อาสนวิหารนักบุญโซเฟีย (เคียฟ)

พิกัด: 50°27′10″N 30°30′52″E / 50.45278°N 30.51444°E / 50.45278; 30.51444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Saint Sophia's Cathedral, Kyiv)
อาสนวิหารนักบุญโซเฟีย
Собо́р Свято́ї Софі́ї
แผนที่
50°27′10″N 30°30′52″E / 50.45278°N 30.51444°E / 50.45278; 30.51444
ที่ตั้งปูชนียสถานแห่งชาติ "โซเฟียแห่งเคียฟ"
หมู่อาคารอาสนวิหารโซเฟียอันศักดิ์สิทธิ์
เขตแชวแชนกิวสกืย เคียฟ
ประเทศประเทศยูเครน
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
ประวัติ
อุทิศแก่ฮาเกียโซเฟีย
สถาปัตยกรรม
การขึ้นทะเบียนสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของยูเครน[1]
รูปแบบสถาปัตย์ไบแซนไทน์, บารอกยูเครน
ปีสร้างศตวรรษที่ 11
โครงสร้าง
อาคารยาว29.5 เมตร (97 ฟุต)
อาคารกว้าง29.3 เมตร (96 ฟุต)
ความสูงโดม (ภายนอก)28.6 เมตร (94 ฟุต)
ชื่อทางการเคียฟ: อาสนวิหารนักบุญโซเฟียและสิ่งปลูกสร้างอารามที่เกี่ยวข้อง และกือแยวอ-แปแชร์สกาลาวรา
ที่ตั้งยุโรป
เกณฑ์พิจารณาi, ii, iii, iv
อ้างอิง527
ขึ้นทะเบียน1990 (สมัยที่ 14)

อาสนวิหารนักบุญโซเฟีย ในกรุงเคียฟ ประเทศยูเครน เป็นอาสนวิหารและหนึ่งในหมุดหมายสำคัญของเคียฟที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งแรกของประเทศยูเครนซึ่งยูเนสโกขึ้นทะเบียนร่วมกับหมู่อารามถ้ำเคียฟ[2][nb 1] อาสนวิหารประกอบด้วยตัวอาคารหลัก, หอระฆัง และที่ประทับของมุขนายกมหานคร (київських митрополитів) ใน ค.ศ. 2011 แหล่งโบราณสถานได้รับการถ่ายโอนมาอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงวัฒนธรรมยูเครน[4][5]

ชื่อในภาษายูเครนของอาสนวิหารคือ Собо́р Свято́ї Софі́ї [Sobór Sviatói Sofíi ] หรือ Софі́йський собо́р [Sofíiskyi sobór ]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ช่วงปลายปี 2010 ยูเนสโกได้ไปเยือนหมู่อารามถ้ำเคียฟในภารกิจตรวจสอบ เพื่อติดตามสถานการณ์ของสถานที่ดังกล่าว ในขณะนั้นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมยูเครน มือคัยลอ กูลึนยัก ระบุว่าสถานที่ทางประวัติศาสตร์และอาสนวิหารนักบุญโซเฟียไม่ได้ถูกคุกคามจากการขึ้น "บัญชีดำ" ขององค์กร[3] คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกได้ตัดสินใจในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013 ว่าหมู่อารามถ้ำเคียฟและอาสนวิหารนักบุญโซเฟีย พร้อมด้วยอารามที่เกี่ยวข้องจะยังคงอยู่ในรายชื่อมรดกโลก[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "7 чудес України - Новини". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 สิงหาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2015.
  2. 2.0 2.1 "Kyiv Pechersk Lavra, St. Sophia Cathedral remain on UNESCO's World Heritage List". Interfax-Ukraine. 20 มิถุนายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2013.
  3. "Міністерство культури України". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2015.
  4. "Міністерство культури України". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2015.
  5. Градоблянська Т. (9 กุมภาพันธ์ 2011). Міністерств багато, а Софія Київська – одна [There are many ministries, but Sophia of Kyiv  is one]. Голос України. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Г. П. Пашкоў; และคณะ, บ.ก. (1999). Кіеўскі Сафійскі сабор. Беларуская энцыклапедыя (ภาษาเบลารุส). Vol. 8. Мінcк: БелЭн. p. 255. ISBN 985-11-0144-3.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]