข้าร่วมกว่า 130 ประเทศ [13]

ผู้จัดงานหวังว่าการประท้วงครั้งนี้จะประสบความสำเร็จมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยเชิญชวนให้คนทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ มาร่วมการประท้วงไปกับกลุ่มนักเรียนด้วย นอกจากนี้ งานนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ทั้งองค์กรอิสระ บริษัทเอกชน สมาคม และกลุ่มความเคลื่อนไหวทางสังคมต่าง ๆ อาทิ 350.org, Amnesty International, Extinction Rebellion, Greenpeace International, Oxfam, WWF, Patagonia, Ben & Jerry's, Lush, Atlassian, และองค์กรอื่นๆ อีกมากมาย [14]

ในนครนิวยอร์ก โรงเรียนรัฐบาลได้ประกาศอนุญาตให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมได้หากได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครอง [15]

ในออสเตรเลีย บริษัทเอกชนหลายแห่งก็สนับสนุนให้พนักงานเข้าร่วมการประท้วงในเมืองของตน และสนับสนุนให้ทุกบริษัทในประเทศมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน [16]

อ้างอิง[แก้]

  1. Carrington, Damian (19 March 2019). "School climate strikes: 1.4 million people took part, say campaigners". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-07. สืบค้นเมื่อ 19 March 2019.
  2. Barclay, Eliza; Resnick, Brian (20 September 2019). "How big was the global climate strike? 4 million people, activists estimate". Vox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-21. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  3. Taylor, Matthew; Watts, Jonathan; Bartlett, John (27 September 2019). "Climate crisis: 6 million people join latest wave of global protests". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-08. สืบค้นเมื่อ 28 September 2019.
  4. Crouch, David (1 September 2018). "The Swedish 15-year-old who's cutting class to fight the climate crisis". The Guardian. London, United Kingdom. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 1 September 2018.
  5. Weyler, Rex (4 January 2019). "The youth have seen enough". Greenpeace International. สืบค้นเมื่อ 22 January 2019.
  6. John, Tara (13 February 2019). "How teenage girls defied skeptics to build a new climate movement". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2019. สืบค้นเมื่อ 28 February 2019. Anna […] Taylor, 17, has taken a leading role in organizing a protest that is expected to see hundreds of students walk out of class across the UK on Friday […] Youth Strike 4 Climate, is planned for more than 40 British towns and cities […] Taylor and co-organizer Vivien "Ivi" Hohmann
  7. "Teen activist on climate change: If we don't do anything right now, we're screwed". CNN. 23 December 2018. สืบค้นเมื่อ 10 February 2019.
  8. "The Guardian view on teenage activists: protesters not puppets – Editorial". The Guardian. 7 February 2019. สืบค้นเมื่อ 11 February 2019.
  9. "The Fifteen-Year-Old Climate Activist Who Is Demanding a New Kind of Politics". The New Yorker. 2 October 2018.
  10. "'Our leaders are like children,' school strike founder tells climate summit". The Guardian. 4 December 2018.
  11. https://globalclimatestrike.net/
  12. https://www.un.org/en/climatechange/un-climate-summit-2019.shtml
  13. https://www.theguardian.com/environment/2019/sep/19/climate-strike-take-part-how-to-join-global-protests-friday-latest-details
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ 2019-09-19.
  15. https://www.treehugger.com/culture/new-york-schools-will-excuse-students-participate-climate-strikes.html
  16. https://www.sbs.com.au/news/australian-companies-are-urging-workers-to-walk-off-job-for-climate-action